กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Atherosclerosis (โรคหลอดเลือดแดงแข็ง)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

โรค Atherosclerosis (หลอดเลือดแดงแข็ง) จะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดหนาตัว หรือแข็งตัวขึ้น เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจชนิดร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease: CAD)

โรค Atherosclerosis จัดเป็นหนึ่งในรูปแบบของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Arteriosclerosis) ที่พบได้บ่อยที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรค Atherosclerosis เกิดจากอะไร

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก และจะมีอาการรุนแรงขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากขึ้น โดยโรค Atherosclerosis จะหมายถึงคนที่มีภาวะคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัว และแคลเซียมสูงจนทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือดแดง

นอกจากนี้ โรค Atherosclerosis อาจเกิดจากการทำลายผนังชั้นในของเส้นเลือดแดง ซึ่งเป็นบริเวณที่เริ่มมีการสะสมของสารต่างๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการทำลายของผนังชั้นใน ประกอบด้วย

บริเวณที่เกิดการสะสมของสารเหล่านี้อาจทำให้เส้นเลือดแดงแตกได้ และเมื่อมีการแตกเกิดขึ้นก็จะทำให้มีเกล็ดเลือดมาจับตัวกันที่บริเวณดังกล่าวจนทำให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งลิ่มเลือดเหล่านี้จะทำให้เส้นเลือดมีการตีบมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนและสารอาหารที่ไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกายลดลง 

โดยอาการของโรค Atherosclerosis จะขึ้นอยู่กับเส้นเลือดที่ได้รับผลกระทบ

โรคที่เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวในส่วนต่างๆ

  • อาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หัวใจขาดเลือด หรือเป็นอัมพาตจากเส้นเลือดในสมองอุดตันได้
  • หากเกิดที่หลอดเลือดบริเวณไตจะทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
  • หากเกิดที่เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงแขน หรือขา อาจเกิดปัญหาของการไหลเวียนเลือดของแขนและขา เรียกอาการดังกล่าวว่าโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Artery Disease)
  • สามารถทำให้เกิดหลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm) ในบริเวณที่ผนังหลอดเลือดแดงเปราะบางลงจนทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นโป่งเป็นกระเปาะ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและสามารถเกิดได้ทั่วร่างกาย ภาวะนี้มักไม่มีอาการใดๆ แต่หากหลอดเลือดเกิดการแตกออกอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรค Atherosclerosis

  • ระดับไขมันไม่ดีชนิดแอลดีแอล (Low Density Lipoprotein: LDL) สูง และ/หรือระดับไขมันดีชนิดเอชดีแอล (High Density Lipoprotein: HDL) ต่ำ
  • ความดันโลหิตสูง
  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และ/หรือเป็นโรคเบาหวาน
  • น้ำหนักเกินหรืออ้วน
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
  • ผู้ชายจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป
  • ความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นหากมีพ่อ หรือน้องชายที่เป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี หรือแม่หรือน้องสาวที่เป็นโรคหัวใจก่อน 65 ปี
  • ระดับโปรตีนซี-แอคทีฟ (C-reactive protein: CRP) ที่สูงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้

การตรวจวินิจฉัยโรค Atherosclerosis

การตรวจโรค Atherosclerosis สามารถทำได้โดยการเอกซเรย์ที่หลอดเลือด แต่การเอกซเรย์ทั่วไปนั้นจะไม่แสดงภาพของหลอดเลือดออกมาชัดเจนนัก ทำให้ต้องฉีดสีย้อมหลอดเลือดแบบพิเศษ (เรียกว่าสารทึบรังสี) เข้าไปในจุดที่ต้องการตรวจสอบ ซึ่งสีดังกล่าวจะไหลไปตามหลอดเลือด ณ จุดที่ฉีด ทำให้เห็นหลอดเลือดขึ้นมาบนฟิล์มเอกซเรย์อย่างชัดเจน

เรียกวิธีการตรวจนี้ว่า “การตรวจสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography: CAG)”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อดีของการตรวจสวนหัวใจคือ ช่วยให้แพทย์หาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงและเลือกแนวทางการรักษาได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

จุดประสงค์ของการตรวจสวนหัวใจ

  • ตรวจหาภาวะเลือดออกภายใน
  • ตรวจหาการอุดตันของเลือด
  • ตรวจสอบอาการบาดเจ็บของอวัยวะ
  • วางแผนการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด

ภาวะแทรกซ้อนของการวินิจฉัยหลอดเลือด

ภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรงหลังจากตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดมีดังนี้

  • มีเลือดไหลออกมาจากบริเวณแผลกรีดมาก
  • มีการติดเชื้อที่แผลกรีด ซึ่งจะรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ
  • มีปฏิกิริยาแพ้จากสารทึบรังสี ซึ่งควบคุมโดยการใช้ยาต้านอาการแพ้

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหลังจากตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด (พบได้น้อยมาก) มีดังนี้

  • เกิดลิ่มเลือด
  • ไตได้รับความเสียหาย
  • ภาวะหลอดเลือดสมอง
  • เส้นเลือดเสียหาย
  • เกิดปฏิกิริยาแพ้จากสารทึบรังสีรุนแรงจนถึงชีวิต

แนวทางการรักษาโรค Atherosclerosis

แนวทางการรักษาโรค Atherosclerosis ได้แก่ การใช้ยา การผ่าตัด การรักษาที่บ้าน และการรักษาทางเลือก

ยาที่ใช้รักษาโรค Atherosclerosis

มียาหลายตัวที่สามารถใช้ชะลอ หรือทำให้การดำเนินโรคกลับมาดีขึ้นได้ เช่น

  • กลุ่มยาสแตติน (Statins) และไฟเบรต (Fibrates) ช่วยลดปริมาณไขมันชนิดแอลดีแอล ซึ่งจะช่วยยับยั้งหรือทำให้ลดการสะสมไขมันในหลอดเลือด
  • ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน (Aspirin) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
  • ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง เช่น ยากลุ่มเบต้า-บล็อกเกอร์ (Beta-blockers) ยากลุ่มแองจิโอเทนซิน คอนเวิร์ทติง เอนไซม์ (Angiotensin converting enzyme) ช่วยลดการดำเนินโรคโดยการลดความดันโลหิต ขยายเส้นเลือด และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดซ้ำ
  • ยาขับปัสสาวะ เช่น โดปามีน (Dopamine) เป็นหนึ่งในยาที่ช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตต่ำได้
  • ยาละลายลิ่มเลือด สามารถสลายลิ่มเลือดที่อุดตันเส้นเลือดแดงได้
  • ยาต้านแคลเซียม (Calcium channel blockers) ช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด และใช้เป็นยารักษาอาการเจ็บหน้าอก

การผ่าตัดกับโรค Atherosclerosis

ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการของโรครุนแรง หรืออาการไม่ตอบสนองด้วยยา จะต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดที่ใช้รักษาโรคนี้ประกอบด้วย

  • การขยายหลอดเลือดแดงด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด (Angioplasty and Stent placement) แพทย์จะทำการใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดที่มีการตีบหรืออุดตัน และใส่สายเส้นที่สองที่มีบอลลูนอยู่ตรงปลายสายเข้าไป หลังจากนั้นจะทำการเป่าลูกบอลลูนนั้น ทำให้เกิดการถ่างผนังเส้นเลือดออก ก่อนจะทำการใส่ขดลวดถ่างขยาย (Stent) เข้าไปเพื่อให้เส้นเลือดคงการขยายไว้
  • การผ่าตัดเอาตะกรันที่พอกในหลอดเลือดออก (Endarterectomy) แพทย์จะทำการนำไขมันที่สะสมตามผนังเส้นเลือดออก
  • การผ่าตัดบายพาส (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) คือการที่แพทย์นำเส้นเลือดจากส่วนอื่นของร่างกาย หรือใช้เส้นเลือดเทียมมาใช้เป็นเส้นเลือดใหม่แทนเส้นเดิมที่มีการอุดตัน ทำให้เลือดสามารถผ่านเส้นเลือดที่มีการอุดตันหรือตีบนั้นไปได้

การรักษาที่บ้านและการรักษาทางเลือก

การรับประทานอาหารหรือสมุนไพรบางชนิดสามารถลดระดับไขมันชนิดแอลดีแอล และทำให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติได้ ซึ่งเป็น 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรค Atherosclerosis อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มรับประทานอาหารหรือสมุนไพรเสริมเหล่านี้ เนื่องจากอาจจะไม่ก่อให้เกิดผลใดๆ หรืออาจจะส่งผลต่อยาที่แพทย์ใช้ในการรักษาจนทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้

อาหารและสมุนไพรเหล่านี้ประกอบด้วย

  • กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha Linolenic Acid: ALA)
  • อาร์ติโชค
  • ข้าวบาร์เล่ย์
  • เบตาซิโตสเตอรอล (Beta-sitosterol) พบมากในถั่วเหลือง จมูกข้าวสาลี น้ำมันข้าวโพด
  • โกโก้
  • น้ำมันตับปลา
  • โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)
  • กระเทียมและหัวหอม
  • รำข้าวโอ๊ต
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3)
  • วิตามินซี
  • เปลือกมะนาว

การป้องกันโรค Atherosclerosis

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ และเป็นวิธีการรักษาลำดับแรกที่แนะนำในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ เช่น

  • ฝึกเทคนิคผ่อนคลายต่างๆ เช่น โยคะหรือการฝึกลมหายใจ จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น ส่งผลให้ความเครียดลดลง ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตได้ชั่วคราว
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้รับประทานถั่ว ธัญพืช ผัก ผลไม้ และน้ำมันพืช เช่น ทานตะวันหรือน้ำมันมะกอก
  • แนะนำให้รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่ถี่ขึ้น แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่
  • จำกัดปริมาณการรับประทานอาหารประเภทครีม เนยใส ไขมันสัตว์ และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน ซอส น้ำตาลทรายขาว อาหารแปรรูป กาแฟ เครื่องปรุงรส หรือของหมักดองเท่าที่จะสามารถทำได้
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำลายเส้นเลือดแดง และทำให้เส้นเลือดแดงเหล่านั้นหดตัว ทำให้การพยากรณ์ของโรคแย่ลง และมีความเกี่ยวข้องกับภาวะความดันโลหิตสูงอีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Janelle Martel, Atherosclerosis (https://www.healthline.com/health/atherosclerosis), May 31, 2019
Joseph Nordqvist, What to know about atherosclerosis (https://www.medicalnewstoday.com/articles/247837.php), December 13, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เบาหวานขึ้นตามีวิธีรักษาอย่างไรบ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไมหนูปวดเมื่อยตรงสะบักมักจะปวดหัวทุกที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ความดันสูงมีสิทธิ์หายขาดมั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนปวดมากๆเส้นเลือดในสมองจะแตกมั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการเวลาอากาศเย็นแล้วปวดขา ปวดนิ้วมือ เมื่อย เป็นเพราะอะไรครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)