ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงสามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุ แต่พบในผู้หญิงอายุระหว่าง 21-40 ปีได้บ่อยที่สุด
ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง คือการที่มีความดันโลหิตภายในหลอดเลือดที่อยู่ในปอดสูง ภาวะนี้มักเกิดตามหลังภาวะทางกายอื่น ๆ แต่ในบางกรณีก็อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคนี้เป็นโรคที่พบได้น้อยและมักถูกมองข้าม ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีน้อยกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้ยาก นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจไม่ได้มาตรวจรับการรักษาเมื่อเริ่มมีอาการ
ความชุกของการเกิดภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง
การประมาณความชุกของภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงแต่ละชนิดสามารถทำได้ยาก เนื่องจากเป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับหลายภาวะทอย่างไรก็ตาม สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาได้ประมาณว่ามีการวินิจฉัยผู้ป่วยใหม่ของภาวะ Pulmonary arterial hypertension (PAH) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง ปีละ 500-1000 คน ซึ่งกลุ่มนี้มักเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงมักในกลุ่มผู้หญิงอายุระหว่าง 21-40 ปีได้บ่อยที่สุดแต่ก็สามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุ
ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) ได้ทำการศึกษาข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับการเสียชีวิตจากภาวะ PAH โดยพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ชายและผู้หญิงทุกกลุ่มอายุ ผู้ป่วยโรค PAH มีการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็น 2 เท่าเมื่ออายุมากกว่า 85 ปี
ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา วิธีการวินิจฉัยภาวะนี้สามารถทำได้ดีขึ้น และมีความตื่นตัวเกี่ยวกับโรคมากขึ้นทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีการแจ้งจำนวนผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้น
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง
ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงเกิดตามหลังโรคทางกายได้หลายภาวะ ตั้งแต่ความผิดปกติทางพันธุกรรม การมีลิ่มเลือดอุดตัน หรือโรคหัวใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
คุณจะมีความเสี่ยงต่อภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงเพิ่มขึ้นหาก
- มีประวัติครอบครัวเป็นภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง
- อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก
- มีโรคปอดหรือโรคหัวใจอื่นๆ ร่วมด้วย
- เป็นโรคตับ
- มีความผิดปกติของการเกิดลิ่มเลือด หรือมีลิ่มเลือดที่ส่งผลต่อปอด
- มีการใช้ผิดกฎหมายหรือใช้ยาในกลุ่มแอมเฟตามีน
โรคนี้ไม่สามารถป้องกันได้ในผู้ป่วยบางราย เช่นกลุ่มที่เกิดจากความเสี่ยงทางพันธุกรรม เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดจากภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่นความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด อย่างไรก็ตาม คุณสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงโดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้เกิดภาวะนี้ เช่นการใช้ยาผิดกฎหมาย หรือการรักษาโรคทางกายอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง เช่นโรคหัวใจ เป็นต้น
อาการของภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง
ไม่ว่าภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงนี้จะเกิดจากสาเหตุอะไร แต่ภาวะนี้จะทำให้เลือดผ่านปอดไปได้ยากขึ้น ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อต่อสู้กับแรงต้านที่เกิดภายในปอด ในที่สุดก็จะทำให้หัวใจจะโตและแข็งขึ้น หัวใจอ่อนแรงและไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้อย่างเพียงพอ
ดังนั้นอาการแสดงหลักของภาวะนี้คืออาการเหนื่อยเวลาทำกิจกรรมที่ไม่ได้ออกแรงหนักมาก ไม่สามารถทำงานบ้านทั่วๆ ไป หรือขึ้นบันไดได้เหมือนปกติ และบางคนอาจมีอาการหายใจตื้นได้ขณะพัก
อาการอื่น ๆ ของภาวะนี้เช่น
- อ่อนเพลีย
- มึนหัวหรือเวียนหัว
- หัวใจเต้นเร็ว
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- มีอาการปวดหรือบวมในท้อง ขา หรือข้อเท้า
- เบื่ออาหาร
- เจ็บหน้าอก
- ผิวหนังหรือริมฝีปากสีซีด หรือสีคล้ำ
บางครั้งอาการเจ็บหน้าอกจากภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงอาจรุนแรงจนคล้ายกับอาการหัวใจวายเฉียบพลันได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงเป็นโรคที่อาการจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไป
การวินิจฉัยภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง
หากแพทย์สงสัยว่าคุณมีภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง แพทย์จะทำการซักประวัติเกี่ยวกับโรคทางกายอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการของคุณ และทำการตรวจร่างกาย นอกจากนี้มักจะต้องมีการตรวจเอกซเรย์หรือการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อประเมินการทำงานของปอดและความจุของปอดและอาจต้องมีการตรวจ echocardiogram ร่วมด้วย
วิธีที่สามารถยืนยันการวินิจฉัยภาวะนี้ได้มีเพียงวิธีเดียว คือการสวนหัวใจ โดยเป็นการใส่ท่อขนาดเล็กเข้าไปในเส้นเลือดดำที่คอหรือขาหนีบ ก่อนจะสอดเข้าไปสู่หลอดเลือด pulmonary artery และทำการวัดความดันโลหิตในหลอดเลือดนั้น ผู้รับการตรวจจะถูกทำให้สะลึมสะลือแต่ยังตื่นอยู่ตลอดการทำการสวนหัวใจ ก่อนที่แพทย์จะนำผลการตรวจที่ได้มาพูดคุยกับคุณขณะที่ผู้รับการตรวจเริ่มฟื้นตัว
การวินิจฉัยตัดโรคทางกายอื่น ๆ ออก
การตรวจเลือดสามารถช่วยระบุได้ว่ามีภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงหรือไม่ ซึ่งจะเป็นการตรวจเกี่ยวกับโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การติดเชื้อ HIV โรคตับเช่นตับอักเสบ C หรือโรคซีดชนิด sickle cell
ผลจากการตรวจเลือดเหล่านี้มักใช้เวลาหลายวัน บางที่อาจให้ผู้รับการตรวจเดินเป็นเวลา 6 นาทีเพื่อดูระยะทางที่สามารถเดินได้เพื่อนำมาประเมินกำลังกายและการทำงานของหัวใจ และเนื่องจากอาการของโรคนี้อาจคล้ายกับโรคหอบหืด ดังนั้นคุณอาจจะต้องมีการตรวจเกี่ยวกับโรคหอบหืดเช่นกันและคุณอาจต้องเข้ารับการตรวจการนอนหลับ เพื่อประเมินการหายใจและระดับออกซิเจนขณะหลับเพื่อประเมินว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือไม่ ซึ่งภาวะนี้สามารถทำให้ความดันในปอดสูงขึ้นได้
อย่างไรก็ตามหากคุณมีโรคต่างๆ เหล่านี้เพียงโรคเดียว ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงที่เกิดขึ้นมักอยู่ในระดับไม่รุนแรง
การแบ่งประเภทของภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง
การตรวจวินิจฉัยโรคนี้เป็นกระบวนการที่ยุ่งยากแต่สำคัญ เนื่องจากภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มย่อย ซึ่งเป็นตัวกำหนดวิธีการรักษา
สถาบันโรคหัวใจ ปอดและโรคเลือดแห่งชาติ (NIH National Heart, Lung and Blood Institute) ได้แบ่งภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงออกเป็นกลุ่มดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1: เป็นกลุ่มของ PAH ซึ่งรวมถึงชนิดที่อาจเกิดจากพันธุกรรม, เกิดจากการได้รับยาบางชนิด ปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดดำและหลอดเลือดรอบปอดหรือโรคอื่นๆ เช่นการติดเชื้อ HIV, โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดหรือการติดเชื้อบางชนิด หรือเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ
กลุ่มที่ 2: กลุ่มนี้มักเกิดจากโรคที่ส่งผลต่อหัวใจห้องล่างซ้ายเช่นโรคที่ลิ้นหัวใจ mitral หรือหัวใจวาย
กลุ่มที่ 3: กลุ่มนี้เกิดจากความผิดปกติทางการหายใจระหว่างการนอน (sleep apnea) กลุ่มนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับโรคปอดเช่น Interstitial lung diseases และ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
กลุ่มที่ 4: ในกลุ่มนี้เกิดจากการมีลิ้มเลือดอุดตันในปอดหรือมีความผิดปกติในการเกิดลิ่มเลือด
กลุ่มที่ 5: กลุ่มนี้รวมเอาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงที่เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ ซึ่งรวมถึงเนื้องอก โรคไต โรคเลือดและโรคทางเมตะบอลิก
วิธีการรักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงแนวใหม่
การรักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงสามารถทำได้โดยการรับประทานยา การใช้ยาฉีด การสูดดม หรือการฉีดเข้าใต้ผิวหนังได้
ยาชนิดใหม่ที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงได้ ประกอบด้วย
- ยากลุ่มขยายหลอดเลือด
- Endothilin receptor antagoinists
- Phosphodiesterase-5 inhibitors
- Soluble guanylatecyclase stimulators
ยาในกลุ่มนี้ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาให้สามารถใช้รักษา PAH ได้ แต่ก็มักจะใช้ในการรักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงในกลุ่มอื่นเช่นกัน
ยาขยายหลอดเลือดจะช่วยขยายและทำให้เส้นเลือดคลายตัว ทำให้เลือดสามารถเดินทางเข้าสู่ปอด ได้ออกซิเจน และนำออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ นอกจากนี้ยังทำให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
ยาขยายหลอดเลือดกลุ่มที่ใช้รักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงนี้ คือกลุ่ม Prostacyclinsสังเคราะห์ โดยยาในกลุ่มนี้จะเลียนแบบ prostacyclin ในธรรมชาติซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างเพื่อให้เลือดข้นน้อยลงและขยายหลอดเลือด
สมาคม PHA ได้ระบุว่าผู้ที่ได้รับยา epoprostenol (Flolan) ซึ่งมาในรูปแบบผงละลายน้ำ สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น ออกกำลังกายได้มากขึ้น และรู้สึกมีสุขภาพดีกว่าคนที่ไม่ได้ใช้ยา อย่างไรก็ตามข้อเสียของยานี้คือต้องมีการฉีดเข้าสู่หัวใจโดยตรง ซึ่งทำให้ต้องมีการใช้สายสวนฝังในช่องท้องขณะอยู่ในโรงพยาบาลและมีเครื่องปั๊มอยู่รอบเอวเพื่อให้สามารถส่งยาผ่านสายเข้าไปได้ และระดับของยา epoprostenol จะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อยาหมด ทำให้ผู้ป่วยมีเวลาเพียง 3-5 นาทีที่จะเปลี่ยนยากล่องใหม่หรือจะเสี่ยงมีอาการกลับเป็นซ้ำซึ่งอาจมีผลอันตรายถึงชีวิตได้
ผลข้างเคียงหลักของยานี้เกี่ยวข้องกับวิธีการบริหารยา ซึ่งประกอบด้วย
- การติดเชื้อในสายสวน
- เครื่องปั๊มทำงานไมได้
- มีลิ่มเลือดอุดตัน
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นโดยตรงจากตัวยาประกอบด้วย
แต่นอกเหนือจากข้อเสียเหล่านี้แล้ว ยา epoprostenol เป็นยาที่ถือว่ามีความก้าวหน้าในการรักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงอย่างมาก บางคนเชื่อว่าอาจจะสามารถใช้ยาตัวนี้ในรูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถใช้ได้ง่ายกว่าเนื่องจากไม่ต้องแช่ตู้เย็น
ยา Treprostinil (Remodulin) เป็นยากลุ่ม prostacyclin สังเคราะห์อีกตัวหนึ่งที่สามารถใช้ในรูปแบบฉีดยาต่อเนื่องหรือการฉีดเข้าใต้ผิวหนังได้ นอกจากนี้ยังมียาตัวนี้ในรูปแบบสูดดม หรือยาตัวอื่นที่ใช้การดมได้เช่น Iloprost (Ventavist)
ยาในกลุ่ม Endothilin receptor antagonists จะทำหน้าที่ยับยั้งสารที่ชื่อ endothelinซึ่งทำให้หลอดเลือดหดตัว
ยา Bosentan (Tracleer) ซึ่งเป็นยาในรูปแบบกิน อาจทำให้อาการดีขึ้นและทำให้ผู้ป่วยโรคนี้สามารถเดินได้นานขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ยานี้อาจทำให้มีการทำลายตับได้ ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจค่าการทำงานของตับเป็นประจำทุกเดือน
สมาคม PHA กล่าวว่า ยาตัวใหม่ที่ชื่อ ambrisentan (Letairis) และ macitentan (Opsumit) สามารถตรวจค่าการทำงานของตับห่างขึ้นได้ ยาเหล่านี้ไม่แนะนำให้รับประทานในหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากมีโอกาสเกิดความผิดปกติแต่กำเนิด
ผลข้างเคียงรุนแรงอื่น ๆ ของยาเหล่านี้ประกอบด้วย
- น้ำหนักขึ้นฉับพลัน
- แขน มือ เท้า ข้อเท้าบวม
- หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ
- เป็นลม เวียนศีรษะหรือมองเห็นไม่ชัดได้
ยา ambrisentanและ macitentan อาจมีอาการคล้ายไข้หวัดเกิดขึ้น และยา bosentanอาจทำให้มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
ยาในกลุ่ม phosphodiesterase-5 inhibitors ช่วยสนับสนุนความสามารถของปอดในการสร้างสารขยายหลอดเลือดตามธรรมชาติ ยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วย
- Sildenafil (Revatio, Viagra)
- Tadalafil (Adcirca, Cialis)
นายแพทย์ Brett Fensterผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหัวหน้าศูนย์โรคความดันหลอดเลือดปอดสูงของ National Jewish Hospital จาก Denver ได้กล่าวว่ายา sildenafil ซึ่งต้องรับประทาน 3 ครั้งต่อวันสามารถช่วยผู้ป่วยโรค PAH ให้เดินได้ไกลขึ้น รู้สึกหายใจเหนื่อยลดลงและชะลอการดำเนินโรค โดยที่ยา Tadafil รับประทานเพียงแค่ 1 ครั้งต่อวัน
ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้ที่อาจเกิดได้ประกอบด้วย ปวดหัว บวม หน้าแดง มวนท้อง ท้องเสีย และมีน้ำมูก
องค์การอาหารและยาได้อนุมัติให้ใช้ยาผสมระหว่าง ambrisentanและ tadalafil ในการรักษา PAH เมื่อเดือนตุลาคม 2015 ที่ผ่านมา และยา Riociguat (Adempas) ซึ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้ในปี 2013 เป็นยาในกลุ่ม soluble guanylatecyclase stimulators ซึ่งช่วยสนับสนุนปอดในการขยายหลอดเลือดและทำให้สามารถออกกำลังกายและทำงานได้มากขึ้น
การรักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงแบบดั้งเดิม
สมาคม PHA ได้ระบุว่ายาเหล่านี้สามารถใช้ร่วมกับการใช้ยาในกลุ่มใหม่ได้
- calcium' ;Calcium channel blockers
- Digoxin (Digitek, Lanoxicaps, และ Lanoxin)
- ยาขับปัสสาวะ (water pills)
- ยาต้านเกล็ดเลือด
ยาในกลุ่มนี้ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาให้ใช้ในการรักษา PAH เช่นเดียวกับยาในกลุ่มใหม่ และมักใช้รักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงในกลุ่มอื่นด้วย
Dr. Fenster กล่าวว่า ยาในกลุ่ม calcium channel blockers จะช่วยรักษาการเกิดภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงรูปแบบที่มีการตอบสนองต่อหลอดเลือด ซึ่งรูปแบบนี้จะทำให้ความดันในปอดลดลงจากการที่ยาที่บริหารผ่านการสูดดมหรือทางการฉีดเข้าเส้นเลือดระหว่างการสวนหัวใจ
ยาในกลุ่มนี้ที่มีการนำมาใช้รักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงประกอบด้วย
- Nifedipine (Nifedical, Procardia)
- Diltiazem (Cardizem, Cartia, Diltia)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นประกอบด้วย
- ความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ
- บวมน้ำ
- ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำ
ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการแพ้ยาในกลุ่มนี้ ทำให้มีอาการหน้าและแขนบวมหรือหายใจลำบากได้ ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่เป็นไปได้ก็คืออาการปวดหัวและมีผื่นขึ้น
Dr. Fenster กล่าวว่าในปัจจุบันมีการใช้ยากลุ่มนี้ลดลง โดยมีผู้ป่วยน้อยกว่า 10% ในปัจจุบันที่ใช้ยานี้รักษาโรค PAH
Digoxin เป็นยาที่ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและทำให้เต้นได้ดีขึ้น ทำให้ช่วยลดอาการของหัวใจวายซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยของภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง ยา Digoxin มีทั้งในรูปแบบเม็ด แคปซูล หรือน้ำ
ผลข้างเคียงของยานี้ประกอบด้วย
- มึนหัวหรือเวียนหัว
- การมองเห็นเปลี่ยนไป
- มีผื่น
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
Dr. Fenster ได้กล่าวอีกว่าผู้ป่วยที่เป็นภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงมีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดที่อาจทำให้เกิดการอุดตันเส้นเลือดในปอดมากกว่าคนปกติ
ดังนั้นการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดจึงช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วย
- warfarin Warfarin (Coumadin)
- Heparin
- Fondaparinux (Arixtra)
- Argatroban (Acova)
- Dabigatran (Pradaxa)
- Apixaban (Eliquis)
- Rivaroxaban (Xarelto)
ยาในกลุ่มนี้มีผลข้างเคียงที่สำคัญ เช่นการทำให้เลือดออกหยุดยากขึ้น และอาจทำให้มีเลือดออกภายในร่างกายได้ หากคุณรับประทานยา warfarin คุณจำเป็นต้องแจ้งแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้
- ไอเป็นเลือด
- มีเลือดกำเดาไหลหรือมีเลือดออกที่เหงือก
- มีแผลที่เลือดไหลไม่หยุด
- มีเลือดออกในปัสสาวะ
- ถ่ายดำ (อาการที่อาจแสดงถึงการมีเลือดออกในอุจจาระ)
- ยา warfarin ยังอาจทำให้เกิดอาการแพ้เช่นลมพิษ ผื่นและอาการคันได้
ยากลุ่มเก่า เช่น warfarin ต้องมีการเฝ้าระวังด้วยการตรวจเลือดอย่างใกล้ชิด แต่ยากลุ่มใหม่เช่น abigatran, apixabanและ rivaroxbanไม่ต้องติดตามใกล้ชิดเท่า
ยาขับปัสสาวะจะช่วยให้ร่างกายสามารถขับน้ำส่วนเกินและมักสั่งจ่ายให้ในผู้ป่วยที่เป็นภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง การที่ยาขับปัสสาวะช่วยลดน้ำส่วนเกินทำให้หัวใจทำงานได้ง่ายขึ้นและลดปริมาณสารน้ำที่ทำให้เกิดการบวมที่เท้า ข้อเท้า ขา และหน้า ยาขับปัสสาวะมีหลายกลุ่มและแพทย์จะเป็นผู้เลือกยาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย
แนวทางการรักษาวิธีอื่น
สถาบันโรคหัวใจ ปอด และโรคเลือดแห่งชาติระบุว่าแนวทางการรักษาวิธีอื่นนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของความดันหลอดเลือดปอดสูงที่เป็น ซึ่งโรคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มย่อยซึ่งอาจต้องการการดูแลเพิ่มเติมดังนี้
กลุ่มที่ 1 นอกเหนือจากยาที่ใช้ในการรักษาแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดเช่นการตัดผนังกั้นห้องหัวใจด้านบน, การเปลี่ยนปอด หรือการเปลี่ยนทั้งหัวใจและปอด
กลุ่มที่ 2 กลุ่มนี้เกี่ยวข้องการหัวใจซีกซ้ายเช่นหัวใจวาย สามารถใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานยาและการผ่าตัดในการรักษาได้
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่เกิดจากโรคปอด ในกลุ่มนี้แพทย์อาจแนะนำให้มีการใช้ออกซิเจนเพื่อช่วยในการรักษา
กลุ่มที่ 4 เกิดจากการมีลิ่มเลือดอุดตันหรือความผิดปกติในการเกิดลิ่มเลือด การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดและการผ่าตัดอาจจำเป็นเพื่อช่วยจัดการลิ่มเลือดและลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
กลุ่มที่ 5 กลุ่มนี้เกิดจากโรคทางกายอื่น ๆ ดังนั้นการรักษาโรคเหล่านั้นจึงเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการรักษาความดันในปอดสูง
เมื่อผู้ป่วยและแพทย์สามารถสรุปยาที่เหมาะสมที่จะใช้ในการรักษาแล้วนั้น ผู้ป่วยก็สามารถหายใจและรู้สึกดีขึ้นได้
เบาหวานขึ้นตามีวิธีรักษาอย่างไรบ้างค่ะ