กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

หัวใจคนเราประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ทำความรู้จักส่วนประกอบของหัวใจแต่ละส่วน หน้าที่สำคัญ และความสำคัญของหัวใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
หัวใจคนเราประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หัวใจ (Heart) เป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ มีขนาดประมาณเท่ากำปั้น หนักประมาณ 200-425 กรัม ขึ้นอยู่กับเพศและอายุ ภายในหัวใจแบ่งออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ เยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อบุหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดแดง
  • กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) เป็นเนื้อเยื่อเกือบทั้งหมดของหัวใจ แบ่งเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบนขวา ห้องล่างขวา ห้องบนซ้าย และห้องล่างซ้าย กล้ามเนื้อหัวใจมีหน้าที่บีบตัวเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของโลหิต
  • เยื่อบุหัวใจ (Endocardium) เป็นเนื้อเยื่อบางๆ ที่บุภายในหัวใจทั้งหมดรวมทั้งกล้ามเนื้อและลิ้นหัวใจ มีหน้าที่ปกป้องไม่ให้เลือดซึมผ่านเข้ากล้ามเนื้อหัวใจ และหล่อลื่นลิ้นหัวใจให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • หัวใจเป็นอวัยวะที่มีหลอดเลือดหล่อเลี้ยงเฉพาะของตัวเอง ชื่อว่า หลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary artery) โดยแบ่งเป็นหลอดเลือดด้านซ้ายและด้านขวา มีแขนงหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ล้อมรอบกล้ามเนื้อหัวใจ ทำหน้าที่เป็นหลอดเลือดเบี่ยง หรือหลอดเลือดสำรอง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ

หัวใจ (Heart) เป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ มีขนาดประมาณเท่ากำปั้น หนักประมาณ 200-425 กรัม ขึ้นอยู่กับเพศและอายุ 

ภายในหัวใจแบ่งออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ เยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อบุหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดแดง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เยื่อหุ้มหัวใจ

เยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardium) เป็นเนื้อเยื่อบางๆ มีลักษณะเป็นถุงหุ้มหัวใจ ทำหน้าที่ห่อหุ้ม หล่อลื่น และปกป้องหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจมี 2 ชั้น ระหว่างชั้นทั้งสองจะมีโพรง หรือช่องที่มีของเหลวหล่อลื่น ป้องกันไม่ให้เยื่อหุ้มเสียดสีกันจนเกิดการอักเสบ

กล้ามเนื้อหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) เป็นเนื้อเยื่อเกือบทั้งหมดของหัวใจ แบ่งเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบนขวา ห้องล่างขวา ห้องบนซ้าย และห้องล่างซ้าย 

กล้ามเนื้อหัวใจมีหน้าที่บีบตัวเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • หัวใจห้องบนขวา รับเลือดดำซึ่งเป็นเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงจากหลอดเลือดดำใหญ่ส่วนทรวงอก และหลอดเลือดดำส่วนช่องท้อง เมื่อหัวใจบีบตัวจะส่งเลือดดำเหล่านี้ผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสปิดเข้าสู้ห้องหัวใจล่างขวา
  • หัวใจห้องล่างขวา รับเลือดจากห้องบนขวาผ่านทางลิ้นหัวใจซึ่งกั้นระหว่างห้องบนกับล่าง (มีลิ้นหัวใจเพื่อป้องกันเลือดจากห้องล่างขวาไหลย้อนกลับขึ้นไปห้องบนขวา)
    หลังจากนั้นในช่วงกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว เลือดดำจากห้องล่างขวาจะเข้าสู่หลอดเลือดปอดเพื่อฟอกให้เป็นเลือดแดง (เลือดที่มีออกซิเจนสูง เพื่อให้เซลล์ต่างๆ ใช้เป็นพลังงานในการดำรงชีวิต)
  • หัวใจห้องบนซ้าย รับเลือดแดงจากหลอดเลือดปอด และส่งเลือดแดงในช่วงหัวใจบีบตัวผ่านลิ้นหัวใจไบคัสปิด หรือไมทรัล (กั้นระหว่างห้องบนซ้ายกับห้องล่างซ้าย) เข้าสู่ห้องล่างซ้าย
  • หัวใจห้องล่างซ้าย รับเลือดแดงจากห้องบนซ้าย และส่งผ่านเข้าหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) ช่วงหัวใจบีบตัว โดยผ่านทางลิ้นหัวใจซึ่งกั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงเอออร์ตา

ลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจ (Heart valve) มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดที่ไหลออกจากห้องต่างๆ ไปแล้วย้อนกลับเข้ามาในห้องเดิมอีก ลิ้นหัวใจมีทั้งหมด 4 ลิ้น กั้นอยู่ระหว่างห้องต่างๆ ของหัวใจ ได้แก่

  • ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid Valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างขวา
  • ลิ้นหัวใจไมตรัล หรือไบคัสปิด (Mitral Valve or Bicuspid valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างซ้าย เป็นลิ้นหัวใจส่วนที่พบความผิดปกติมากที่สุด
  • ลิ้นหัวใจพัลโมนารี (Pulmonary Valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างขวาและหลอดเลือดปอด หรือหลอดเลือดดำ
  • ลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Aortic Valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงเอออร์ตา เป็นลิ้นหัวใจส่วนที่พบความผิดปกติมากไม่ต่างกับลิ้นหัวใจไมตรัล

เยื่อบุหัวใจ

เยื่อบุหัวใจ (Endocardium) เป็นเนื้อเยื่อบางๆ ที่บุภายในหัวใจทั้งหมดรวมทั้งกล้ามเนื้อและลิ้นหัวใจ มีหน้าที่ปกป้องไม่ให้เลือดซึมผ่านเข้ากล้ามเนื้อหัวใจ และหล่อลื่นลิ้นหัวใจให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อที่ส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อปรับและควบคุมการทำงาน หรือการเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจ ถ้าหัวใจขาดเลือด อาจลุกลามทำให้เยื่อบุหัวใจขาดเลือดได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะเยื่อบุหัวใจขาดเลือดอันตรายกว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพราะเมื่อเนื้อเยื่อบุหัวใจตาย จะส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติและอาจเสียชีวิตทันที

เยื่อบุหัวใจสามารถเกิดอาการอักเสบง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิตเมื่อร่างกายมีบาดแผล หรือมีแหล่งเชื้อโรค เช่น ช่องปากไม่สะอาด หรือติดเชื้อจากการใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด 

หลอดเลือดหัวใจ

หัวใจเป็นอวัยวะที่มีหลอดเลือดหล่อเลี้ยงเฉพาะของตัวเอง ชื่อว่า หลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary artery) โดยแบ่งเป็นหลอดเลือดด้านซ้ายและด้านขวา 

นอกจากนั้นยังมีแขนงหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ล้อมรอบกล้ามเนื้อหัวใจ โดยแทรกกระจายระหว่างหลอดเลือดหัวใจทั้งสองเส้น ทำหน้าที่เป็นหลอดเลือดเบี่ยง หรือหลอดเลือดสำรอง

ในภาวะปกติหลอดเลือดฝอยเหล่านี้จะไม่ทำงาน ยกเว้นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน หรืออุดตัน หลอดเลือดฝอยเหล่านี้จึงจะนำเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจแทน

หลอดเลือดแดง

หลอดเลือดแดง (Aorta) เป็นหลอดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนที่นำเลือดแดงออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายส่งไปเลี้ยงทั่วร่างกาย โดยแตกเป็นแขนงต่างๆ มีทั้งแขนงขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดฝอย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หลอดเลือดเหล่านี้จะไม่มีชื่อเฉพาะ แต่เรียกโดยรวมว่า "หลอดเลือดแดง" และตามด้วยชื่ออวัยวะที่หลอดเลือดแดงหล่อเลี้ยง เช่น หลอดเลือดแดงไต หรือหลอดเลือดแดงตับ

หัวใจมีความสำคัญต่อร่างกาย เพราะหากคนเราไม่มีหัวใจก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เนื่องจากหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งภายในเลือดจะมีออกซิเจนที่ผ่านจากการฟอกปอดอยู่ด้วย 

นอกจากนี้หัวใจยังทำหน้าที่นำคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งของเสียต่างๆ กลับมาที่ปอดเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อไปอีกด้วย ดังนั้นอย่าลืมดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
NCBI.nlm.nih.gov, Heart-organ-composition (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20620480), 8 July 2020.
National Cancer Institute, Structure of the heart (https://training.seer.cancer.gov/anatomy/cardiovascular/heart/structure.html), 8 July 2020.
Daisy Coyle, APD, Heart-organ-composition (https://www.healthline.com/nutrition/organ-meats), 19 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป