อาการชาตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เป็นอาการที่สามารถพบเจอได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยกลางคน ไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งหากเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวก็ไม่มีอะไรน่าห่วง แต่ถ้าหากเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายบางอย่างได้
อาการมือชาเท้าชา เกิดจากสาเหตุใด
อาการมือชาเท้าชาแบบเฉียบพลันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การอยู่ในท่าเดิมๆ เป็นเวลานานจนทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นๆ ไม่ถึง หรืออาจจะเกิดจากการที่ร่างกายขาดวิตามินบี
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
นอกจากนี้ อาการมือเท้าชายังอาจเป็นอาการนำ และเป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ปลายประสาทผิดปกติได้เช่นกัน
ตำแหน่งของอาการชา บอกความผิดปกติอะไรได้บ้าง?
หากคุณได้ลองสังเกตบริเวณที่ชาของมือ หรือเท้าว่าอยู่ตรงจุดไหนบ้าง บางทีคุณอาจรู้เพิ่มเติมได้ว่า ตนเองมีแนวโน้มจะเจ็บป่วยเป็นโรคอะไร หรือมีอาการเกี่ยวกับเส้นประสาทอย่างไรบ้าง เช่น
- โรคเส้นประสาทกดทับบริเวณฝ่ามือ จะมีอาการชาที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หากมีอาการรุนแรงมาก อาจพบการปวดชาที่มือไปจนถึงแขน
- เส้นประสาทรักแร้ถูกกดทับ จะมีอาการชาบริเวณนิ้วก้อยเพียงนิ้วเดียว ซึ่งเกิดจากการถือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน
- เอ็นกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ มีอาการชาปลายนิ้วทุกนิ้วมือ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงเย็นหรือก่อนนอน เพราะมีการใช้ข้อมือในการทำงานอย่างหนักเป็นประจำทุกวัน
- เส้นประสาทกดทับที่แขน จะมีอาการชาตามง่ามนิ้วโป้ง และนิ้วชี้ อาจเกิดจากการนั่ง หรือนอนทับแขนผิดท่า
- ปลายเส้นประสาทเสื่อม หรืออักเสบ จะเกิดการชาที่ปลายมือและปลายเท้า ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินบีอย่างรุนแรง และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไต โรคมะเร็ง หรือได้รับสารพิษบางชนิด
- กระดูกต้นคอเสื่อม จนมีปัญหากดทับเส้นประสาท จะมีอาการชาทั้งแขนไปจนถึงปลายนิ้วมือจนไม่สามารถทำอะไร อาการนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด และควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีอาการชาบริเวณเท้า และลามขึ้นไปถึงสะโพก หากมีอาการรุนแรงจะเจ็บร้าวจนไม่สามารถเดินได้
อาการชาที่มาพร้อมโรค
อาการชาที่เกิดขึ้น ยังสามารถบ่งบอกถึงโรคที่อาจจะตามมาเหล่านี้ด้วยก็เป็นได้ ซึ่งโรคเหล่านั้นได้แก่
- โรคเบาหวาน เมื่อใดก็ตามที่โรคเบาหวานมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดการชาตามร่างกาย ซึ่งเป็นผลมาจากปลายเส้นประสาทเสื่อม
- ภาวะขาดไทรอยด์ นอกจากจะมีการชาแล้ว ยังพบการเกิดตะคริว และการปวดกล้ามเนื้อร่วมอยู่ด้วย
- โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ ด้วยความที่โรคนี้เกี่ยวข้องกับกรดยูริกและกระดูก จึงอาจทำให้เกิดการชาตามมือตามเท้าได้
- โรคพิษสุราเรื้อรัง โดยแอลกอฮอล์ที่คุณบริโภคเข้าไปจะเข้าไปทำลายระบบต่าง ของร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดวิตามิน และสารอาหาร ส่งผลให้เกิดการชาตามร่างกาย
วิธีรักษาโรคมือชาเท้าชา
ปกติแล้วอาการโรคมือเท้าชามักจะเป็นๆ หายๆ หรือไม่รุนแรงถึงชั้นใช้มือ และเท้าไม่ได้ จึงมักจะไม่ค่อยมีใครใส่ใจถึงขั้นไปพบแพทย์มากนัก และส่วนมาก ด้วยความที่อาการชามักจะเกิดขึ้นกับการกดทับของเส้นประสาทเสียส่วนมาก แพทย์จึงทำการรักษาตามอาการ คือ
- หากมีอาการไม่รุนแรงมาก อาจจะรู้สึกชาๆ เจ็บแปลบ เป็นระยะสั้นๆ ไม่กี่นาที แพทย์อาจจะตรวจดูการอักเสบของเส้นเอ็น และเส้นประสาทก่อน หากไม่พบความผิดปกติก็อาจจะให้เสริมวิตามินบีเพื่อรักษาอาการชานี้
- หากเริ่มมีอาการชาที่รุนแรงมากขึ้น และเริ่มมีระยะเวลานานกว่าเดิม ส่วนมากเมื่อมาถึงระยะนี้ ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทอักเสบ แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการให้ยาต้านการอักเสบก่อน หากยังไม่ดีขึ้น ก็อาจจะต้องผ่าตัดเพื่อรักษาต่อไป
- รักษาจากโรคที่เกิด อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า บางครั้งอาการชาตามมือตามเท้าก็อาจเกิดจากการเป็นโรคร้ายบางชนิด โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทแต่อย่างใด แพทย์ก็จะทำการรักษาตามโรคที่เกิดขึ้น เช่น
โรคเบาหวาน ก็ให้ลดระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกิน หรือในช่วงวัยทอง แพทย์ก็จะให้วิตามินเสริมเพื่อลดการเกิดอาการชา
อาการมือชาเท้าชา อาจเป็นโรคที่ไม่มีความอันตรายมากนัก แต่อย่างไรก็ตามก็ควรสังเกตความถี่และระยะเวลาที่เกิดการชา เพื่อประเมินถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้รีบเดินทางไปพบแพทย์และทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ
โดยเฉพาะถ้าหากเป็นโรคเกี่ยวกับเส้นประสาทนั้น จะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาค่อนข้างนานทีเดียว
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android