โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

เผยแพร่ครั้งแรก 16 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

ลองอ่านบทความนี้เพื่อความเข้าใจและรู้จักอาการเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ให้มากขึ้น รวมถึงวิธีการป้องกันรักษาเมื่อคุณสาวๆ เป็นโรคนี้

Anne ไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับการมีรอบเดือนมาก่อนเลยในขณะที่เพื่อนๆ ของเธอบางคนมี แต่อยู่ๆ เธอก็เริ่มมีอาการปวดประจำเดือนมากจนทำให้เธอรู้สึกกลัวกับการมีประจำเดือน ทุกๆ เดือนเธอจะรู้สึกปวดท้องมากจนต้องนอนซมอยู่ที่บ้านโดยมีถุงน้ำร้อนวางบนหน้าท้องและต้องทานยาแก้ปวด ทำให้ทุกเดือนเธอต้องขาดเรียน นอกจากนี้ เธอเริ่มมีอาการปวดแม้ประจำเดือนยังไม่มาก็ตาม - แพทย์วินิจฉัยว่า Anne อาจมีเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร

เมื่อคุณสาวๆ มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้อเยื่อที่มีลักษณะและทำหน้าที่เหมือนเยื่อบุมดลูกจะมีการเจริญเติบโตในที่ที่ไม่ใช่ด้านในของมดลูก โดยตำแหน่งที่พบว่ามีการเจริญเติบโตมากที่สุดคือ ภายนอกมดลูก

บริเวณรังไข่ ท่อนำไข่ กล้ามเนื้อที่รองรับรังไข่ ลำไส้หรือทางเดินอาหาร กระเพาะปัสสาวะ อวัยวะภายในที่อยู่ระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก หรือบริเวณอุ้งเชิงกราน เป็นต้น

ยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่ามีจำนวนผู้หญิงที่เป็นโรคนี้ทั้งหมดเท่าไหร่ แต่ในสหรัฐอเมริกามีผู้หญิงที่เป็นโรคนี้มากกว่า 5 ล้านคน รวมถึงเด็กสาววัยรุ่นด้วย เนื่องจากอาการที่เกิดขึ้นมักไม่ได้รับการวินิจฉัยทันทีนั่นเพราะสาวๆ คิดว่ามันเป็นอาการปวดประจำเดือนปกติธรรมดาหรืออาการปวดอาจเกิดจากปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ  แต่เมื่อเวลาผ่านไปพวกเธอจะพบว่าอาการปวดนั้นรุนแรงขึ้นจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ ที่น่ากังวลคือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อาจส่งผลให้พวกเธอมีภาวะการมีบุตรยากในอนาคตได้ ดังนั้น การพบแพทย์และทำการรักษาโดยไม่ต้องรอให้มีอาการรุนแรงจะช่วยรักษาอาการดังกล่าวให้หายได้

เพื่อให้คุณสาวๆ ทราบถึงสาเหตุของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ จำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการเกิดรอบเดือนซะก่อน ช่วงก่อนการมีประจำเดือนในทุกๆ เดือน เยื่อบุจะถูกผลิตขึ้นมาจากหลอดเลือดและเนื้อเยื่อเพื่อรองรับการตกไข่ที่จะเดินทางมาตามท่อนำไข่ และเมื่อไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิโดยอสุจิ มดลูกจะขับเนื้อเยื่อและเลือดเหล่านี้ออกมาทำให้เกิดประจำเดือน ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากฮอร์โมนที่มีเฉพาะในผู้หญิง โดยกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นประมาณ 28-30 วัน

เนื่องจากการเจริญเติบโตของเยื่อบุโพรงมดลูกผิดที่นั้นเกิดจากการรวมตัวของหลอดเลือดและเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในโพรงมดลูก ดังนั้น เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่นั้นจะตอบสนองต่อฮอร์โมนเหมือนกัน จึงมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการมีรอบเดือนปกตินั่นเอง

อย่างไรก็ตาม หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ เนื้อเยื่อและเลือดในมดลูกจะถูกขับออกมาเป็นประจำเดือน แต่หากมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้อเยื่อและเลือดเหล่านี้จะสลายตัวและทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อส่วนต่างๆ ภายในร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการปวดและจะปวดรุนแรงขึ้นหากยังมีการเจริญเติบโตของเยื่อบุต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อะไรคือสาเหตุของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

แพทย์ยังไม่สามารถยืนยันได้ถึงสาเหตุของเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ แต่ที่ทราบคืออาการนี้มักเกิดขึ้นกับสาวๆ วัยรุ่นหรือกับผู้หญิงที่มีประวัติของคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคนี้ มีหลายทฤษฎีที่สนับสนุนภาวะการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อนอกมดลูก โดยทฤษฎีหนึ่งยืนยันว่าเกิดจากการที่ประจำเดือนไหลย้อนกลับสู้ท่อนำไข่และมีการนำเนื้อเยื่อย้อนกลับมาด้วยทำให้เนื้อเยื่อเกาะตัวที่อื่นที่ไม่ใช่ภายในมดลูก อีกทฤษฎีหนึ่งคือ เมื่อเซลล์เยื่อบุมดลูกเดินทางออกจากมดลูกผ่านกระแสเลือดหรือหลอดเลือดและจากนั้นเริ่มเจริญเติบโตในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โดยมีทฤษฎีที่ยืนยันได้ว่าเด็กสาวที่มีเซล์เจริญเติบโตผิดที่สามารถนำไปสู่ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ในอนาคตได้ ซึ่งนักวิจัยยังคงทำการศึกษาต่อไปเพื่อความเข้าใจและการรักษาทางการแพทย์

สัญญาณบอกอาการ

เมื่อเกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มักจะทำให้สาวๆ มีอาการปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง ซึ่งอาการปวดอาจเกิดขึ้นบางคราวหรือเป็นประจำทุกครั้งที่มีประจำเดือน ทว่าอาการปวดท้อง 2-3 วันก่อนการมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องปกติซึ่งจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่เมื่อเกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาการปวดท้องจะรุนแรงกว่ามากจนต้องนอนพัก ทำให้ต้องขาดเรียน งดเล่นกีฬา หรืองดการทำกิจกรรมต่างๆ ไป โดยอาการที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

  • ปวดท้องน้อย โดยเฉพาะหลังจากมีเพศสัมพันธ์หรือหลังจากการตรวจภายใน
  • มีปริมาณประจำเดือนมากผิดปกติ
  • ปวดเอวและบั้นท้าย
  • ท้องผูก ท้องร่วง เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว หรืออาจมีเลือดออกทางช่องคลอดแม้จะไม่ได้เป็นประจำเดือน

หากสาวๆ สังเกตว่ามีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เป็นอาการของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เสมอไป เนื่องจากมีการติดเชื้อบางอย่างที่อาจทำให้คุณมีอาการเช่นเดียวกันได้ ดังนั้น คุณควรพบแพทย์เพื่อตรวจ

วินิจฉัยโรค หากคุณยังไม่เคยไปพบสูติแพทย์เลย นี่ถือเป็นโอกาสที่ดีที่คุณจะได้ตรวจเช็คสุขภาพส่วนนั้นของคุณสักที

การวินิจฉัยโดยแพทย์

การวินิจฉัยอาการเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ไม่ได้ง่ายเสมอไป เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยได้ และแม้อาการจะระบุแน่ชัดแล้วว่าคุณมีภาวะของเยื่อบุเจริญผิดที่แต่แพทย์ก็ยังจะวินิจฉัยอาการที่อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

นอกจากการตรวจร่างกายแล้ว แพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์ของคุณด้วย โดยการถามเกี่ยวกับโรคหรืออาการต่างๆ ที่คุณเคยเป็นหรือเป็นอยู่ ประวัติทางสุขภาพของคนในครอบครัว เกี่ยวกับยาที่คุณเคยทาน อาการแพ้ต่างๆ และเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ของคุณเอง แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับรอบเดือนและการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณต้องตอบคำถามอย่างละเอียดและเป็นความจริง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน โดยแพทย์อาจขอให้คุณจดบันทึกอาการปวดว่าเกิดขึ้นตอนไหน ช่วงเวลาใด และมีอาการปวดแบบไหนหรือบริเวณใด เป็นต้น ข้อมูลที่แพทย์ต้องการทราบ เช่น

  • ลักษณะของอาการปวด (ปวดแปลบ, ปวดตื้อ, เจ็บ, ปวดเกร็ง)
  • บริเวณที่ปวด
  • ระยะเวลาที่ปวด นานแค่ไหนในแต่ละครั้ง
  • ช่วงเวลาที่เกิดอาการปวด เช่น ตอนมีประจำเดือนหรือตอนเข้าห้องน้ำ
  • วัดระดับของการปวด หากมี 1-10 คุณจะให้อาการปวดนั้นๆ ที่ระดับใด
  • การรักษา หากคุณมีการทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวด ยานั้นช่วยให้หายปวดหรือไม่ หรือยาตัวใดที่ทำให้อาการปวดแย่ลง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม อาการปวดไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ความรุนแรงของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แต่อย่างใด บางรายอาจมีภาวะที่เยื่อบุกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างและมีอาการปวดเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางรายอาจมีเยื่อบุเกิดขึ้นไม่มากแต่มีอาการปวดรุนแรง ดังนั้นอาการปวดในแต่ละรายนั้นมีความแตกต่างกัน

วิธีเดียวที่จะทำให้ทราบอาการได้อย่างชัดเจนคือ การใช้กล้องส่องทางช่องคลอด (Laparoscopy) ซึ่งจะทำให้แพทย์ทราบได้อย่างชัดเจนว่าผู้ป่วยมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จริงหรือไม่และถ้ามีจริง อาการรุนแรงมากน้อยเพียงใด โดยการส่องกล้อง แพทย์จะให้ยาสลบและผ่าเป็นแผลเล็กๆ บริเวณท้องเพื่อสอดกล้องวิดีโอเล็กๆ เข้าไป ซึ่งแพทย์จะเห็นช่องท้องและอวัยวะภายในผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในระหว่างนั้น ท้องของคุณจะถูกเติมก๊าซเข้าไปเพื่อขยายช่องท้องให้แพทย์สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน หากพบว่ามีเยื่อบุเจริญผิดที่ แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อชิ้นเล็กๆ ออกมาเพื่อตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ และทำการผ่าตัดรักษาต่อไป

แม้ว่าคุณจะมีอาการจะชี้ชัดว่าเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ก็ใช่ว่าแพทย์จะสามารถส่องกล้องดูภายในได้ทันที แต่จะทำการสแกนและวินิจฉัยจากแผ่นฟิล์มก่อน เช่น การอัลตร้าซาวด์หรือการทำ MRI เพื่อบ่งชี้สาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด จากนั้นแพทย์จะเริ่มรักษาด้วยการให้ทานยา ibuprofen หรืออาจแนะนำให้ทานยาคุมกำเนิดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด และหากวิธีการดังกล่าวไม่ได้ผล แพทย์จึงจะทำการรักษาและผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องต่อไป

การรักษาโดยแพทย์

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ โดยแพทย์จะแนะนำและสั่งยาคุมกำเนิดให้ผู้ป่วยทานซึ่งฮอร์โมนจะคอยควบคุมการตกไข่ และหากไม่มีการตกไข่ เยื่อบุดังกล่าวจะไม่มีการเจริญเติบโตมากขึ้น วิธีการนี้จะช่วยลดอาการปวดที่เกิดขึ้นได้

ยาอื่นๆ ที่ใช้ในการรักษาโรคนี้จะทำงานในลักษณะเดียวกันกับยาคุมกำเนิด เพื่อปรับฮอร์โมนและปรับสมดุลของการสร้างและการสะลายตัวของเยื่อบุมดลูก แต่การรักษาวิธีนี้แพทย์จะใช้กับวัยรุ่นที่ผ่านพ้นช่วงเปลี่ยนแปลงสู่วัยเจริญพันธุ์มาแล้ว

การผ่าตัดเป็นวิธีที่นำมาใช้เมื่อการรักษาด้วยยาไม่ประสบผลสำเร็จ โดยแพทย์จะผ่าตัดเอาเยื่อบุที่เจริญผิดที่ออกมาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง  หลังจากผ่าตัดเสร็จคุณจะรู้สึกผ่อนคลายจากอาการปวด แต่บางรายอาจ

กลับมามีอาการปวดอีกครั้งหากเยื่อบุกลับมาเจริญผิดที่อีก การผ่าตัดโดยการส่องกล้องมักนำมาใช้เพื่อรักษาอาการเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือแม้บางรายอาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดอื่นๆ ร่วมด้วยก็ตาม

เมื่อเป็นโรคนี้ แพทย์จะแนะนำให้คุณเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตบางอย่าง เช่น การรับประทานอาการที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย การหาวิธีการผ่อนคลายความเครียด อย่างการฝึกโยคะหรือทำสมาธิ ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

เมื่อเป็นแล้วจะใช้ชีวิตอย่างไร

นอกเหนือจากอาการปวดแล้ว คุณอาจพบปัญหาอื่นๆ ตามมาด้วย เด็กสาวบางรายไม่กล้าบอกเพื่อนหรือครูถึงสาเหตุที่ต้องขาดเรียน ไม่สามารถร่วมเล่นกีฬา หรือร่วมทำกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อนได้ หากคุณอายที่จะบอกเรื่องนี้ด้วยตัวคุณเอง คุณอาจขอให้แพทย์เขียนใบรับรองแพทย์ให้เพื่อที่คุณจะสามารถส่งให้ครูได้โดยไม่ต้องอธิบายด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ยังช่วยให้คุณไม่พลาดงานที่ครูสั่ง การบ้าน หรือกิจกรรมสนุกๆ ที่คุณควรเข้าร่วม

ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องมานั่งอธิบายเกี่ยวกับสุขภาพของคุณให้เพื่อนฟังหากคุณไม่ต้องการ และถ้าพบว่ามีเพื่อนบางคนไม่เข้าใจ คุณสามารถบอกคนๆ นั้นตามตรงได้ว่าคุณรู้สึกไม่ดี และคุณไม่ได้มีหน้าที่ที่จะต้องมานั่งอธิบายเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวให้ทุกคนเข้าใจ

ในปัจจุบัน แพทย์ได้ให้ความสำคัญกับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มากขึ้น ส่งผลให้วิวัฒนาการทางการแพทย์สามารถควบคุมการแพร่กระจายของเนื้อเยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้อาการที่เกิดจากโรคนี้บรรเทาลงได้ ทำให้สาวๆ สามารถใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีความสุขได้ตามปกติ

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens...


46 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Endometriosis. American Academy of Family Physicians (AAFP). (https://www.aafp.org/afp/1999/1015/p1767.html)
Modern combined oral contraceptives for treatment of pain associated with endometriosis. Cochrane. (https://www.cochrane.org/CD001019/MENSTR_modern-combined-oral-contraceptives-treatment-pain-associated-endometriosis)
16 Endometriosis Symptoms (Pain), Signs, Diet & Surgery Treatments. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/endometriosis/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)