กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. จุติพร จตุรเชิดชัยสกุล แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. จุติพร จตุรเชิดชัยสกุล แพทย์ทั่วไป

การปรับเปลี่ยนชีวิตเมื่อเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ

เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจ แล้วเราควรปรับตัวในการใช้ชีวิตอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 11 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 ธ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การปรับเปลี่ยนชีวิตเมื่อเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เมื่อทราบว่ามีภาวะหัวใจผิดปกติ ควรฟื้นฟูจิตใจด้วยการปรึกษาทางจิตวิทยาร่วมกับกินยาต้านเศร้า เพราะหากวิตกกังวลมาก ผู้ป่วยอาจไม่มีแรงจูงใจในการรักษา อาจส่งผลกระทบต่อการรักษาหัวใจได้ 
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องเข้าพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ แพทย์จะทำการสอบถามเรื่องสุขภาพ การใช้ชีวิต อาการต่างๆ รับการประเมินในโรงพยาบาลที่ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) และอาจเริ่มรักษาด้วยการให้ยา
  • การดูแลตัวเองในด้านการใช้ชีวิต เช่น ประเมินงานที่ทำว่าต้องใช้แรงมากแค่ไหนร่วมกับปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสม ควบคุมอาหารมันจัด หวานจัด 
  • ที่สำคัญคือเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ ความจริงแล้วเพศสัมพันธ์เป็นเหมือนการออกกำลังกายที่ส่งผลดีต่อหัวใจ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสมในเรื่องนี้ด้วย 
  • สิ่งที่ดีที่สุดคือการป้องกันและหมั่นตรวจหัวใจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้เช็กอาการและปรับพฤติกรรมได้ทันก่อนที่จะเป็นโรคหัวใจ (ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจได้ที่นี่)

การปรับเปลี่ยนชีวิตให้เข้ากับภาวะหัวใจที่ผิดปกตินั้นอาจฟังดูเป็นเรื่องยากในช่วงแรกเมื่อผู้ป่วยรู้ว่าตนเป็นโรคหัวใจ แต่หากผู้ป่วยเข้าใจถึงสภาวะร่างกายที่เป็นอยู่ รู้จักวิธีการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจอย่างสม่ำเสมอ และไปพบแพทย์อยู่เป็นประจำ การปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ไปพร้อมกับโรคเกี่ยวกับหัวใจก็ไม่ใช่เรื่องยาก

การฟื้นฟูด้านจิตใจ

ผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจผิดปกติ อาจมีความรู้สึกวิตกกังวลจนเกิดภาวะซึมเศร้าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าหากอาการเหล่านี้เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น ก็อาจส่งผลต่อภาวะหัวใจจนอาการแย่ลงได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรเข้ารับการบำบัดรักษาทางจิตวิทยา เช่น การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behaviour Therapy: CBT) ร่วมกับการใช้ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressant Medication)

การรักษาอาการวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ แพทย์จะสามารถวางแผนรักษาโรคหัวใจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาวะหัวใจไม่ได้มีการรักษาแค่การใช้ยาและการผ่าตัดเท่านั้น แต่ต้องรวมไปถึงพฤติกรรมของผู้ป่วยที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ด้วย หากผู้ป่วยไม่มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิตหรือเครียดเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อการรักษาได้

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ (Cardiac Rehabilitation)

โรงพยาบาลส่วนมากจะมีโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ซึ่งจะดำเนินการโดยนักฟื้นฟูหัวใจและนักกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นคืนความแข็งแรงและความมั่นใจของผู้ป่วยกลับมา ด้วยการให้ข้อมูลและคำแนะนำการใช้ชีวิตหลังประสบกับภาวะดังนี้

โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ มักจะมีระยะเวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ อาจมีการดำเนินการทั้งในโรงพยาบาลหรือในสถานที่ชุมชน โดยสิ่งที่ผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะได้รับคือ ข้อมูล ความช่วยเหลือ และคำแนะนำ เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติเท่าที่จะทำได้

การดำเนินการจัดการกับภาวะหัวใจ

การติดตามผลการรักษาจะขึ้นอยู่กับภาวะหัวใจของผู้ป่วยแต่ละราย โดยผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องเข้าพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และค่อยๆ ลดความถี่ลงตามระยะเวลา หรืออาจต้องเข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายท่านเป็นระยะเวลานานๆ ก็ได้ ซึ่งการประเมินภาวะของผู้ป่วยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  1. การประเมินตามกำหนด: แพทย์จะทำการสอบถามเรื่องสุขภาพ การใช้ชีวิต อาการต่างๆ หลังได้รับการรักษา และให้ผู้ป่วยเข้ารับการวัดชีพจรและความดันโลหิต รวมถึงชั่งน้ำหนัก ซึ่งถ้าหากว่าอาการยังไม่ดีขึ้น หรือผลการรักษายังไม่เป็นที่พอใจ แพทย์อาจจะเริ่มรักษาผู้ป่วยด้วยการใช้ยาต่อไป
  2. การประเมินในโรงพยาบาล: แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการประเมินต่างๆ ในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจตามความจำเป็น เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG)
  3. การใช้ยา: แพทย์อาจเริ่มรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจผิดปกติด้วยการให้ยาซึ่งมีอยู่หลายประเภท เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ป่วยที่ไม่เคยใช้ยาแบบอื่นนอกจากการรับประทาน รวมถึงไม่เคยใช้ยาระยะยาวมาก่อน เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยจึงควรสอบถามรายละเอียดการใช้ยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

การดูแลตนเอง

ส่วนมากผู้ป่วยภาวะหัวใจจะสามารถปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตของตนเองจนทำให้ร่างกายแข็งแรง และสามารถกลับมาใช้ชีวิตเหมือนคนปกติได้ โดยไม่ได้กระทบกับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง ซึ่งสิ่งที่ผู้ป่วยภาวะหัวใจต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกๆ ได้แก่

  • การจัดเวลาอย่างเหมาะสม: ผู้ป่วยควรเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจไปสักระยะหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจึงจะสามารถกลับไปทำงานได้ แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าอาชีพที่ผู้ป่วยทำอยู่นั้นมีการใช้แรงมาก หรือมีความเครียดมากหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ทั้งแพทย์และผู้ป่วยก็ควรมีการปรึกษาหารือกันก่อน เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการทำงานที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อโรคที่เป็นอยู่ อีกทั้งผู้ป่วยยังต้องแบ่งเวลาในการพักผ่อนให้เพียงพอ มีการออกกำลังกาย และรู้สึกคลายเครียดให้กับตนเองด้วย
  • การรับประทานอาหาร: ผู้ป่วยโรคหัวใจควรควบคุมอาหารโดยเฉพาะอาหารรสเค็มมีโซเดียมสูง อาหารมันจัด ของทอด อาหารรสหวาน
  • การขับรถ: ผู้ป่วยภาวะหัวใจจะสามารถกลับไปขับขี่ยานพาหนะอีกครั้งได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้
    • ยังมีอาการอยู่อีกหรือไม่?
    • ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอะไร?
    • ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวจากการรักษามากน้อยเพียงใด?
  • ความสัมพันธ์ทางเพศ: ปัญหาสุขภาพร้ายแรงย่อมส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติ ผู้ป่วยหลายคนมีความกังวลว่า การมีเพศสัมพันธ์จะไม่ปลอดภัยเมื่อตนเองเป็นโรคหัวใจอยู่ แต่ส่วนมากแล้ว การมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งที่ส่งผลดีต่อหัวใจ แต่ถ้าหากรู้สึกไม่สบายใจ ก็ควรมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับคนรักหรือคู่นอน หรือปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมต่อไป

การปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่ผิดปกติของร่างกายทุกรูปแบบนั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ผู้ป่วยต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์ มีการดูแลตนเองที่เหมาะสมและไม่ปล่อยปละละเลยหากต้องมีการทำกิจวัตรบางอย่างที่เป็นส่วนหนึ่งของการรักษา เช่น การรับประทานยา การออกกำลังกาย การไปพบแพทย์ตามนัด การทำกายภาพบำบัด เพียงเท่านี้ ร่างกายผู้ป่วยก็จะสามารถกลับมาแข็งแรงขึ้นได้

และนอกจากตัวผู้ป่วยแล้ว คนในครอบครัว และคนใกล้ชิดก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวและอยู่กับสภาวะของร่างกายที่เป็นอยู่ได้ด้วย

ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ใจสั่น (Heart Palpitations)
ใจสั่น (Heart Palpitations)

รู้จักอาการใจสั่น แบบไหนที่ต้องเฝ้าระวัง และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

อ่านเพิ่ม