กล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน

หลายท่านคงจะเคยได้ยินเรื่อง “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน”  กันมาบ้างว่า เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยในปัจจุบัน โดยผู้ป่วยอาจไม่มีอาการนำ หรือ สัญญาณเตือนก่อนที่จะเสียชีวิต ทำให้การช่วยชีวิตไม่สามารถทำได้ทัน

จากสถิติการเสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในปี 2559 ของการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)  พบว่ามีสถิติของผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ  โดยในปีที่ผ่านมา  มีผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการทางโรคหัวใจ รวม   130,942 คน เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นก่อนถึงโรงพยาบาลถึง 855 คน จากการสอบถามอาการและประวัติจะพบว่า ร้อยละ 72 จะมีอาการที่บ้าน พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีภาวะอ้วน และ มีประวัติการสูบบุหรี่และดื่มสุรา  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่า “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน” นั้นมีปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ดังนี้

อาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน

หัวใจวายเฉียบพลัน หรือ กล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจสูญเสียการทำงานจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้ เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะหัวใจบีบตัว หรือ คลายตัวได้  โดยถ้าเป็นภาวะหัวใจวายขณะหัวใจบีบตัว จะทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้  แต่ถ้าเป็นหัวใจวายขณะหัวใจคลายตัว จะทำให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้น้อยลง โดยอาการและอาการแสดงแตกต่างกันได้ในแต่ละบุคคลดังนี้

  • อาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เหงื่อออก วิงเวียนศีรษะ
  • มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ตลอดเวลา ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนปกติ
  • บางรายมีอาการแน่นจุก หน้าอก ร้าวไปตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ร้าวไปที่ไหล่ แขน คอ ได้
  • มีอาการใจหวิว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ เหงื่อซึม หน้ามืดหมดสติ

สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน

สาเหตุเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ได้แก่  ปัจจัยจากเส้นเลือดหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เส้นเลือดหัวใจตีบ ภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดแรงดันที่หัวใจจนเลือดไม่สามารถไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจได้ รวมถึง ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง  เช่น  ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หรือ หัวใจพิการมาตั้งแต่กำเนิด นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ หัวใจและหลอดเลือดหัวใจผิดปกติได้ เช่น

  • พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา  การรับประทานอาหารที่เป็นไขมันทรานส์ เสี่ยงต่อการทำให้เส้นเลือดหัวใจอุดตัน  การขาดการออกกำลังกายเป็นต้น
  • โรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ทำให้มีโอกาสที่หลอดเลือดหัวใจเสื่อม ตีบ ตัน
  • ภาวะอ้วน หรือ ความผิดปกติในการหายใจขณะนอนหลับ ทำระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนหัวใจวายได้

การรักษาโรคหัวใจวายเฉียบพลัน

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน ที่สำคัญที่สุดคือ การประเมินอาการผิดปกติให้เร็วที่สุดแล้วรีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล และหากผู้ป่วยคือ ตัวท่านเอง ต้องหมั่นสังเกตอาการผิดปกติ และประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลันอย่างสม่ำเสมอ ลดปัจจัยเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจ

การรักษาโดยทั่วไปนั้น แพทย์จะทำการตรวจสาเหตุที่ทำให้เลือดไม่สามารถส่งไปเลี้ยงร่างกายได้ด้วยการฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ เมื่อพบว่า มีการตีบตัน ก็จะมีการผ่าตัดถ่างเสนเลือด โดยใช้บอลลูน หรือ ที่เรียกว่า การขยายหลอดเลือดเพื่อช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนได้  หากมีอาการตีบหรือตันหลายตำแหน่ง แพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดเปลี่ยนเส้นทางลำเลียงเลือดที่หัวใจ เรียกว่า  “การผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจหรือ การผ่าตัดบายพาส นั่นเอง”

การป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน

การรักษาและการป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน นั้น ทำได้โดยการรักษาที่ปัจจัยสาเหตุ ร่วมกับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. ปรับพฤติกรรมสุขภาพ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ เป็นส่วนประกอบ เช่น เนย เทียม ครีมเทียม เครื่องดื่มรสหวาน อาหารที่ที่ไขมันสูง ผ่านการทอดด้วยน้ำมันเก่าๆ เป็นต้น

2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับปอด

และหัวใจ

3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด

4. หากมีภาวะน้ำหนักเกิน ให้ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

5. ถ้ามีโรคประจำตัว ให้ควบคุมสภาวะของโรคให้อยู่ในเกณฑ์

ที่สุด เช่น ผู้ป่วยเบาหวานพยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงให้ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นต้น

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำไมบางประเภทของโรคหัวใจวายถึง ‘ไม่แสดงอาการ’?
ทำไมบางประเภทของโรคหัวใจวายถึง ‘ไม่แสดงอาการ’?

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดประเภทที่ไม่มีอาการที่เด่นชัด

อ่านเพิ่ม
ภาวะหัวใจวาย (Heart attack)
ภาวะหัวใจวาย (Heart attack)

ภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว! อ่านอาการ สาเหตุ วิธีรักษาภาวะหัวใจวายได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม