กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ใจสั่น (Heart Palpitations)

รู้จักอาการใจสั่น แบบไหนที่ต้องเฝ้าระวัง และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ใจสั่น (Heart Palpitations)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการใจสั่น (Heart Palpitations) คือ อาการที่ทำให้รู้สึกว่าการเต้นของหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เต้นไม่สม่ำเสมอ อาการจะเกิดขึ้นไม่กี่วินาที หรือไม่กี่นาที จากนั้นหัวใจก็จะกลับมาเต้นปกติ
  • อาการใจสั่นพบได้ทั้งในคนปกติที่มีสุขภาพดีและผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่มีผลต่อหัวใจ เช่น โรคปอด โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ อาการใจสั่น
  • หากมีอาการใจสั่นร่วมกับอาการหน้ามืด วิงเวียน หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หมดสติ ควรรีบไปพบแพทย์
  • วิธีรักษาอาการใจสั่นมีทั้งการแก้ไขตามสาเหตุ เช่น ปรับพฤติกรรม การใช้ยา การผ่าตัด การใช้อุปกรณ์รักษา
  • หากมีอาการใจสั่นบ่อยครั้งควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหัวใจโดยตรงเพื่อหาสาเหตุจะดีที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจได้ที่นี่)

อาการใจสั่น ทำให้รู้สึกว่า การเต้นของหัวใจผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เต้นไม่สม่ำเสมอ หัวใจเต้นๆ หยุดๆ การเต้นของหัวใจหายไป หรือเต้นเร็ว แรงกว่าปกติ 

เราสามารถรู้สึกอาการใจสั่นได้ในระยะเวลาไม่กี่วินาที หรือไม่กี่นาที แล้วหัวใจก็จะกลับมาเต้นปกติ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการใจสั่นที่สร้างความวิตกกังวลให้ในหลายๆ ราย หรือในบางรายอาการใจสั่นอาจเป็น "สัญญาณ" บ่งบอกความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับหัวใจได้ 

อาการใจสั่นมีสาเหตุเกิดได้จากปัจจัยภายใน (ทางจิตใจและอารมณ์) และปัจจัยภายนอก (ทางร่างกายและที่มากระทบทางร่างกาย) มีรายละเอียดดังนี้ 

ปัจจัยภายใน

  • ความรู้สึกตื่นเต้น 
  • ความเครียด ความวิตก หรือกังวล
  • ความกลัว
  • อาการตื่นตกใจ (Panic)

ปัจจัยภายนอก

  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การรับประทานอาหารมากเกินไป 
  • การรับประทานอาหารรสจัดเกินไป มันเกินไป 
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนปริมาณมากเกินไป เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเกินไป
  • การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง
  • การใช้ยาเสพติด
  • การสูบบุหรี่
  • การมีน้ำหนักมากเกินไป (เกินเกณฑ์)
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน 
  • ความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย
  • มีไข้สูง
  • แพ้ยา
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาพ่นสำหรับโรคหอบหืด หรือยาสำหรับโรคไทรอยด์ ยาแก้หวัดบางชนิด ยาแก้ไอบางชนิด ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิด  
  • เสียเลือด
  • ขาดออกซิเจน

สาเหตุอื่นๆ 

อาการจากสาเหตุเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นชั่วคราว และมักไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลแต่อย่างใด แต่ถ้าหากรู้สึกว่า หัวใจของเต้นเร็ว แรง หรือไม่สม่ำเสมอบ่อยครั้ง 

จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 43 อาจเกิดจากภาวะผิดปกติและโรคเกี่ยวกับหัวใจ ดังต่อไปนี้

  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Overactive Thyroid )
  • ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ภาวะโลหิตจาง (Anemia)
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • การติดเชื้อ
  • โรคเบาหวาน (Diabetes)
  • ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
  • โรคไตวาย
  • เนื้องอกของต่อมหมวกไต
  • โรคเกี่ยวกับหัวใจ ได้แก่
    • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia
    • ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) 
    • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดจากหัวใจห้องบน (Supraventricular tachycardia: SVT) 
    • โรคลิ้นหัวใจยาว (Mitral Valve)
    • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
    • โรคหัวใจวาย (Heart Failure)
    • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy)

อาการที่ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

บางครั้งอาการใจสั่นก็อาจเป็นสัญญาณของปัญหาหัวใจได้หากเกิดร่วมกับอาการหน้ามืด หรือเป็นลม วิงเวียน หายใจไม่ออก หายใจลำบาก หรือหายใจติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก สับสน ไม่ได้สติ เหงื่อออกมากเกินไป อัตราการเต้นหัวใจมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที 

หากคุณเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มนี้ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การตรวจวินิจฉัย

การรักษา 

โดยทั่วไปอาการใจสั่นหากไม่รุนแรงนักจะสามารถหายไปได้เอง แพทย์จึงไม่สามารถวินิจฉัยได้ แต่หากไปพบแพทย์ แพทย์จะรักษาอาการใจสั่นตามสาเหตุที่ตรวจพบก่อน 

หากยังไม่สามารถหาสาเหตุแท้จริงที่ทำให้ใจสั่นได้ แพทย์มักแนะนำให้หลีกเลี่ยงสาเหตุที่อาจทำให้ใจสั่นแทน เช่น 

  • งดรับประทานอาหารสจัด มันจัด 
  • งดดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • หลีกเลี่ยงความเครียด 
  • ควบคุมการใช้ยาบางชนิด 

จากนั้นแพทย์จะดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่า ได้ผลมากน้อยเพียงใด หากทำตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว อาการใจสั่นยังไม่หายดี ในบางรายแพทย์อาจนัดตรวจเพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดอีกครั้ง หรือแพทย์อาจรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้

การป้องกัน

  • หมั่นสังเกตจังหวะการเต้นของหัวใจตนเอง
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการใจสั่น
  • หาวิธีผ่อนคลายความเครียด คลายความวิตกกังวล
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกหลักโภชนาการ 
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง

อาการใจสั่นแม้โดยทั่วไปอาจไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือเกิดขึ้นครั้งละนานๆ ก็ควรสังเกตตนเอง ระยะเวลาที่เกิด เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ หากไม่แน่ใจการไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจก็เป็นทางเลือกที่ดี

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Zimetbaum PJ. Overview of palpitations in adults (https://www.uptodate.com/contents/search), 11 November 2019.
Webmd.com, Heart Palpitations (https://www.webmd.com/heart-disease/guide/what-causes-heart-palpitations#1), 11 November 2019.
NHS.UK, Heart Palpitations (https://www.nhs.uk/conditions/heart-palpitations/), 11 November 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
การปรับเปลี่ยนชีวิตเมื่อเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ
การปรับเปลี่ยนชีวิตเมื่อเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ

เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจ แล้วเราควรปรับตัวในการใช้ชีวิตอย่างไร

อ่านเพิ่ม