กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

นิ้วเท้างอจิก (Claw toes)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

นิ้วเท้างอจิก คือภาวะที่นิ้วเท้างอหรือเอนจนทำให้เท้ามีรูปร่างคล้ายกงเล็บ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด หรืออาจเกิดตอนอายุมากแล้วก็ได้ ภาวะนี้มักไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงนัก แต่บางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคสมองพิการ หรือโรคเบาหวาน

อาการของภาวะนิ้วเท้างอจิก

ภาวะนิ้วเท้างอจิก จะทำให้ข้อต่อของนิ้วเท้าที่อยู่ใกล้กับข้อเท้าชี้ขึ้น ในขณะที่ข้อต่อส่วนที่เหลือของนิ้วเท้าจะหักลง ทำให้นิ้วเท้ามีลักษณะคล้ายกงเล็บ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แม้ภาวะนิ้วเท้างอจิกส่วนมากจะไม่ได้ทำให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แต่ในบางคนอาจรู้สึกเจ็บนิ้วเท้า และอาจทำให้เกิดกระเปาะหรือแผลเยื่อบุบนตำแหน่งที่เสียดสีกับรองเท้า

สาเหตุการเกิดภาวะนิ้วเท้างอจิก

ภาวะนิ้วเท้างอจิก สามารถเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น การผ่าตัด การบาดเจ็บที่ข้อเท้า ความเสียหายที่เส้นประสาทที่ทำให้กล้ามเนื้อเท้าอ่อนแรง หรือการอักเสบที่เท้าจนทำให้นิ้วเท้าหักงอ เป็นต้น และยังมีภาวะสุขภาพมากมายที่ทำให้เกิดภาวะนิ้วเท้างอจิก ดังนี้

  • โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune Disorder) ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าโจมตีเนื้อเยื่อสุขภาพดีในข้อต่อ ทำให้ผนังเยื่อบุข้อต่ออักเสบจนข้อต่อผิดรูป
  • โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) ภาวะที่ส่งผลต่อความตึงของกล้ามเนื้อจนทำให้กล้ามเนื้อแข็งหรือหลวมเกินไป โรคนี้อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาของสมองที่ผิดปกติตั้งแต่เกิดหรือจากความเสียหายของสมองระหว่างคลอด
  • เบาหวาน (Diabetes) โรคที่เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเกิดจากภาวะดื้ออินซูลินหรือจากการที่ร่างกายมีกระบวนการผลิตอินซูลินไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่งผลให้เกิดความเสียหายที่เส้นประสาท โดยเฉพาะที่เท้า
  • โรคในระบบประสาท (Charcot-Marie-Tooth Disease) ภาวะผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดหายากที่ส่งผลต่อระบบประสาท ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการเท้าอ่อนแรงและนิ้วเท้าผิดรูป
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเลือดที่ไหลไปเลี้ยงสมองถูกขัดขวางจากลิ่มเลือดหรือหลอดเลือดอ่อนแอ ทำให้เกิดความเสียหายที่เส้นประสาทชนิดร้ายแรงและส่งผลต่อกล้ามเนื้อต่างๆ รวมถึงกล้ามเนื้อเท้า

เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์?

หากพบว่านิ้วเท้าเริ่มมีอาการจะหักงอเป็นกงเล็บ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะในช่วงแรกนิ้วเท้าอาจจะยังคงมีความยืดหยุ่นอยู่บ้าง การเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้นิ้วเท้างอจิกไปมากกว่านี้ได้ และแพทย์อาจรักษาภาวะผิดปกติต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของภาวะนิ้วเท้างอจิก เช่น โรคเบาหวานหรือโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ได้อีกด้วย

การรักษาภาวะนิ้วเท้างอจิก

หากนิ้วเท้ายังคงมีความยืดหยุ่นคงเหลืออยู่ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้วิธีพันนิ้วเท้าและสวมเฝือกดามให้นิ้วเท้าทั้งหมดอยู่ในตำแหน่งที่ควรจะเป็น พร้อมกับสอนวิธีบริหารนิ้วเท้าด้วยตนเองที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยคงระดับความยืดหยุ่นของนิ้วเท้าไว้

ถ้าการรักษาข้างต้นไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเพื่อลดความยาวกระดูกที่ฐานนิ้วเท้า ซึ่งจะทำให้นิ้วเท้ามีที่ว่างพอจะชี้ไปข้างหน้าตามปกติ และหากภาวะนิ้วเท้างอจิกมีความเชื่อมโยงกับภาวะผิดปกติอื่น แพทย์อาจแนะนำการใช้ยา การผ่าตัด หรือการรักษาตามความเหมาะสมของกรณี


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih, Claw-toes correction: personal technique. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21972658), 2011 Apr-Jun
Timothy Gossett, MD, What You Should Know About Claw Foot (https://www.healthline.com/health/claw-foot), September 26, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)