กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Aortic Valve Stenosis (ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ความหมายของโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (Aortic Valve Stenosis) เป็นโรคทางหัวใจที่เกิดขึ้นบริเวณลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Aortic Valve) โดยสาเหตุของโรคนั้นเกิดจากลิ้นหัวใจเอออร์ติก ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนกลับของเลือดเข้ามาในหัวใจนั้นเปิดได้ไม่เต็มที่ จนส่งผลให้เส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta) ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่จะนำเลือดออกจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกายทำงานไม่สะดวก และทำให้หัวใจต้องทำงานหนักกว่าปกติ เพื่อสูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้เท่าเดิม 

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบสามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลา และโรคนี้มักเกิดในคนวัยผู้ใหญ่มากกว่าคนวัยอื่น แต่ก็สามารถพบความผิดปกติได้ตั้งแต่แรกเกิดเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความชุกของโรค

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบมักได้รับการวินิจฉัยในผู้ใหญ่ โดยมีผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปีประมาณ 2% ที่มีภาวะนี้ และพบว่าพบได้ในผู้ชายมากกว่าหญิง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ เกิดจากการเปิดของลิ้นหัวใจเอออร์ติกที่ตีบแคบลง ซึ่งสาเหตุของการตีบแคบนี้อาจเกิดจากผนังของลิ้นหัวใจที่การหนาตัวขึ้น หรือเมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้น ก็จะมีการสะสมของแคลเซียมตามรอยพับของลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดการทำลายลิ้นหัวใจ และจำกัดการไหลเวียนของเลือดเกิดขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ประกอบด้วย 2 ปัจจัยคือ

  • อายุ: โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • ความผิดปกติแต่กำเนิด: ลิ้นหัวใจเอออร์ติกที่ผิดปกติแต่กำเนิดสามารถทำให้เด็กเล็กป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

อาการและการวินิจฉัย

อาการของโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบประกอบด้วย

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยทำกิจกรรมทางร่างกาย และไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่เป็นโรคนี้แล้วจะต้องมีอาการให้เห็นชัดเจน แต่ถ้าหากคุณมีอาการดังกล่าวก็ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการให้แน่ใจ โดยแพทย์จะใช้วิธี "การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "การตรวจเอคโค่" เพื่อตรวจหาโรคนี้ การตรวจนี้เป็นการใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพการทำงานของหัวใจ ภาพนี้จะทำให้แพทย์เห็นว่าลิ้นหัวใจแต่ละส่วนทำงานได้ดีเพียงใด

การทดสอบอื่นๆ สำหรับภาวะนี้อาจประกอบด้วย

  • การสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography: CAG): แพทย์จะใส่ท่อเข้าทางเส้นเลือดที่แขน หรือขาเพื่อทำการประเมินหัวใจ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Elektrokardiogram หรือ Electrocardiogram: EKG หรือ ECG): เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าภายในหัวใจว่ามีการทำงานที่ปกติหรือไม่
  • เอกซเรย์ทรวงอก (Chest x-ray: CXR): การตรวจแบบนี้จะทำให้แพทย์เห็นขนาด และรูปร่างของหัวใจ

การรักษาภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

การรักษาโรคนี้จะขึ้นกับอาการ และความรุนแรงของโรค หากผู้ป่วยยังอยู่ในระยะอาการที่ไม่รุนแรง ก็อาจจะไม่ต้องเข้ารับการรักษา เพียงแต่แพทย์อาจนัดมาติดตามผลทางภาพวินิจฉัยเป็นระยะๆ เช่น การตรวจเอคโค่ เพื่อดูว่าอาการของโรคมีความรุนแรงขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากลิ้นหัวใจเอออร์ติกเกิดการตีบอย่างรุนแรง ก็อาจมีทางเลือกในการรักษาดังต่อไปนี้

  1. การใช้ยา: แพทย์อาจสั่งจ่ายยา เพื่อป้องความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเพิ่มขึ้น หรือทำให้โรคแย่ลง เช่น โรคความดันโลหิตสูง แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ยาไม่สามารถนำมาใช้รักษาเพื่อทดแทนการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกได้
  2. การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก: การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ที่อยู่ในระยะรุนแรง โดยมีทางเลือกในการเปลี่ยนลิ้นหัวใจได้ 2 วิธี
    1. การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก: แพทย์จะทำการลงมีดบริเวณกลางหน้าอก และแยกกระดูกหน้าอกออกเพื่อเข้าสู่เส้นเลือดแดงใหญ่ ก่อนที่จะนำลิ้นหัวใจเก่าออก และเย็บลิ้นหัวใจใหม่เข้าไปแทน ซึ่งลิ้นหัวใจใหม่นี้เป็นลิ้นหัวใจเทียมที่ทำจากวัสดุ เช่น ไทเทเนียม หรืออาจนำมาจากเนื้อเยื่อของมนุษย์ หรือสัตว์
    2. การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านการใช้สายสวน (Transcatheter Aortic Valve Replacement: TAVR หรือ Trans Catheter Aortic Valve Implantation: TAVI): แพทย์อาจแนะนำให้ทำการรักษาด้วยวิธีนี้ หากผู้ป่วยมีปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ที่ทำให้การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจมีความเสี่ยงมากเกินไป โดยแพทย์จะเปลี่ยนจากการผ่าตัดเป็นการเจาะรูเล็กๆ ในเส้นเลือดแดงบริเวณขาหนีบ และใส่สายสวนเข้าไป จากนั้นจะนำลิ้นหัวใจใหม่ให้เข้าไปแทนที่ลิ้นหัวใจเก่า หัตถการนี้ไม่ต้องมีการผ่าตัดบริเวณหน้าอก และไม่จำเป็นต้องใช้การดมยาสลบด้วย

การใช้ชีวิตเมื่อเป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ตาตีบ 

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ตาตีบจัดอยู่ในโรคประเภทหนึ่งของโรคเกี่ยวกับหัวใจ ดังนั้น การใช้ชีวิตเพื่อประคองอาการของโรครวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างจึงไม่แตกต่างไปจากผู้ป่วยโรคหัวใจอื่นๆ นัก เช่น

  • งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ให้ออกกำลังอย่างพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป และอย่าหักโหม
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม 
  • เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีน้ำตาล และไขมันสูง 
  • หมั่นไปตรวจสุขภาพหรือไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ
  • เมื่อเกิดอาการแน่นหน้าอก หรือความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที

20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Aortic Stenosis: Practice Essentials, Background, Pathophysiology. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/150638-overview)
What Is Aortic Stenosis?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/what-is-aortic-stenosis-4145315)
Aortic Valve Stenosis: Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/heart-disease/aortic-valve-stenosis#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม Pulmonary Hypertension จึงเกิดในผู้หญิงอายุ 21-40 ปีเป็นส่วนใหญ่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คลื่นหัวใจผิดปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายอาจหนากว่าปกติ เกิดจากอะไรครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากถามเรื่อง หัวใจเทียม ข้อ 1 แพทย์ไทยสามารถรักษาได่ไหมค่ะ ข้อ 2 ประเทศไทย สามารถผลิตเองได้ ไหมค่ะ เพราะของต่างชาติ ราคาแพงมากค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หัวใจโตเกิดจากอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เมื่อ50กว่าปีที่แล้ว คุณพ่อเคยผ่าซ่อมลิ้นหัวใจมาแล้ว ตอนนี้มีอาการเหนื่อยร่างกายขับน้ำไม่ได้ ไม่ทราบว่าสามารถเปลี่ยนลิ้นหัวใจได้ไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)