กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Hemorrhage (ตกเลือด)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ภาวะตกเลือดหรือเลือดออก คือคำที่ใช้เรียกภาวะที่มีเลือดออกภายในร่างกาย (Internal Bleeding) การตกเลือดเกิดจากการมีเลือดรั่วไหลออกจากหลอดเลือดหรืออวัยวะที่เสียหาย สามารถเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วนของร่างกาย

ส่วนเลือดออกภายนอก หมายถึงภาวะเลือดไหลออกจากผิวหนังที่ได้รับความเสียหาย หรือเกิดขึ้นจากช่องเปิดตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น ปาก ช่องคลอด ทวารหนัก หรือจมูก เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของการตกเลือด

การตกเลือด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • การบาดเจ็บที่ทำให้เกิดเลือดออก (Traumatic Bleeding) ชนิดของการบาดเจ็บประเภทนี้ได้แก่
    • การถลอกหรือขูดที่ไม่ลงไปยังใต้ผิวหนัง
    • รอยฟกช้ำหรือภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อ (Hematoma)
    • การฉีกขาดหรือกรีด
    • แผลถูกสิ่งของแทง อย่างเข็มหรือมีด
    • แผลจากการถูกกระแทก หรือถูกอัด
    • แผลถูกปืนยิง
  • ภาวะทางการแพทย์ มีภาวะทางการแพทย์บางอย่างที่ทำให้เกิดการตกเลือดภายใน แต่ภาวะตกเลือดที่เกิดจากภาวะทางการแพทย์จะพบได้ไม่บ่อยเท่าการบาดเจ็บ ตัวอย่างภาวะที่ทำให้เกิดเลือดออก ได้แก่
  • การใช้ยา ยาบางชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือด หรือทำให้เกิดการตกเลือดขึ้นได้ ตัวอย่างยาที่ทำให้เลือดออก ได้แก่
    • ยาลดความข้นของเลือด
    • ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในระยะเวลานาน
    • การบำบัดเคมี
    • ยา Aspirin

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

หากเกิดอาการตกเลือดอย่างรุนแรง และมีอาการดังต่อไปนี้ ต้องขอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาลทันที เพราะภาวะนี้อาจกลายเป็นเรื่องร้ายแรงถึงชีวิตได้

  • ผู้ป่วยหรือบาดเจ็บเข้าสู่ภาวะช็อกหรือมีไข้
  • ไม่สามารถควบคุมการไหลของเลือดด้วยการกดปากแผลได้
  • มีบาดแผลต้องรักษาด้วยสายรัดห้ามเลือดทูนิเก้ (Tourniquet)
  • มีเลือดออกจากการบาดเจ็บร้ายแรง
  • อาจต้องมีการเย็บแผลเพื่อหยุดเลือด
  • มีสิ่งแปลกปลอมติดเข้าไปในบาดแผล
  • บาดแผลมีสัญญาณการติดเชื้อ เช่น อาการบวม มีน้ำสีเหลืองหรือน้ำตาลไหลออกมา และบาดแผลมีสีแดงเข้ม
  • เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากการถูกสัตว์กัด

การปฐมพยาบาลภาวะตกเลือด

มนุษย์สามารถเสียชีวิตจากการสูญเสียเลือดได้ภายใน 5 นาที แต่ผู้เห็นเหตุการณ์ที่อยู่ใกล้เคียงอาจช่วยรักษาชีวิตของผู้บาดเจ็บได้นานกว่านั้น หรือจนถึงมือแพทย์ด้วยการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

เริ่มจากแนะนำให้ผู้มีเลือดออกพยายามทำใจให้สงบเพื่อลดความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจลง เพราะหากการเต้นและความดันหัวใจมีมากเกินไป จะยิ่งทำให้เลือดออกมากขึ้น

จัดให้ผู้บาดเจ็บนอนราบเพื่อลดความเสี่ยงต่อการหมดสติ พยายามยกส่วนของร่างกายที่มีเลือดออกให้สูงกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกายหากสามารถทำได้

กำจัดสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากบาดแผล ยกเว้นสิ่งของขนาดใหญ่ที่ปักหรือแทงบริเวณที่มีเลือดออก เช่น ลูกธนู มีด หรืออาวุธต่างๆ เพราะการดึงของเหล่านั้นออกจะยิ่งสร้างความเสียหายให้กับแผล และยังเสี่ยงต่อการมีเลือดออกมากขึ้นด้วย ซึ่งในกรณีนี้ต้องใช้ผ้าพันแผลหรือตัวช่วยในการค้ำสิ่งของนั้นๆ ให้อยู่กับที่ตลอดพร้อมกับซับเลือดที่ออกมาไปในตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จากนั้นให้ใช้ผ้าสะอาด ผ้าพันแผล เสื้อผ้า หรือมือของผู้ปฐมพยาบาลกดลงบนบาดแผลด้วยแรงกดปานกลางจนกว่าเลือดจะไหลช้าและหยุดไหลไปเอง เมื่อเลือดหยุดแล้วให้ใช้ผ้าชิ้นอื่น หรือใช้เทปพันรอบสิ่งที่ใช้กดบาดแผลให้แน่น แล้วใช้ความเย็นประคบลงเหนือบาดแผล ห้ามดึงวัสดุที่กดอยู่ออกเด็ดขาด แม้จะชุ่มไปด้วยเลือดขนาดไหนก็ตาม เพราะอาจทำให้มีเลือดไหลออกจากแผลอีกครั้ง และอาจทำให้เนื้อเยื่อรอบบาดแผลถูกทำลายมากขึ้น

หากผู้มีเลือดออกได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ คอ หลัง และขา ห้ามเคลื่อนร่างกายของผู้ที่บาดเจ็บโดยเด็ดขาด ให้โทรศัพท์สายด่วน 1669 และปฐมพยาบาลเบื้องต้นจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง

ให้ใช้สายรัดห้ามเลือดทูนิเก้เป็นตัวช่วยสุดท้าย หากบริเวณนั้นมีผู้ที่สามารถใช้งานทูนิเก้ได้อย่างถูกต้อง โดยข้อปฏิบัติในการใช้ทูนิเก้ มีดังนี้

  • ตรวจหาตำแหน่งที่จะมีการวางทูนิเก้ โดยวางอุปกรณ์ไว้ระหว่างหัวใจกับตำแหน่งที่มีเลือดออก
  • หากเป็นไปได้ควรใช้ผ้าพันแผลร่วมกับทูนิเก้ โดยพันผ้าไว้รอบๆ แขนหรือขาและมัดปมแบบหลวมๆ ไว้ก่อน เพื่อทำให้มีช่องว่างไว้มัดอีกปมไว้
  • วางแท่งไม้หรือท่อระหว่างปมทั้งสอง
  • หมุดแท่งหรือท่อที่ใช้เพื่อทำให้ผ้าพันแผลแน่นขึ้น
  • จัดให้ทูนิเก้อยู่กับที่ด้วยเทปกาวหรือผ้าพันไว้
  • ตรวจสอบทูนิเก้ทุกๆ 10 นาที หากการตกเลือดเริ่มช้าลงพอที่จะควบคุมได้ด้วยแรงกด ให้คลายทูนิเก้ออกและใช้วิธีกดแผลโดยตรงแทน

การรักษาภาวะตกเลือด

หน่วยปฐมพยาบาลจะพยายามห้ามเลือดไว้ก่อนจะรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ส่วนการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ตกเลือด หากมีอาการรุนแรงอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อหยุดเลือดที่ไหลออกมา

หากผู้ป่วยมีเลือดออกที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ แล้วแผลที่เกิดขึ้นสามารถห้ามเลือดได้ด้วยการปฐมพยาบาลเบื้องต้น บาดแผลจะสมานตัวเองเองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติม

ส่วนการตกเลือดที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้รับการดูแลทางการแพทย์อาจกลายเป็นเรื่องร้ายแรงถึงชีวิต หากผู้บาดเจ็บสูญเสียเลือดไปมากกว่า 1 ใน 3 และอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่การเสียชีวิตจากเหตุนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

การเสียชีวิตจากการตกเลือดสามารถเกิดขึ้นโดยไม่มีการเลือดออกภายนอกได้ โดยภาวะที่เรียกว่า Catastrophic Internal Hemorrhages จะทำให้มีการเสียเลือดปริมาณมากเช่นเดียวกับภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพอง (Aneurysms)


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih, Hemorrhage (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK542273/), November 22, 2019.
medlineplus, Bleeding (https://medlineplus.gov/bleeding.html),
Stacy Sampson, DO, What You Need to Know About Hemorrhage (https://www.healthline.com/health/bleeding), September 16, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เบาหวานขึ้นตามีวิธีรักษาอย่างไรบ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไมหนูปวดเมื่อยตรงสะบักมักจะปวดหัวทุกที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ความดันสูงมีสิทธิ์หายขาดมั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนปวดมากๆเส้นเลือดในสมองจะแตกมั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการเวลาอากาศเย็นแล้วปวดขา ปวดนิ้วมือ เมื่อย เป็นเพราะอะไรครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)