ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?

ไขมันจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย แต่การรับประทานไขมันอิ่มตัวมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?

รู้หรือไม่ว่าทุกๆ 1% ที่รับประทานไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนแทนกรดไขมันมันอิ่มตัว จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจได้ 2-3% ปัจจุบันสาเหตุความพิการและการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนเราเกิดจากโรคหัวใจ แม้ว่าการรักษาโรคหัวใจสามารถทำได้ด้วยการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด การขยายหลอดเลือดด้วยการใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหรือใส่บอลลูน แต่นั้นเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ความเป็นจริงที่หลายๆคนลืมนึกไปคือโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้การจากลดหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ความเสี่ยงนั้นมีทั้งที่สามารถป้องกันได้และไม่สามารถป้องกันได้ ความเสี่ยงที่ป้องกันได้ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักตัว การออกกกำลังกายและควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ในเรื่องของการเลือกรับประทานอาหารก็มีความจำเป็นที่ต้องให้ความใส่ใจ อาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพหัวใจ ซึ่งประกอบด้วย

  • ลดการรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัว  (saturated fatty acid) โดยรับประทานให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานที่ใช้ต่อวัน
  • เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fatty acid)
  • บริโภคกรดไขมันทรานส์ (trans unsaturated fatty acid) ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้หรือไม่รับประทานเลย
  • บริโภคเกลือให้น้อยกว่า 5 กรัมต่อวัน
  • รับประทานไฟเบอร์ 30-45 มิลลิกรัม ผัก ผลไม้ มากกว่า 200 กรัมต่อวัน ปลา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ถั่ว 30 กรัม ต่อวัน
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีความหวาน
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ ในผู้ชายไม่เกิน 20 กรัมและผู้หญิงไม่เกิน 10 กรัม แอลกอฮอล์ต่อวัน การคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ (หน่วยเป็นกรัม) คำนวณด้วยการเอาปริมาณที่ดื่มเป็นมิลลิลิตร คูณด้วยดีกรีหาร 100 (เบียร์ 5% คิดเป็น 0.05) แล้วคูณด้วย 0.79 

กรดไขมันอิ่มตัวคืออะไร? 

เป็นไขมันที่มีโครงสร้างทางโมเลกุลที่มีอะตอมของไฮโดรเจนเกาะอยู่เต็มช่วย จับตัวเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง มีหน้าช่วยให้ความแข็งแรงแก่เนื้อเยื่อ อาหารอะไรบ้างที่มีส่วนประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ส่วนเนื้อขาวที่ติดอยู่ในเนื้อสัตว์
  • หนังสัตว์ปีก
  • ไข่แดง
  • น้ำมันหมู
  • นมไม่พร่องมันเนย
  • ผลิตภัณฑ์จากนม เช่นเนย
  • น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว

ถ้ารับประทานกรดไขมันอิ่มตัวเข้าไปจะเป็นอย่างไร? กรดไขมันชนิดนี้เป็นไขมันตัวร้าย จะทำให้ระดับ LDL สูงขึ้นแม้การศึกษายังไม่พบว่าการรับประทานไขมันชนิดนี้

กรดไขมันไม่อิ่มตัวพบได้ในไหนบ้าง? 

เป็นไขมันที่ยังมีตำแหน่งที่ไม่จับกับอะตอมของไฮโดรเจน ประกอบด้วย กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน ไขมันเหล่านี้อยู่ในรูปแบบของเหลวในอุณหภูมิห้อง อาหารที่มีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัว

  • น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน
  • น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันวอลนัท
  • Omega-3, Omega-6
  • ปลาแซลมอน ปลาแมกคาเรล ปลาซาดีน

ถ้ารับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของกรดไขมันอิ่มตัวไปนานๆ นอกจากจะเกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจแล้วยังทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคในระบบอื่นๆได้ดังนี้

ยังมีไขมันอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ไขมันทรานส์ (trans unsaturated fatty acid) ชื่อว่าเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวก็จริงแต่เนื่องจากไขมันกลุ่มนี้ถูกนำมาสังเคราะห์และเติมสารประกอบบางอย่างลงไปทำให้เกิดไขมันที่เก็บได้นาน ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ให้รสชาติดีและราคาถูก จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมากมายเช่น ใช้เป็นน้ำมันทอด เป็นส่วนประกอบของขนม ทำมาการีน ครีมเทียม อาหารฟาสฟูด


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินบำรุงสมอง ชะลอความเสื่อมและเพิ่มประสิทธิภาพสมอง
วิตามินบำรุงสมอง ชะลอความเสื่อมและเพิ่มประสิทธิภาพสมอง

แนะนำสารอาหารและวิตามินบำรุงสมอง พร้อมปริมาณที่ร่างกายควรรับได้แต่ละวัน เพื่อฟื้นฟื้นฟู สมอง ศูนย์ควบคุมใหญ่ของทั้งร่าง

อ่านเพิ่ม