ไขมันพอกตับ โรคร้ายที่ใครก็เป็นได้

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ไขมันพอกตับ โรคร้ายที่ใครก็เป็นได้

คนส่วนมากมักเข้าใจว่าโรคตับอักเสบนั้นเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ และการติดเชื้อไวรัสเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความบาดเจ็บเสียหายของเนื้อเยื่อตับในคนที่ไม่มีความเสี่ยงอื่นๆ เลยได้เช่นกัน นั่นก็คือ ภาวะไขมันพอกตับ นั่นเอง

ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease)

คือการที่เซลล์ตับมีไขมันแทรกตัวสะสมอยู่เกินกว่า 5-10% ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดตับอักเสบ เนื้อเยื่อตับกลายเป็นพังผืด และเป็นตับแข็งในที่สุด ซึ่งไขมันพอกตับอาจเกี่ยวข้องกับการดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ก็ได้ ภาวะไขมันพอกตับแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

  • ระยะที่ 1 มีไขมันเกาะอยู่ที่เนื้อตับ แต่ยังไม่เกิดการอักเสบ
  • ระยะที่ 2 เริ่มมีการอักเสบของตับ หากปล่อยไว้นานเกิน 6 เดือน จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังได้
  • ระยะที่ 3 การอักเสบรุนแรงขึ้น เซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้นและกลายเป็นพังผืด
  • ระยะที่ 4 เนื้อเยื่อตับถูกทำลายจนทำงานผิดปกติ กลายเป็นตับแข็ง และอาจเป็นมะเร็งตับได้

อาการของไขมันพอกตับ

ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการใดๆ จนกระทั่งเริ่มเกิดการอักเสบขึ้น จึงจะเริ่มแสดงอาการคล้ายกับผู้ป่วยโรคตับจากสาเหตุอื่นๆ เช่น

และหากการอักเสบรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรคตับที่เด่นชัด เช่น

สาเหตุของไขมันพอกตับ

เกิดจากการที่มีไขมันสะสมในร่างกายมาก และระบบเผาผลาญไขมันผิดปกติ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ได้แก่

  • การมีไขมันในเลือดสูง
  • การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
  • เป็นโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน
  • การลดน้ำหนักผิดวิธีโดยการอดอาหาร
  • มีความผิดปกติของลำไส้ในการดูดซึมอาหาร
  • เป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น Glucocorticoid และ Oestrogens
  • มีความผิดปกติอื่นๆ เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของไขมันพอกตับ

เช่นเดียวกับโรคตับจากสาเหตุอื่นๆ ภาวะไขมันพอกตับจะทำให้ตับทำงานผิดปกติ และส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายอื่นๆ เช่น มีอาการท้องมาน เนื่องจากของเหลวคั่งค้างในช่องท้อง เส้นเลือดดำในหลอดอาหารแตก ทำให้มีเลือดออกในทางเดินอาหาร มีอาการมึนงง สับสน และพูดไม่ชัด เนื่องจากตับไม่สามารถกำจัดสารบางอย่างได้ สารดังกล่าวจึงไปรบกวนการทำงานของสมอง และอาการตับอักเสบเรื้อรังก็อาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็งตับได้เช่นกัน

การรักษาไขมันพอกตับ

ภาวะไขมันพอกตับ มักรักษาด้วยการให้ยา ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

การให้ยา ยาและสารที่มักใช้บรรเทาอาการ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

- ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลิน โดยทั่วไปใช้สำหรับรักษาโรคเบาหวาน แต่ยาในกลุ่มนี้ก็สามารถลดระดับเอนไซม์ตับได้เช่นกัน โดยยาดังกล่าว ได้แก่ ไพโอกลิตาโซน และ เมทฟอร์มิน

- ยาลดไขมันในเลือด ยากลุ่ม Statin เป็นยาที่ใช้ควบคุมระดับไขมันในเลือด ซึ่งสามารถบรรเทาภาวะไขมันพอกตับในผู้ป่วยที่มีไขมันสูงได้

- สารสกัดจากสมุนไพร สารต้านอนุมูลอิสระกลุ่ม polyphenols และ flavonoids ที่สกัดได้จากพืชหลายชนิด เช่น ชาเขียว มีคุณสมบัติช่วยปกป้องเซลล์ตับไม่ให้ถูกทำลายจากสารพิษและไขมัน จึงสามารถยับยั้งและบรรเทาการอักเสบได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

- วิตามิน อี มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และปกป้องเซลล์ตับจากการอักเสบ แต่การรับวิตามิน อี มากเกินไปจนเกิดการสะสมในร่างกาย ก็อาจมีผลข้างเคียงที่อันตรายได้เช่นกัน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับ คือการมีไขมันในร่างกายสูง และการดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้น การออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร เพื่อลดระดับไขมันในเลือด และการงดดื่มแอลกอฮอล์ จึงเป็นวิธีที่ช่วยให้ภาวะไขมันพอกตับดีขึ้นได้

การป้องกันไขมันพอกตับ

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ และลดอาหารประเภทไขมัน เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังอย่างโรคอ้วน และโรคเบาหวาน และป้องกันไม่ให้ระดับไขมันในเลือดสูง 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก

33 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fatty liver disease: What it is and what to do about it. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/fatty-liver-disease-what-it-is-and-what-to-do-about-it-2019011015746)
Nonalcoholic fatty liver disease - Diagnosis and treatment. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/nonalcoholic-fatty-liver-disease/diagnosis-treatment/drc-20354573)
Acute liver failure caused by ‘fat burners’ and dietary supplements: A case report and literature review. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3076034/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป