แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุสำคัญอีกอย่างของร่างกาย โดยเฉพาะต่อระบบกระดูก และฟัน รวมไปถึงระบบหัวใจ ระบบประสาท
คุณสามารับประทานแคลเซียมได้ผ่านการรับประทานอาหารประเภทนม ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม เต้าหู้ ผลไม้รสเปรี้ยว เกลือแร่ ปลากระป๋องมีก้าง หรือน้ำแร่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อีกทั้งในปัจจุบันได้มีการรับประทานแคลเซียมในรูปแบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกันมากขึ้นเพื่อรักษาแคลเซียมในร่างกายให้มีปริมาณเพียงพอ รวมถึงป้องกันภาวะแคลเซียมต่ำซึ่งสามารถส่งผลต่อทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับกระดูกได้ เช่น
- โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
- ภาวะที่กระดูกอ่อนแอเนื่องจากความหนาแน่นต่ำ
- โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets)
- โรคกระดูกน่วม (Osteomalacia)
นอกจากนี้ แคลเซียมยังช่วยบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome: PMS) ภาวะตะคริวขึ้นขาระหว่างตั้งครรภ์ (Leg cramps during pregnancy) ความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์ (Pre-eclampsia) ด้วย
และแคลเซียมยังสามารถลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก บรรเทาภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดบายพาสลำไส้ ความดันโลหิตสูง ภาวะคอเลสเตอรอลสูง โรคไลม์ (Lyme) ได้
การทำงานของแคลเซียม
กระดูก และฟันของร่างกายคนเรามีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบมากกว่า 99% อีกทั้งเราสามารถพบแคลเซียมในเลือด กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่างๆ ได้อีก
แคลเซียมในกระดูกเป็นแหล่งพลังงานสำรองที่ร่างกายสามารถดึงไปใช้ได้ และเมื่อคนเราแก่ตัวลง ความเข้มข้นของแคลเซียมก็มักจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น เนื่องจากร่างกายขับออกมาในรูปของเหงื่อ เซลล์ผิวหนัง และของเสีย
โดยเฉพาะในเพศหญิง การดูดซึมแคลเซียมของร่างกายจะค่อยๆ น้อยลงเนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโทรเจน (Estrogen) น้อยลง แต่ทั้งนี้การดูดซึมแคลเซียมจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ เพศ และอายุของแต่ละบุคคล
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ด้วยเหตุที่กระดูกมีการเสื่อมสลาย และสร้างใหม่ตลอดเวลา โดยใช้แคลเซียมเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการนี้ การรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติมจึงเป็นตัวช่วยที่น่าพิจารณา
แคลเซียมกับการรักษาอาการต่างๆ
การรับประทานแคลเซียมในรูปของอาหารเสริม สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
- อาหารไม่ย่อย (Indigestion) การรับประทานแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) เป็นยาลดกรด สามารถช่วยรักษาภาวะอาหารไม่ย่อยได้
- ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) การฉีดแคลเซียมกลูโคเนต (Calcium gluconate) เข้าเส้นเลือด สามารถแก้ไขภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงได้
- ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) การรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้สามารถรักษาและป้องกันภาวะระดับแคลเซียมในเลือดต่ำได้
- ไตล้มเหลว การรับประทานแคลเซียมคาร์บอเนตหรือแคลเซียมอะซิเทตช่วยควบคุมระดับฟอสเฟตในเลือดของผู้ป่วยโรคไตวายได้ดี แต่แคลเซียมซิเทรต (Calcium citrate) จะใช้รักษาไม่ได้
- โรคกระดูกพรุนจากยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Glucocorticoid-induced osteoporosis) การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมร่วมกับวิตามินดี (Vitamin D) อาจช่วยลดการสูญเสียแร่ธาตุในกระดูกของผู้ที่กำลังใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในระยะยาวได้
- ความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์ (Hyperparathyroidism) อาหารเสริมแคลเซียมสามารถช่วยจะลดระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid hormone) ของผู้ป่วยไตวายที่มีระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงเกินไปได้
- กระดูกพรุน (Osteoporosis) อาหารเสริมแคลเซียมสามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก และรักษาภาวะกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเจริญเติบโตของกระดูกส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น ซึ่งหลังจากนั้นความแข็งแรงของกระดูกผู้หญิงจะคงอยู่เช่นนั้นจนถึงอายุ 30-40 ปี
หลังจากช่วงวัยนี้แล้ว กระดูกจะค่อยๆ สูญเสียมวลออกไปในอัตราเร็วที่ 0.5-1 % ต่อปี สำหรับผู้ชาย การสูญเสียมวลกระดูกนี้จะเกิดขึ้นหลังจากช่วงวัยดังกล่าวหลาย 10 ปี และการสูญเสียมวลกระดูกเช่นนี้จะมีมากในผู้ที่รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย - อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome (PMS)) พบว่า การบริโภคอาหารเสริมชนิดนี้ทุกวันจะช่วยลดการเกิดอารมณ์แปรปรวน ท้องอืด อยากอาหาร และความเจ็บปวด อีกทั้งการเพิ่มปริมาณแคลเซียมในอาหารยังช่วยป้องกันการเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้
- การเพิ่มขึ้นของกระดูกตัวอ่อน สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับแคลเซียมจากอาหารน้อยควรรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมเพิ่มเติม เพื่อช่วยเพิ่มความหนาแน่นของแร่ธาตุของตัวอ่อนในครรภ์
- ฟลูออร์ไรด์เป็นพิษ (Fluoride poisoning) การรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้ร่วมกับวิตามินดีกับวิตามินซี (Vitamin C) อาจช่วยลดระดับฟลูออไรด์ในเด็ก และลดอาการจากภาวะฟลูออไรด์เป็นพิษได้
- ความดันโลหิตสูง การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมอาจช่วยลดความดันโลหิตได้เล็กน้อย และแคลเซียมยังออกฤทธิ์ได้ดีในกลุ่มผู้ที่อ่อนไหวต่อเกลือ รวมถึงผู้ที่มักได้รับแคลเซียมน้อย อีกทั้งการรับประทานแคลเซียมยังเหมือนจะช่วยลดระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคไตร้ายแรงได้อีกด้วย
- ความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์ (Pre-eclampsia) การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียม 1-2 กรัม/วัน อาจช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูงที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ได้ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงของหญิงตั้งครรภ์ได้ 50%
- การสูญเสียฟัน การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียม และวิตามินดีสามารถช่วยป้องกันการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุได้
ข้อควรรู้ก่อนรับประทานแคลเซียม
แคลเซียมค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมากเมื่อต้องรับประทาน หรือให้ทางเส้นเลือดในปริมาณที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบ้างเล็กน้อย เช่น เรอ หรือเกิดแก๊สในร่างกาย
สำหรับคนทั่วไป การรับแคลเซียมในแต่ละวันมีปริมาณที่ต้องคำนึงตามเพศ และช่วงอายุ เนื่องจากร่างกายคนเรามีแคลเซียม 1-2 % ของน้ำหนักตัวอยู่แล้ว ดังนั้นจึงควรศึกษาก่อนบริโภคในแต่ละวัน (Recommended Dietary Allowances: RDA) ดังตารางต่อไปนี้
ตารางแสดงปริมาณความต้องการแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวัน (หน่วยเป็นมิลลิกรัม)
อายุ | ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวันในเพศชาย (มิลลิกรัม) | ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวันในเพศหญิง (มิลลิกรัม) |
---|---|---|
1-3 ปี | 700 | 700 |
4-8 ปี | 1,000 | 1,000 |
9-13 ปี | 1,300 | 1,300 |
14-18 ปี | 1,300 | 1,300 |
19-50 ปี | 1,000 | 1,000 |
51-70 ปี | 1,000 | 1,200 |
71 ปีขึ้นไป | 1,200 | 1,200 |
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยควรระวังปริมาณการใช้ เพราะปริมาณที่สูงเกินอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงได้ โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่กำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้
คำเตือน และข้อควรระวังเป็นพิเศษในการใช้แคลเซียม
บุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยง หรือมีภาวะความผิดปกติ ซึ่งควรระมัดระวัง หรือหลีกเลี่ยงการรับประทานแคลเซียม มีดังนี้
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- สตรีมีครรภ์ และแม่ที่ต้องให้นมบุตร แคลเซียมค่อนข้างปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมทั้งในกลุ่มสตรีมีครรภ์ และแม่ให้นมบุตร แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเรื่องความปลอดภัยของการให้แคลเซียมทางเส้นเลือดของคนทั้ง 2 กลุ่มนี้
- ผู้มีระดับกรดในกระเพาะต่ำ (Achlorhydria) ผู้ที่มีระดับน้ำย่อยต่ำจะดูดซึมแคลเซียมน้อยลงเมื่อมีแคลเซียมเข้าไปในกระเพาะที่กำลังว่างอยู่ อย่างไรก็ตาม ระดับกรดที่ต่ำในกระเพาะอาหารไม่ได้ลดการดูดซึมแคลเซียมที่มากับอาหารแต่อย่างใด
คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำย่อย คือ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมร่วมกับอาหาร - ผู้มีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง (Hyperphosphatemia) หรือระดับฟอสเฟตในเลือดต่ำ (Hypophosphatemia) แคลเซียมกับฟอสเฟตต้องคงอยู่ในร่างกายอย่างสมดุลกัน การรับประทานแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้สมดุลนี้เสีย และสร้างอันตรายขึ้นมา
ดังนั้นห้ามรับประทานแคลเซียมเพิ่มเติมจากที่ผู้ดูแลสุขภาพของคุณแนะนำ - ผู้มีต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกิน (Hypothyroidism) แคลเซียมจะรบกวนการรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนไทรอยด์ ดังนั้นควรแยกการใช้ยาแคลเซียมกับยาไทรอยด์ออกจากกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- ผู้มีความสามารถในการทำงานไตต่ำกว่าปกติ กลุ่มผู้ที่อยู่ในภาวะไตทำงานไม่สมบูรณที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีแคลเซียมในเลือดมากเกินไปได้
- ผู้สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมจากกระเพาะอาหารน้อยลง
การใช้แคลเซียมร่วมกับยาชนิดอื่น
ควรระมัดระวังในการใช้แคลเซียมร่วมกับยาเหล่านี้
1. ยาปฏิชีวนะควิโนโลน (Quinolone antibiotics)
แคลเซียมอาจลดการดูดซึมยาปฏิชีวนะของร่างกาย การรับประทานแคลเซียมร่วมกับยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะนั้น เพื่อเลี่ยงการตีกันของยาเช่นนี้ คุณควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมหลังการรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
ตัวอย่างยาปฏิชีวนะที่อาจตีกับแคลเซียม ได้แก่ Ciprofloxacin (Cipro), Enoxacin (Penetrex), Norfloxacin (Chibroxin, Noroxin), Sparfloxacin (Zagam) และ Trovafloxacin (Trovan)
2. ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลิน (Tetracycline antibiotics)
แคลเซียมอาจเกาะติดกับยาปฏิชีวนะเตตราไซคลินในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะลดปริมาณการดูดซึมเตตระไซคลินของร่างกาย เพื่อเลี่ยงการตีกันเช่นนี้ ควรรับประทานแคลเซียม 2 ชั่วโมงก่อน หรือ 4 ชั่วโมงหลังใช้ยาเตตราไซคลิน โดยยาเตตราไซคลินที่อาจตีกับแคลเซียม คือ
- Demeclocycline (Declomycin)
- Minocycline (Minocin)
- Tetracycline (Achromycin)
3. ยาแคลซิโปทรีน (Calcipotriene (Dovonex))
ยาแคลซิโปทรีน คือ ยาที่คล้ายกับวิตามินดี โดยวิตามินดีจะช่วยให้ร่างกายคุณดูดซับแคลเซียมดีขึ้น ซึ่งการกินอาหารเสริมแคลเซียมร่วมกับยาแคลซิโปทรีนอาจทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมมากเกินไป
4. ยาไดจอกซิน (Digoxin (Lanoxin))
แคลเซียมสามารถส่งผลต่อการทำงานของหัวใจคุณได้ โดยยาไดจอกซินใช้เพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจให้แรงขึ้น
การกินแคลเซียมร่วมกับยาไดจอกซินอาจเพิ่มผลจากยา ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หากคุณกำลังใช้ยาไดจอกซินอยู่ ควรแจ้งแพทย์ก่อนรับอาหารเสริมแคลเซียมทุกครั้ง
5. ยาดิลไทอะเซม (Diltiazem (Cardizem, Dilacor, Tiazac))
แคลเซียมส่งผลต่อหัวใจของคุณ ยาดิลไทอะเซมก็ส่งผลต่อหัวใจเช่นกัน การกินแคลเซียมปริมาณมากร่วมกับยาดิลไทอะเซม อาจลดประสิทธิภาพของยาดิลไทอะเซมได้
6. ยาเลโวไทรอกซีน (Levothyroxine)
ยาเลโวไทรอกซีนใช้เพื่อลดการทำงานของไทรอยด์ แคลเซียมจะลดปริมาณยาเลโวไทรอกซีนที่ร่างกายควรจะดูดซึม ซึ่งการกินแคลเซียมร่วมกับยาเลโวไทรอกซีนจะทำให้ผลจากยาลดลง
ดังนั้น คุณควรใช้ยาเลโวไทรอกซีนห่างจากแคลเซียมอย่างน้อย 4 ชั่วโมง โดยยาที่มีส่วนประกอบของยาเลโวไทรอกซีน คือ Armour Thyroid, Eltroxin, Estre, Euthyrox, Levo-T, Levothroid, Levoxyl, Synthroid, Unithroid และอื่นๆ
7. ยาเวอราปามิล (Verapamil (Calan, Covera, Isoptin, Verelan))
แคลเซียมส่งผลต่อหัวใจของคุณเช่นเดียวกับยาเวอราปามิล หากคุณกำลังใช้ยาเวอราปามิล ห้ามกินแคลเซียมในปริมาณมากเด็ดขาด
8. ยาขับปัสสาวะกลุ่มไธอะไซด์ไดยูเรติก (Thiazide diuretics)
ยาขับน้ำบางชนิดจะเพิ่มปริมาณแคลเซียมในร่างกายขึ้น การรับประทานแคลเซียมร่วมกับยาขับน้ำอาจทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงได้ เช่น ปัญหาที่ไต
ตัวอย่างยาขับน้ำกลุ่มไธอะไซด์ไดยูเรติก ได้แก่ Chlorothiazide (Diuril), Hydrochlorothiazide (HydroDIURIL, Esidrix), Indapamide (Lozol), Metolazone (Zaroxolyn) และ Chlorthalidone (Hygroton)
9. เอสโทรเจน (Estrogens)
เอสโทรเจนจะช่วยให้ร่างกายคุณดูดซับแคลเซียม ซึ่งการกินยาเอสโทรเจนพร้อมกับแคลเซียมปริมาณมากจะทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมมากจนเกินไป ยาเม็ดเอสโทรเจน ได้แก่ Conjugated equine estrogens (Premarin), Ethinylestradiol, Estradiol และอื่นๆ
10. ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง (Calcium channel blockers)
ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบางตัวส่งผลต่อแคลเซียมในร่างกาย โดยยาเหล่านี้เรียกว่ายากลุ่มต้านแคลเซียม (Calcium channel blockers) ซึ่งอาจลดประสิทธิภาพของยาความดันโลหิตสูง
ตัวอย่างยากลุ่มนี้มีทั้ง Nifedipine (Adalat, Procardia), Verapamil (Calan, Isoptin, Verelan), Diltiazem (Cardizem), Isradipine (DynaCirc), Felodipine (Plendil), Amlodipine (Norvasc) และอื่นๆ
ยาที่ห้ามให้ร่วมกับแคลเซียมเด็ดขาด
ห้ามใช้แคลเซียมร่วมกับยาเซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone (Rocephin)) การให้ยาเซฟไตรอะโซนกับแคลเซียมเข้าเส้นเลือดจะส่งผลร้ายแรงถึงชีวิต โดยมีผลต่อปอดและไต ไม่ควรให้แคลเซียมทางกระแสเลือดภายใน 48 ชั่วโมงของการให้ยาเซฟไตรอะโซน
ปริมาณแคลเซียมที่ควรใช้
แคลเซียมคาร์โบเนตและแคลเซียมซิเทรตเป็นรูปแบบของแคลเซียมที่นิยมใช้กันมากที่สุด ทั้งนี้ อาหารเสริมแคลเซียมมักจะแบ่งปริมาณยาออกเป็น 2 ครั้งต่อวัน เพื่อเพิ่มกระบวนการดูดซึม
วิธีที่ดีที่สุดในการรับประทานแคลเซียม คือ การรับประทานแคลเซียมร่วมกับอาหารในปริมาณที่ 500 มิลลิกรัม หรือน้อยกว่านั้น และยังมีกรณีของผู้มีภาวะทางร่างกายอื่นๆ ที่ควรระมัดระวังในการบริโภคดังนี้
- เพื่อป้องกันระดับแคลเซียมต่ำ ใช้แคลเซียม 1 กรัมทุกวัน
- เพื่อลดฟอสเฟตของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic renal failure) แคลเซียมอะซิเทต โดสแรกคือ 1.334 กรัม (แคลเซียม 338 มิลลิกรัม) ในแต่ละมื้อ จากนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 2-2.67 กรัม (แคลเซียม 500-680 มิลลิกรัม) ในแต่ละมื้อตามความจำเป็น
- เพื่อป้องกันกระดูกอ่อนแอ (กระดูกพรุน) ใช้แคลเซียม 1-1.6 กรัมทุกวัน ทั้งจากอาหารและอาหารเสริม
- สำหรับสตรีมีครรภ์ที่มีการบริโภคแคลเซียมต่ำ ปริมาณที่มีเพื่อการสร้างความหนาแน่นของมวลกระดูกของตัวอ่อนมีระยะตั้งแต่ 300-1,300 มิลลิกรัม/วัน เริ่มจากที่อายุครรภ์ 20-22 สัปดาห์
- สำหรับอาการก่อนประจำเดือน (PMS) แคลเซียมคาร์โบเนต 1-1.2 กรัม ต่อวัน
- เพื่อป้องกันการสูญเสียกระดูกในกลุ่มผู้ที่กำลังใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ แบ่งปริมาณยาของแคลเซียมต่อวันเป็น 1 กรัม
- สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แคลเซียมต่อวัน 1-1.5 กรัม
- เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์ ใช้แคลเซียมทุกวัน เป็นแคลเซียมคาร์โบเนต 1-2 กรัม
- เพื่อป้องกันกันมะเร็งลำไส้และทวารหนักกับเนื้องอกซ้ำซากที่ลำไส้และทวารหนัก (adenomas) แคลเซียม 1,200-1,600 มิลลิกรัม/วัน
- เพื่อป้องกันภาวะฟลูออไรด์เป็นพิษในเด็ก แคลเซียม 125 มิลลิกรัม 2 ครั้ง/วัน ร่วมกับกรดแอสคอบิค (Ascorbic acid) และวิตามินดี
การรับประทานแคลเซียมมีข้อควรระวังในการรับประทานหลายอย่าง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย หญิงตั้งครรภ์ หรือในนมบุตร ทางที่ดี หากคุณต้องการรับแคลเซียมในรูปอาหารเสริม ให้คุณปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณการรับประทานที่เหมาะสมเสียก่อน
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจกระดูก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android