กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

วิตามินบี 12 (Vitamin B12)

เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ด้วยตนเอง แต่ต้องรับประทานผ่านอาหาร หรือวิตามินเสริมเท่านั้น
  • หากร่างกายขาดวิตามินบี 12 จะมีอาการอ่อนแรง ปวดหัว อาเจียน เบื่ออาหาร กระบวนการคิดไม่เหมือนเดิม หรือที่เรียกได้อีกอย่างว่า “ภาวะเพอร์นิเซียสแอมีเมีย”
  • กลุ่มผู้ที่เสี่ยงขาดวิตามินบี 12 คือ ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ และผู้ที่ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดความอ้วน
  • วิตามินบี 12 ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา และนิยมรับประทานมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ ไซยาโนโคบาลามิน เมทิลโคบาลามิน ไฮดรอกโซโคบาลามิน ซึ่งบางชนิดต้องสั่งด้วยใบสั่งแพทย์เท่านั้น
  • หญิงตั้งครรภ์ต้องระมัดระวังในการรับประทานวิตามินบี 12 เพราะในน้ำนมแม่ก็สามารถพบวิตามินบี 12 ได้ หากทารกดื่มนมแม่ที่รับประทานวิตามินบี 12 เสริมด้วย ก็อาจเสี่ยงได้รับวิตามินเกินจำเป็น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวิตามินเสริม รับวิตามินบำรุง

วิตามินบี 12 หรือ "โคบาลามิน (Cobalamin)" เป็นหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีรวม (Vitamin B Complex) จัดอยู่ในวิตามินประเภทวิตามินที่ละลายในน้ำได้ อีกทั้งเป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ด้วยตัวเอง จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินบี 12 ผ่านอาหาร และอาหารเสริม

 วิตามินบี 12 นั้นจำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง และระบบประสาท 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ วิตามินบี 12 ยังถูกใช้ร่วมกับวิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิค (Folic acid) เพื่อเป็นอาหารเสริมเพื่อรักษาโรคโลหิตจางบางประเภท เพราะมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการขาดวิตามินบี 12 กับโรคที่เกี่ยวข้อง

เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี 12 จะทำให้รู้สึกอ่อนแรง ปวดศีรษะ อาเจียน และส่งผลต่อกระบวนการความคิด เรียกภาวะนี้ว่า “เพอร์นิเซียสแอนีเมีย” (Pernicious anemia) เป็นโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรงที่มีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินบี 12 นั่นเอง

อาการแสดงอื่นๆ ของโรคนี้ ได้แก่ อาการชา หรือเสียวแปลบบริเวณนิ้วมือ และนิ้วเท้า เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มือเท้าเย็น ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนจะแสดงอาการแตกต่างกัน

เมื่อสงสัยว่าร่างกายกำลังขาดวิตามินบี 12 ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจระดับวิตามินบี 12 ในเลือดว่าอยู่ในระดับต่ำหรือไม่

กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี 12

ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติจะมีความเสี่ยงสูงในการขาดวิตามินบี 12 เพราะวิตามินบี 12 พบได้ในเนื้อสัตว์เท่านั้น และจะมีปัญหาในเรื่องการดูดซึมวิตามินต่างๆ เมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ที่มีการผ่าตัดตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดความอ้วน ก็เป็นอีกกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี 12 ได้ เนื่องจากการดูดซึมวิตามินบี 12 ต้องอาศัยอินทรินสิกแฟกเตอร์ (Intrinsic factor) ซึ่งเป็นเพปไทด์ (Peptide) ที่หลั่งมาจากกระเพาะอาหารเท่านั้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การผ่าตัดดังกล่าวส่งผลให้ร่างกายผลิตอินทรินสิกแฟกเตอร์ได้น้อยลง จึงทำให้ดูดซึมวิตามินบี 12 จากอาหารได้น้อยลงตามไปด้วย

แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 12

วิตามินบี 12 พบได้เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู ปลาทะเล หอยลาย เนยแข็ง ชีส ไข่ ตับ และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต

ชนิดของวิตามินบี 12 ที่สังเคราะห์ขึ้นเอง

วิตามินบี 12 บางชนิดเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่บางชนิดนั้นถูกสังเคราะห์ในห้องทดลอง โดยวิตามินบี 12 ที่สังเคราะห์ขึ้นเองจากมนุษย์ที่นิยมใช้มี 3 ชนิด ได้แก่ ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin) เมทิลโคบาลามิน (Methylcobalamin) และไฮดรอกโซโคบาลามิน (Hydroxocobalamin)

  • ไซยาโนโคบาลามิน หากต้องการซื้อในขนาดยาที่ต่ำ ก็สามารถซื้อได้เองโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ แต่ถ้าหากต้องการซื้อในขนาดยาที่สูง จำเป็นต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ซึ่งมีให้เลือกซื้อทั้งในรูปแบบของยาน้ำ และสเปรย์พ่น
  • เมทิลโคบาลามิน เป็นชนิดของวิตามินบี 12 ที่ร่างกายสามารถตอบสนองได้ดีที่สุด ไม่ต้องใช้ใบสั่งจ่ายจากแพทย์ในการซื้อวิตามินบี 12 ชนิดนี้ แต่หาซื้อยากและมีราคาสูงกว่าวิตามินบี 12 ชนิดอื่นๆ
  • ไฮดรอกโซโคบาลามิน เป็นชนิดของวิตามินบี 12 ที่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่สามารถสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ และอยู่ในร่างกายได้นานที่สุด วิตามินบี 12 ชนิดนี้สามารถซื้อได้ด้วยใบสั่งจ่ายจากแพทย์เท่านั้น และมีเฉพาะในรูปแบบของยาฉีด
    นอกจากไฮดรอปโซโคบาลามินจะถูกใช้เพื่อเพิ่มระดับวิตามินบี 12 แล้ว ยังช่วยรักษาอาการเป็นพิษจากสารไซยาไนด์ (Cyanide) ได้อีกด้วย

คำเตือนสำหรับการใช้วิตามินบี 12

ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนเริ่มรับประทานวิตามินบี 12 หากมีอาการดังนี้

  • แพ้วิตามินบี 12 หรือสารอื่นๆ ที่พบในตัวยา
  • มีโรคทางพันธุกรรม ได้แก่ โรคขั้วประสาทตาฝ่อ (Optic atrophy) ซึ่งมีอาการตามัว มองเห็นไม่ชัด เกิดเนื่องจากเลือดมาเลี้ยงไม่พอ ทำให้เส้นประสาทที่เชื่อมตาและสมองฝ่อลง
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ร่างกายอยู่ในภาวะการติดเชื้อ
  • มีระดับธาตุเหล็กและโฟเลตต่ำ
  • มีภาวะเม็ดเลือดแดงข้น (Polycythemia) เป็นภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดในจำนวนที่มากผิดปกติ

วิตามินบี 12 กับการตั้งครรภ์

วิตามินบี 12 ชนิดที่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ คือ ชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน หรือละลายใต้ลิ้น เป็นชนิดที่ปลอดภัยสำหรับการรับประทานในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของตัวยาและขนาดยา 

อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการใช้วิตามินบี 12 ในขนาดสูงจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่ และคุณควรแจ้งแพทย์ประจำตัวหากกำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ก่อนที่จะเริ่มใช้ยาตัวนี้ เพื่อที่แพทย์จะได้จัดชนิดของยาและปริมาณที่เหมาะสมให้กับคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เพราะวิตามินบี 12 สามารถพบได้ในนมแม่เช่นกัน จึงไม่แนะนำให้หญิงให้นมบุตรรับประทานยาเสริมวิตามินบี 12 เนื่องจากทารกอาจได้รับวิตามินในจำนวนที่มากเกินไปได้

ผลข้างเคียงของวิตามินบี 12

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปของวิตามินบี 12

  • ปวดศีรษะ
  • มีผื่นคัน
  • บวม
  • อาการตื่นกลัวและวิตกกังวล
  • การเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน

ผลข้างเคียงที่รุนแรง

  • ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
  • ภาวะหัวใจวาย
  • ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำบริเวณแขนและขา
  • อาการแพ้ที่ส่งผลกระทบร้ายแรงถึงชีวิตที่เรียกว่า “โรคภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลันรุนแรง" (Anaphylaxis) อาจมีภาวะหายใจลำบาก ลิ้นบวม คอตีบ และผิวแตกจากอาการลมพิษได้
  • ภาวะน้ำท่วมปอด

ปฏิกิริยาของวิตามินบี 12 กับยาบางชนิด

เป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรแจ้งแพทย์ และเภสัชกรเกี่ยวกับตัวยาที่กำลังรับประทานอยู่  ทั้งยาที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์ และยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ รวมถึงอาหารเสริม เช่น วิตามิน และอาหารเสริมอื่นๆ สมุนไพร และยาต้องห้าม หรือยาเสพติดที่ใช้เพื่อการผ่อนคลาย 

เพราะยาเหล่านี้อาจมีปฏิกิริยาร้ายแรงต่อวิตามินบี 12 ได้

ยาบางชนิดที่มีปฏิกิริยาร้ายแรงต่อวิตามินบี 12 ได้แก่

  • Leukeran (Chlorambucil)
  • Prilosec (Omeprazole)
  • Mitigare (Colchicine)
  • อาหารเสริมสมุนไพรโกลเด้นซีล (Goldenseal)

การลืมรับประทานวิตามินบี 12

ถ้าคุณลืมรับประทานวิตามินบี 12 ควรรับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าถึงเวลาที่ต้องรับประทานยาในมื้อต่อไปแล้ว ให้ข้ามยามื้อที่ลืมรับประทาน และรับประทานยามื้อต่อไปตามกำหนดเดิมที่จำเป็นต้องรับประทานได้เลย ห้ามรับประทานยาสองมื้อในเวลาเดียวกันเด็ดขาด

วิตามินบี 12 เป็นอีกวิตามินที่คุณไม่ควรมองข้าม เพราะหากร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้ ก็จะส่งผลทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมาได้ ดังนั้นคุณจึงควรรับวิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายอย่างครบถ้วนทุกชนิด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพดีไปอย่างยาวนาน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวิตามินเสริม รับวิตามินบำรุง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin B12 Deficiency Anemia. Johns Hopkins Medicine. (Available via: https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/vitamin-b12-deficiency-anemia)
Vitamin B12. Linus Pauling Institute. (Available via: https://lpi.oregonstate.edu/mic/vitamins/vitamin-B12)
Vitamin B-12: Functions, deficiency, and sources. Medical News Today. (Available via: https://www.medicalnewstoday.com/articles/219822)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)