โรคมะเร็งตับคือ มะเร็งที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง มีสาเหตุจากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นเวลาหลายปี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ภาวะอ้วน รับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือเป็นโรคตับแข็ง
การรักษาโรคมะเร็งตับทำได้โดยการผ่าตัด การปลูกถ่ายตับ การใช้คลื่นไมโครเวฟ หรือคลื่นวิทยุจี้ทำลาย แต่ในกรณีที่เป็นในระยะแพร่กระจายแล้วจะใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษาแทน
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ชนิดของโรคมะเร็งตับ
โรคมะเร็งตับจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- โรคมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ (Primary liver cancer) เกิดขึ้นจากตัวเนื้อเยื่อของตับเอง เป็นโรคมะเร็งชนิดร้ายแรงที่เกิดขึ้นภายในตับ
- โรคมะเร็งตับชนิดทุติยภูมิ (Secondary liver cancer) เกิดขึ้นจากมะเร็งชนิดอื่นแพร่กระจายมายังตับ
ข้อมูลที่จะกล่าวถึงในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ “โรคมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ” หรือโรคมะเร็งตับที่เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อของตับเท่านั้น
อาการของโรคมะเร็งตับ
โรคมะเร็งตับในระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะถึงระยะที่มะเร็งแพร่กระจาย หรืออยู่ในระยะที่ความรุนแรงของโรคส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับแล้ว โดยจะมีอาการดังนี้
- น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
- เบื่ออาหาร
- รู้สึกอิ่มมากภายหลังการรับประทานอาหาร แม้ว่าอาหารที่รับประทานจะมีจำนวนน้อยก็ตาม
- รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
- ปวด หรือบวมที่ท้อง
- ดีซ่าน (มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง)
- คันตามผิวหนัง
- รู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนแรงอย่างมาก
หากมีอาการใดๆ ก็ตามที่กล่าวไปในข้างต้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของความผิดปกตินั้น แม้ว่าอาการโดยส่วนมากมักเกิดจากโรคที่พบได้บ่อย เช่น โรคติดเชื้อ
หากเคยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคตับ เช่น ตับแข็ง (Cirrhosis) ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C infection) แล้ว สุขภาพจะแย่ลงอย่างกะทันหัน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
สาเหตุของโรคมะเร็งตับ
สาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับโรคตับแข็ง โรคนี้เกิดจากการที่เนื้อเยื่อของตับถูกทำลาย เกิดเป็นพังผืด และไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอย่างที่ควรจะเป็น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งไม่ได้เป็นโรคมะเร็งตับทุกราย และผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคตับแข็งก็สามารถเป็นโรคมะเร็งตับได้เช่นกัน
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคตับแข็ง หรือเกิดพังผืดในตับ
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากติดต่อกันหลายปี ตับจะสูญเสียความสามารถในการสร้างเซลล์ตับใหม่ ทำให้เกิดความเสียหายและกลายเป็นพังผืดได้
- โรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากแอลกอฮอล์ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ ในคนส่วนมาก แต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีระดับไขมันสูงมาก หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการอักเสบที่ทำให้เกิดพังผืดในตับได้
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง จะทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดเป็นแผลเป็น หรือพังผืดในตับได้ และยิ่งคุณสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย ก็จะทำให้ความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งตับสูงขึ้น
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง สามารถทำให้เกิดพังผืดในตับได้เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบซี แต่การรักษาภาวะนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับได้
- โรคตับแข็งจากทางเดินน้ำดีชนิดปฐมภูมิ (Primary biliary cirrhosis) สาเหตุของโรคยังไม่ชัดเจนนัก แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้ ท่อน้ำดีจะค่อยๆ ถูกทำลายลง ทำให้เกิดการสะสมของน้ำดีภายในตับ ทำให้ตับได้รับความเสียหายและเกิดเป็นพังผืดขึ้น
- ภาวะเหล็กเกิน (Haemochromatosis) ปริมาณธาตุเหล็กที่มากเกินไปจะก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้เกิดพังผืดที่ตับ และนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็งตับได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ มักพบในคนที่เป็นโรคอ้วน หรือโรคเบาหวาน
- ผู้ใช้ยาบางชนิดที่เสี่ยงต่อโรคตับ
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง หรือไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
- ผู้ที่ตรวจพบพยาธิสภาพของเนื้อตับมีพังผืดมาก
- ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่เป็นเพศชายอายุมากกว่า 40 ปี หรือเพศหญิงอายุมากกว่า 50 ปี
- ผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการตับแข็ง
หากคุณเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ควรเข้ารับการตรวจเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับเป็นประจำทุกปี
วิธีการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ
ในคนทั่วๆ ไป การวินิจฉัยโรคตับระยะแรกอาจทำโดยแพทย์ทั่วไป โดยแพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการ เช่น อาการเริ่มเป็นเมื่อไร เมื่อไรที่เริ่มเห็นอาการเด่นชัด รวมถึงตรวจร่างกายให้กับคุณ
ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับสูงกว่าคนอื่นจะได้รับการตรวจเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับทุกๆ 6 เดือน ด้วยวิธีต่อไปนี้
- การตรวจสแกนอัลตราซาวด์ (Ultrasound scans) คือ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจสแกน และสร้างเป็นภาพของตับ ซึ่งสามารถมองเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่ตับได้
- การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาโปรตีนอัลฟาเฟโต (Alpha Feto Protein: AFP) เป็นโปรตีนที่พบได้ในผู้ป่วยมะเร็งตับบางราย
หากแพทย์พิจารณาแล้วว่า จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม แพทย์จะส่งต่อผู้ป่วยไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเพิ่มเติมต่อไป ได้แก่
- การตรวจซีทีสแกน (Computerised Tomography Scans: CT Scans) การเอกซเรย์ตับเพื่อให้ภาพที่มีรายละเอียดเป็นภาพสามมิติ
- การถ่ายภาพทางการแพทย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI) การใช้สนามแม่เหล็กเข้มข้นและคลื่นวิทยุเพื่อสร้างเป็นภาพเนื้อเยื่อภายในตับ
- การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) การใช้เข็มเจาะผ่านช่องท้องเพื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อตับจำนวนเล็กน้อยไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อหาเซลล์มะเร็ง
- การใช้กล้องส่องตรวจช่องท้อง (Laparoscopy) การให้ยาสลบและกรีดแผลขนาดเล็กที่ช่องท้องเพื่อใส่กล้องที่ยืดหยุ่นได้เข้าไปตรวจตับ
ภายหลังการตรวจเหล่านี้ นอกจากจะช่วยยืนยันได้ว่า "คุณเป็นโรคมะเร็งตับหรือไม่" ยังสามารถช่วยประเมินระยะของโรคมะเร็งด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ระยะของโรคมะเร็งตับ
ระยะของโรคมะเร็งจะเป็นการอธิบายถึงการแพร่กระจายของโรคมะเร็งว่า แพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด โดยจะมีระบบที่แตกต่างกันหลายระบบในการบอกถึงระยะของโรคมะเร็งตับ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งตับหลายคนจะใช้ "ระบบผสม" ในการบอกระยะของโรค
ระบบผสมในการบอกระยะของโรคจะช่วยอธิบายถึงลักษณะของมะเร็ง การทำงานของตับ ระยะเวลาของผู้ป่วยที่จะมีชีวิตอยู่ และความทนต่อการรักษาได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้
ระบบผสมในการอธิบายระยะของโรคมะเร็งตับ
ระบบผสมจะแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่
- ระยะ 0: เนื้องอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2 เซนติเมตร (20 มิลลิเมตร) ผู้ป่วยยังมีสุขภาพดีมาก ตับมีการทำงานเป็นปกติ
- ระยะ A: มีก้อนเนื้องอก 1 ก้อน โดยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยังน้อยกว่า 5 เซนติเมตร (50 มิลลิเมตร) หรือมีก้อนเนื้อ 3 ก้อนหรือน้อยกว่า ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 3 เซนติเมตร (30 มิลลิเมตร) ผู้ป่วยยังมีสุขภาพดีมาก และตับมีการทำงานเป็นปกติ
- ระยะ B: มีก้อนเนื้องอกหลายก้อนในตับ แต่สุขภาพยังดี และการทำงานของตับยังไม่ได้รับผลกระทบ
- ระยะ C: มีลักษณะใดๆ ก็ตามดังกล่าวข้างต้น แต่ผู้ป่วยเริ่มสุขภาพไม่ดี และการทำงานของตับก็ไม่ดีด้วย หรือมะเร็งเริ่มมีการแพร่กระจายเข้าสู่หลอดเลือดใหญ่ของตับ ใกล้กับต่อมน้ำเหลือง หรือแพร่ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
- ระยะ D: ตับสูญเสียการทำงานส่วนใหญ่ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการของโรคตับระยะสุดท้าย เช่น มีของเหลวในช่องท้อง
การรักษาโรคมะเร็งตับ
การรักษาโรคมะเร็งตับขึ้นกับระยะของโรค ได้แก่ การผ่าตัด การปลูกถ่ายตับ การใช้ความร้อนทำลายเซลล์มะเร็ง และการใช้ยา
ตัวอย่างแผนการรักษาโรคมะเร็งตับ
หากผู้ป่วยกำลังเป็นโรคมะเร็งตับในระยะ A การรักษาให้หายขาดสามารถเป็นไปได้ ผ่านวิธีการรักษา 3 วิธีหลัก ได้แก่
- การผ่าตัดนำส่วนของตับที่เป็นมะเร็งออก
- การปลูกถ่ายตับ
- การใช้ความร้อนเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ได้แก่ การใช้คลื่นไมโครเวฟ หรือการใช้คลื่นความถี่วิทยุ
หากคุณเป็นมะเร็งระยะ B หรือระยะ C การรักษาให้หายขาดมีโอกาสเป็นไปได้ยาก แพทย์จะใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคมะเร็ง ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นเป็นเดือน หรือในบางครั้งอาจนานเป็นปี
หากคุณเป็นมะเร็งในระยะ D ขณะได้รับการวินิจฉัยถือว่า ตรวจเจอโรคช้าเกินกว่าที่จะชะลอการแพร่กระจายของโรคมะเร็งแล้ว การรักษาจึงเน้นไปที่การบรรเทาอาการที่เกิดจากโรค เช่น อาการปวด หรืออาการไม่สบายตามร่างกายต่างๆ
วิธีป้องกันโรคมะเร็งตับ
การป้องกันโรคมะเร็งตับนั้น สามารถทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตับ หรือพังผืดในตับ เช่น
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่หากจำเป็นต้องดื่มจริงๆ ไม่ควรดื่มติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเพราะอาจทำให้เกิดไขมันพอกที่ตับได้
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ และไวรัสตับอักเสบบี
- หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งตับ เช่น เป็นผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซีเรื้อรัง มีอาการตับแข็ง หรือมีญาติที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งตับ ควรไปตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับเป็นประจำทุกปี
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
มะเร็งตับไม่ได้เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้นอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไขมันพอกตับที่หลายคนอาจยังไม่รู้จัก
ดังนั้นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงก่อโรคมะเร็งตับ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นผัก ผลไม้ การสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง และการตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคมะเร็งตับได้อีกทาง
ดูแพ็กเกจตรวจตับ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ไวรัสตับ บี มีโอกาศหายมั้ยค่ะ