แมคนีเซียมช่วยให้เรานอนหลับได้ดีและนานขึ้นอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แมคนีเซียมช่วยให้เรานอนหลับได้ดีและนานขึ้นอย่างไร?

มีชาวอเมริกันประมาณ 50-70 ล้านคนที่เผชิญกับโรคที่เกี่ยวกับการนอนเรื้อรัง ซึ่งมีผู้ใหญ่ชาวอเมริกันประมาณ 7-19% รายงานว่า ตัวเองไม่สามารถนอนได้อย่างเพียงพอในแต่ละวัน และโชคร้ายที่การนอนน้อยสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคอ้วน อีกทั้งยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และมีแนวโน้มที่จะทำผิดพลาดในขณะทำงานมากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรเริ่มทำอะไรสักอย่าง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ซึ่งประกอบไปด้วยการทานอาหารและสารอาหารให้เหมาะสมถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำควบคู่กับการนอน ซึ่งแร่ธาตุที่สามารถช่วยให้เรานอนหลับดีขึ้นก็คือ แมคนีเซียม เราลองมาดูกันดีกว่าว่าแร่ธาตุชนิดนี้มีบทบาทต่อการนอนของเราอย่างไรบ้าง

1ป้องกันการเกิดโรคขาอยู่ไม่สุข

แมคนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต้องใช้ในปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกายประมาณ 300 ปฏิกิริยา แต่หนึ่งในหน้าที่สำคัญที่เชื่อมโยงกับปัญหาการนอนโดยตรงคือ การทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานตามปกติ ดังนั้นมันจึงช่วยป้องกันปัญหาอย่างการเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อและโรคขาอยู่ไม่สุข ที่ล้วนแต่ไปรบกวนการนอนของเรา จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจว่าทำไมโรคขาอยู่ไม่สุขถึงมีความเชื่อมโยงกับการมีแมคนีเซียมในร่างกายต่ำ ซึ่งการทานแร่ธาตุชนิดนี้ทั้งในรูปแบบของอาหารและอาหารเสริมให้มากขึ้นมักช่วยรักษาปัญหาดังกล่าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. เพิ่มชั่วโมงการนอนและประสิทธิภาพการนอน

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การทานแมคนีเซียมแบบอาหารเสริมในผู้สูงอายุสามารถช่วยให้ตัวแปรของโรคนอนไม่หลับเป็นไปในทางที่ดีขึ้น เช่น ช่วงเริ่มต้นของการนอน ชั่วโมงการนอน และประสิทธิภาพของการนอน รวมถึงยังมีระดับของเมลาโทนิน และคอร์ติซอลดีขึ้นเช่นกัน ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลต่อการนอน

3. ลดการตื่นนอนที่เกิดจากโรคขากระตุกขณะหลับ

มีอีกงานวิจัยพบว่า การทานแมคนีเซียมสามารถช่วยลดการตื่นตัวที่เกิดจากโรคขากระตุกขณะหลับ และช่วยให้การนอนของผู้เข้าร่วมทดลองที่การนอนถูกรบกวนจากโรคดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัญหาที่เกี่ยวกับการนอนของคุณเกิดจากการขาดแมคนีเซียมหรือไม่?

สำหรับสัญญาณของการขาดธาตุแมคนีเซียมมีดังนี้

  • การเป็นโรคนอนไม่หลับ
  • กล้ามเนื้อกระตุก หรือโรคขาอยู่ไม่สุข ซึ่งสามารถไปรบกวนการนอนของคุณ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย สับสน หรือหงุดหงิดมากขึ้น
  • มีความจำ หรือความสามารถในการเรียนรู้ที่แย่ลง
  • การเป็นโรคนอนไม่หลับ

คุณมีความเสี่ยงที่จะขาดธาตุแมคนีเซียมหรือไม่?

มีคนบางจำพวกที่เสี่ยงต่อการขาดธาตุแมคนีเซียมมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคตับอ่อนอักเสบ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคไต หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอย่างโรคลำไส้แปรปรวน อย่างไรก็ดี อาหารที่มีเกลือสูง หรือเครื่องดื่มอย่างแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม หรือกาแฟ  ก็สามารถทำให้ร่างกายขาดแมคนีเซียมเช่นกัน นอกจากนี้หากคุณทานยาขับปัสสาวะ มีประจำเดือนมากกว่าปกติ เครียดต่อเนื่อง หรือมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ คุณอาจต้องระวังภาวะดังกล่าวเช่นกัน หากคุณมีอาการเข้าข่ายตามที่เรากล่าวไป ให้คุณพยายามหาทางเพิ่มแมคนีเซียมให้ร่างกาย

ปริมาณของแมคนีเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวัน

สำหรับปริมาณของธาตุแมคนีเซียมที่ผู้ชายและผู้หญิงควรได้รับต่อวันคือ 400-420 มิลลิกรัม และ 310-320 มิลลิกรัม ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การทานแมคนีเซียมแบบอาหารเสริมก็ดูเหมือนเป็นทางออกที่ง่าย แต่มันก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยทำให้มีอาการคลื่นไส้ ปวดท้องเกร็ง และท้องเสีย หากทานแมคนีเซียมปริมาณมาก มันก็สามารถทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือทำให้หัวใจหยุดเต้น ทั้งนี้คุณควรจำกัดปริมาณการทานแมคนีเซียมแบบอาหารเสริมไม่ให้เกินวันละ 350 มิลลิกรัม

อาหารชนิดใดที่มีแมคนีเซียมสูง?

การทานอาหารที่มีแมคนีเซียมถือเป็นหนทางที่ปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียง ซึ่งมีอาหารหลายชนิดที่มีธาตุดังกล่าว แต่ประเด็นสำคัญคือ การทานผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่ ธัญพืชเต็มเมล็ด และถั่ว รวมถึงหลีกเลี่ยงการทานอาหารแปรรูปหรือผ่านการขัดสี สำหรับตัวอย่างของอาหารที่มีธาตุแมคนีเซียมมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ผลไม้สดอย่างอะโวคาโดหรือกล้วย – อะโวคาโดหั่นป็นลูกเต๋า 1 ถ้วย มีแมคนีเซียม 44 มิลลิกรัม และกล้วยขนาดใหญ่ 1 ลูก มีแมคนีเซียม 37 มิลลิกรัม
  • ผักสดโดยเฉพาะผักสีเขียว – ผักโขมต้ม 1 ถ้วย มีแมคนีเซียมประมาณ 156 มิลลิกรัม
  • ถั่วมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ และถั่วชนิดอื่นๆ – อัลมอนด์ 0.5 ออนซ์ มีแมคนีเซียมประมาณ 80 มิลลิกรัม
  • มิลเลท ข้าวกล้อง ธัญพืชเต็มเมล็ด และซีเรียลแบบ Fortified – ขนมปังโฮลวีท 2 แผ่น มีแมคนีเซียมประมาณ 46 มิลลิกรัม ในขณะที่ข้าวกล้อง 0.5 ถ้วย มีแมคนีเซียมประมาณ 42 มิลลิกรัม
  • ถั่ว เมล็ดพันธุ์ – ถั่วดำ 0.5 ถ้วย มีแมคนีเซียมประมาณ 60 มิลลิกรัม
  • นมและโยเกิร์ต – โยเกิร์ตสูตรไขมันต่ำ 8 ออนซ์ มีแมคนีเซียมประมาณ 42 มิลลิกรัม
  • ถั่วเหลือง เต้าหู้ แป้งถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองอื่นๆ – นมถั่วเหลือง 1 ถ้วย มีแมคนีเซียมประมาณ 61 มิลลิกรัม

ที่มา: https://www.curejoy.com/conten...

 

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Magnesium Intake and Sleep Disorder Symptoms: Findings from the Jiangsu Nutrition Study of Chinese Adults at Five-Year Follow-Up. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6212970/)
What You Need to Know About Magnesium and Your Sleep. Psychology Today. (https://www.psychologytoday.com/us/blog/sleep-newzzz/201805/what-you-need-know-about-magnesium-and-your-sleep)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
น้ำเต้าหู้ ประโยชน์และโทษ วิธีทำ และวิธีการเลือกซื้อ
น้ำเต้าหู้ ประโยชน์และโทษ วิธีทำ และวิธีการเลือกซื้อ

น้ำเต้าหู้ เครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยโปรตีน ซึ่งจะมีประโยชน์ หรือมีโทษอะไรบ้างนั้น รวมถึงมีวิธีการทำและการเลือกซื้ออย่างไร ติดตามในบทความนี้ได้เลย

อ่านเพิ่ม