โรคเซลิแอค (Celiac disease) เป็นโรคที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โดยคุณอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับมะเร็งบางชนิด และมีความเสี่ยงลดลงในมะเร็งอื่น ๆ
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้อาจลดลงได้ตามระยะเวลาที่รับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตน ในขณะที่ความเสี่ยงที่ลดลงนี้จะยังคงต่ำกว่าปกติเสมอ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อการอักเสบ, การทำลายผนังลำไส้ และการขาดสารอาหารที่เกิดจากภาวะผนังลำไส้เสื่อมลงในโรคเซลิแอค (Celiac disease)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac disease)
งานวิจัยทางการแพทย์ได้พบว่าผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac disease) มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin มากกว่าประชากรทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ
แม้ว่างานวิจัยจะแสดงถึงตัวเลขที่ต่างกัน แต่พบว่าผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac disease) ขั้นรุนแรง (อาจนำไปสู่การรักษาตัวในโรงพยาบาล) หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเซลิแอค (Celiac disease) ระยะไม่แสดงอาการ จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด แต่หากคุณไม่ได้มีอาการของโรคเซลิแอค (Celiac disease) กลับเป็นซ้ำ พบว่าความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะไม่ได้สูงกว่าปกติมากนัก
นอกจากนั้นยังมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าการรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองด้วย ดังนั้น ควรรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนอย่างเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
โรคเซลิแอคกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ : ผลที่คาดไม่ถึง
ผู้ป่วยโรคเซลิแอคส่วนมากเชื่อว่าการเป็นโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ เนื่องจากโรคนี้ทำให้เกิดความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร โดยในความเป็นจริงแล้วพบว่าผู้ป่วยโรคเซลิแอคมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เท่ากับปกติ และงานวิจัยบางชิ้นยังพบว่าอาจมีความเสี่ยงน้อยกว่าปกติด้วยซ้ำ
ยังไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมโรคนี้จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ แต่นักวิจัยบางคนสงสัยว่าปัญหาด้านการดูดซึมอาหารและท้องเสียที่เกิดในโรคเซลิแอคอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ เพราะสารก่อมะเร็งไม่ได้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแต่ถูกขับออก
อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกมาก และคุณก็ยังต้องระวังความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ เนื่องจากเป็นมะเร็งที่ทำให้เสียชีวิตได้มากเป็นลำดับที่ 4 ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคเซลิแอคกับมะเร็งเต้านม : ความเสี่ยงน้อยกว่าปกติมาก
ผู้หญิงส่วนมากกังวลเรื่องการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่ามะเร็งประเภทอื่น ๆ เนื่องจากพบว่าผู้หญิงมากกว่า 12% เป็นโรคดังกล่าว แต่หากคุณเป็นโรคเซลิแอค พบว่าความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมนั้นน้อยกว่าปกติถึงประมาณ 40%
ถึงแม้ว่ายังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าความเสี่ยงที่ลดลงนี้เกิดจากอะไร แต่คาดว่าอาจเกิดจากการที่ฮอร์โมนเพศหญิงที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม (estrogen และ progesterone) นั้นมีระดับที่ต่ำกว่าปกติ
อย่างไรก็ตามคุณก็ไม่ควรละเลยความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม เนื่องจากว่ายังคงมีผู้หญิงที่เป็นโรคเซลิแอคที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ เพียงแต่ว่ามีจำนวนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเท่านั้น
โรคเซลิแอคกับโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ : ความเสี่ยงลดลงภายหลังจากการวินิจฉัย
มีงานวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นที่แสดงถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดที่เพิ่มขึ้น เช่น มะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งที่เม็ดสีของผิวหนัง และมะเร็งตับอ่อน อย่างไรก็ตามงานวิจัยเหล่านี้ส่วนมากยังไม่ได้มีการศึกษาซ้ำ และงานวิจัยอื่น ๆ ยังสรุปว่ามีเพียงความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin เท่านั้นที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคเซลิแอค
และงานวิจัยล่าสุดได้แสดงว่าโรคมะเร็งที่เม็ดสีในผิวหนัง (melanoma) นั้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคเซลิแอค
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอย่างน้อย 1 ชิ้นที่พบว่าความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดน้อยกว่าปกติในผู้ป่วยโรคเซลิแอค แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร อาจเป็นผลจากการที่ประชากรกลุ่มที่ศึกษานั้นมีการสูบบุหรี่ที่น้อยกว่าประชากรทั่วไป ซึ่งก็จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับโรคเซลิแอคแต่อย่างใด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
งานวิจัยหลายชิ้นยังพบว่าความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่เพิ่มขึ้นนี้จะเพิ่มขึ้นในช่วงแรกภายหลังจากการเริ่มวินิจฉัย แต่จะลดลงจนเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติในเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งอาจหมายความว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการที่สงสัยว่าเป็นจากโรคเซลิแอค จริง ๆ แล้วอาจเป็นอาการของโรคมะเร็ง
นักวิจัยยังสนับสนุนว่าการรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนอย่างเคร่งครัดนั้นจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin แต่ไม่แน่ชัดว่าทำไมอาหารที่ไม่มีกลูเตน จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดอื่น
ทั้งนี้ มีงานวิจัยอย่างน้อย 1 ชิ้นที่พบว่ามีการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกลุ่มผู้ป่วยโรคเซลิแอคที่รับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนอย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 5 ปี และพบว่าความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ยังคงรับประทานอาหารที่มีกลูเตน หรือลดปริมาณกลูเตนเป็นเวลา 5 ปี
นี่อาจหมายความว่าการรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตน อาจช่วยหรือไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งก็ได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนอย่างเคร่งครัดนั้น ดูเหมือนจะเป็นวิธีเดียวที่สามารถป้องกันมะเร็งที่พบได้น้อยแต่รุนแรงได้
อาการของโรคเซลิแอค
อาการทางระบบย่อยอาหารของโรคเซลิแอคอาจประกอบด้วย
- ท้องอืด มีลมในท้อง ปวดท้อง
- ท้องเสียเรื้อรัง (อาจท้องเสียอยู่ตลอดหรือเป็นๆ หายๆ หลายสัปดาห์)
- ท้องผูก
- อุจจาระสีซีด มีกลิ่นเหม็นหรือมัน
- คลื่นไส้และอาเจียน
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ปัญหาทางระบบย่อยอาหารนี้สามารถเกิดได้กับผู้ป่วยทุกคนที่เป็นโรคนี้และอาจพบได้บ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โรคนี้ยังสามารถทำให้เกิดปัญหากับส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ บางภาวะต่อไปนี้สามารถพบได้ในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
อาการที่ไม่ได้เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ประกอบด้วย
- ซีด (ปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำ)
- อ่อนเพลีย (อ่อนเพลียมากที่ไม่ดีขึ้นแม้จะนอน)
- มีบุตรยากหรือแท้ง
- ขาดประจำเดือน
- โรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
- ชัก
- มีร้อนในในปาก
- ปวดกระดูกหรือปวดข้อ
- กระดูกพรุน
- ผื่นคันและเป็นตุ่มน้ำที่ผิวหนัง
- ผมร่วง
- ชาหรือเจ็บแปล๊บปลายมือหรือปลายเท้า
- ปวดหัว
การวินิจฉัยโรคเซลิแอค
มีการทดสอบหลายอย่างที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่าคุณเป็นโรคเซลิแอคหรือเป็นโรคทางระบบทางเดินอาหารอื่นๆ แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจ
- ตรวจเลือด : สามารถนำตัวอย่างเลือดไปตรวจหา antibody ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดพิเศษและบางตัวจะพบว่าสูงขึ้นในผู้ป่วยโรคนี้ ก่อนทำการเจาะเลือด คุณควรรับประทานอาหารที่มีกลูเตนตามปกติ การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกลูเตนก่อนการเจาะเลือดนั้นอาจทำให้การวินิจฉัยเกิดได้ช้ากว่าเดิม
- การส่องกล้อง : แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ทำการส่องกล้องเพื่อยืนยันการวินิจฉัย หากผลการตรวจเลือดพบว่าคุณอาจจะเป็นโรคนี้ คุณจะต้องกลืนท่อขนาดเล็กที่ภายในมีกล้องอยู่ภายใน ก่อนที่แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อขนาดเล็กจากผนังลำไส้ใหญ่มาตรวจ ผู้เชี่ยวชาญ (มักจะเป็นพยาธิแพทย์) จะทำการตรวจชิ้นเนื้อนี้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อดูว่ามีการทำลายที่เกิดจากโรคเซลิแอคหรือไม่
- การตรวจพันธุกรรม : แพทย์อาจให้ตรวจพันธุกรรมเพื่อตัดโรคนี้ออกจากการวินิจฉัย โดยผู้ป่วยโรคเซลิแอคส่วนมากจะมียีน HLA DQ2 หรือ DQ8 แต่ผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ก็อาจมียีนเหล่านี้เช่นกัน ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้การทดสอบนี้เพียงอย่างเดียวในการวินิจฉัยโรคเซลิแอคได้
- การตรวจมวลกระดูก : หากคุณเป็นโรคเซลิแอค แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพื่อดูว่ามีมวลกระดูกหายไปหรือไม่ การทดสอบนี้จะทำหลังจากที่คุณรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนมาแล้วประมาณ 1 ปี การทดสอบนี้จะใช้เครื่องที่คล้ายกับเครื่องเอกซเรย์ หากการตรวจพบว่ามีมวลกระดูกหายไปมาก คุณอาจต้องรับประทานอาหารเสริมหรือรับการรักษาเพื่อส่งเสริมให้มีการเจริญเติบโตของกระดูก
การรักษาโรคเซลิแอค (Celiac)
การรักษาโรคเซลิแอคนั้นเริ่มจากการรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตน
โรคเซลิแอคเป็นภาวะที่เมื่อมีการรับประทานกลูเตน ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์ไปแล้วนั้น จะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าโจมตีลำไส้เล็ก การรักษาหลักของโรคนี้ คือ การกำจัดอาหารที่มีสารกลูเตนทั้งหมด ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่การรักษาที่เหมาะสมจะช่วยให้มีอาการลดลง
อาหารที่ปราศจากกลูเตน
การกำจัดอาหารที่มีกลูเตนออกไปนั้นอาจเป็นเรื่องที่ยาก แพทย์อาจแนะนำให้คุณพบกับนักโภชนาการ ซึ่งเชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ นักโภชนาการจะช่วยให้คุณเปลี่ยนเข้าสู่การรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนพร้อมๆ กับการที่ยังสามารถรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีโภชนาการ คุณอาจได้รับคำแนะนำให้อ่านฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อดูส่วนประกอบที่อาจมีกลูเตน
- เข้าใจว่าอาหารชนิดไหนบ้างที่ไม่มีกลูเตนตามธรรมชาติ
- มองหาและกำจัดแหล่งของกลูเตนออกไปจากอาหาร
- เลือกอาหารที่มีประโยชน์
- วางแผนการรับประทานอาหาร
หลังจากที่เริ่มรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนแล้วนั้น คุณยังจะต้องเข้ารับการตรวจติดตามกับแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าอาการของคุณกำลังดีขึ้น แพทย์หลายคนแนะนำให้มาตรวจติดตามหลังจากเริ่มอาหารไปแล้ว 4-6 สัปดาห์ ผู้ป่วยโรคเซลิแอคประมาณ 70% มีอาการที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนภายใน 2 สัปดาห์หลังเริ่มรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตน
อาหารเสริมสำหรับโรคเซลิแอค
ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารเนื่องจากโรคนี้จำกัดความสามารถของลำไส้เล็กในการดูดซึมสารอาหารจากอาหาร ผู้ป่วยหลายคนมีการทำลาย villi ซึ่งเป็นส่วนของผนังลำไส้เล็กที่ยื่นเข้ามาเพื่อช่วยในการดูดซึมอาหารของผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดเรื้อรัง แพทย์อาจทำการตรวจหาภาวะขาดสารอาหารจากการตรวจเลือดทั่วไป ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีระดับของสารอาหารเหล่านี้ต่ำ
การรับประทานวิตามินรวมหรืออาหารเสริมอาจช่วยให้เพิ่มระดับของสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้ขึ้นมาได้ แต่วิตามิน แร่ธาตุ และสมุนไพรเสริมบางชนิดอาจมีส่วนผสมของเลซิทิน ซึ่งอาจเป็นแหล่งของกลูเตนได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนที่จะเริ่มรับประทานอาหารเสริมเพื่อให้แน่ใจว่ายานั้นไม่มีส่วนผสมของกลูเตน อาหารที่ไม่มีกลูเตนนั้นมักจะมีเส้นใยอาหารต่ำ ซึ่งจะทำให้ท้องผูก คุณสามารถรับประทานอาหารเสริมที่เป็นเส้นใยอาหารร่วมกับเม็ดแมงลักเพื่อช่วยลดอาการนี้ได้
ยาสำหรับรักษาโรคเซลิแอค
มีผู้ป่วยโรคนี้จำนวนน้อยที่พบว่าอาการของโรคไม่ดีขึ้นแม้จะรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนอย่างเคร่งครัด อาการอาจจะหายไปในช่วงแรกแต่จะกลับมาอีกครั้งแม้ว่าจะไม่ได้รับประทานกลูเตนเลยก็ตาม ยังไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมจึงเกิดภาวะนี้ ซึ่งแพทย์เรียกว่า การกลับเป็นซ้ำของโรคเซลิแอคได้ หากคุณมีภาวะนี้ แพทย์อาจให้การรักษาด้วยยากลุ่มสเตียรอยด์ เช่น Deltasone (prednisolone) โดยมักใช้ระยะสั้นเพื่อช่วยกดการทำงานของภูมิคุ้มกันและหยุดการทำลายที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน