อะไรคือสารต้านอนุมูลอิสระ? และมีประโยชน์ต่อคนเราอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อะไรคือสารต้านอนุมูลอิสระ? และมีประโยชน์ต่อคนเราอย่างไร?

สารต้านอนุมูลอิสระสามารถพบได้แทบจะทุกหนแห่ง ตั้งแต่อาหารไปจนถึงผลิตภัณฑ์ดูแลผิว แม้แต่ในช็อคโกแลตกับไวน์แดง ผลิตภัณฑ์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระถูกโฆษณาว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพในการการช่วยป้องกันโรคภัยหรือชะลอความแก่ได้ แต่ความเป็นจริงจะสวยหรูอย่างที่เยินยอหรือไม่?

อะไรคือสารต้านอนุมูลอิสระ?

คำว่าสารต้านอนุมูลอิสระครอบคลุมไปถึงโมเลกุลต่าง ๆ (พันธะอะตอมที่รวมกันโดยพันธะเคมี) ที่ช่วยป้องกันโมเลกุลอื่นจากกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่าออกซิเดชัน การออกซิเดชันสามารถสร้างความเสียหายแก่โมเลกุลสำคัญในร่างกายได้ อย่างเช่น DNA และโปรตีน ซึ่งมีส่วนในกระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โมเลกุลอย่าง DNA จำเป็นต่อการทำงานของเซลล์อย่างมาก ทำให้ความเสียหายที่มากเกินไปจะทำให้เซลล์ทำงานผิดปรกติหรือตายลงได้ จึงเป็นเหตุให้สารต้านอนุมูลอิสระมีความสำคัญอย่างมาก โดยมันสามารถป้องกันหรือลดความเสียหายดังกล่าวได้

อะไรคือปฏิกิริยาออกซิเดชัน?

ออกซิเดชันเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่ซึ่งอีเล็กตรอนถูกส่งจากโมเลกุลหนึ่งไปสู่อีกโมเลกุลหนึ่ง อีเล็กตรอนคือหนึ่งในอนุภาคย่อยของอะตอมที่ทำหน้าที่แทบจะทุกอย่าง ขณะที่อีเล็กตรอนเคลื่อนที่ระหว่างปฏิกิริยาออกซิเดชัน พันธะจะสะบั้นลงและทำให้โครงสร้างของโมเลกุลเปลี่ยนไป

ไม่ได้หมายความว่าปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นสิ่งที่ไม่ดี เนื่องจากมันเป็นปฏิกิริยาที่จำเป็นต่อร่างกายและเกี่ยวข้องกับหลายกระบวนการ สำหรับกระบวนการหายใจระดับเซลล์นั้น กลูโคส (น้ำตาลจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป) จะถูกออกซิไดซ์โดยออกซิเจน (จากอากาศที่เราหายใจ) ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และพลังงานออกไปเลี้ยงร่างกาย

อะไรคืออนุมูลเสรี?

อนุมูลเสรี หรือก็คืออนุมูลอิสระ เป็นโมเลกุลทั่วไปที่มีอีเล็กตรอนที่ไมเข้าคู่กันหนึ่งหรือสองตัว ในขณะที่อีเล็กตรอนจะต้องอยู่เป็นคู่ ๆ ทำให้อีเล็กตรอนที่ไม่เป็นคู่เหล่านี้ส่งผลต่อความไม่เสถียรของโมเลกุล ในการทำให้อีเล็กตรอนเสถียรนั้น อนุมูลอิสระต้องดึงอีเล็กตรอนจากโมเลกุลอีกหนึ่ง (หรือให้) เมื่อโมเลกุลสูญเสียอีเล็กตรอนไป โมเลกุลนั้นจะถูกออกซิไดซ์และกลายเป็นอนุมูลอิสระแทน

อนุมูลอิสระใหม่จะดึงอีเล็กตรอนของโมเลกุลอีกตัวมา และเริ่มปฏิกิริยาลูกโซ่ขึ้น กระบวนการนี้จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลถาวรจนไม่อาจแก้ไขความเสียหายได้อีก

แต่หากมีสารต้านอนุมูลอิสระเข้ามา สารนี้จะปล่อยอีเล็กตรอนให้กับอนุมูลอิสระและยับยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ลง สารต้านอนุมูลอิสระจะเสียสละตัวเองและถูกออกซิไดซ์แทนที่โมเลกุล จนกลายเป็นอนุมูลอิสระไป แต่ไม่เหมือนกับโมเลกุลส่วนมาก สารต้านอนุมูลอิสระจะสามารถปรับสภาพอีเล็กตรอนที่ไม่มีคู่ได้ และไม่สร้างปฏิกิริยาต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อนุมูลอิสระไม่ได้เป็นภัยต่อร่างกายเสมอไป ประโยชน์ในทางลบของพวกมันถูกใช้โดยระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่าซาโกไซต์สามารถดูดกลืนสิ่งแปลกปลอมได้ อย่างเช่นเชื้อแบคทีเรีย โดยการปกคลุมเชื้อและปล่อยอนุมูลอิสระเข้าทำลาย

อนุมูลอิสระถูกผลิตออกมาตามธรรมชาติของร่างกายคนเรา แต่การผลิตจะเพิ่มขึ้นจากปัจจัยการใช้ชีวิต อย่างเช่นความเครียด การรับประทานอาหารผิด ๆ มลพิษ การสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ร่างกายของเราสามารถควบคุมอนุมูลอิสระได้ส่วนหนึ่ง แต่หากมีมากเกินไป พวกมันจะก่อตัวจนทำลายระบบป้องกันของร่างกายไป

ความเสียหายจากอนุมูลอิสระถูกคาดว่าทำให้เกิดการแก่ตัวเร็วและก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น อนุมูลอิสระที่โจมตี DNA จะทำให้เกิดการกลายพันธ์ของยีนและเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งขึ้น

สารต้านอนุมูลอิสระทั้งหมดไม่เท่ากัน

หากคุณคิดว่าการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเข้าร่างกายมาก ๆ จะช่วยป้องกันโรคและความแก่ได้ คุณคิดผิดแล้ว มันไม่ง่ายเช่นนั้นหรอก แม้จะจริงที่ว่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงกับระดับความเครียดออกซิเดทิฟต่ำเกี่ยวพันกับสุขภาพที่ดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสารต้านอนุมูลอิสระทุกประเภทจะมีประโยชน์เทียบเท่ากัน

สารต้านอนุมูลอิสระสามรถหาได้หลายแห่ง บ้างก็ถูกผลิตโดยร่างกายเอง และบ้างก็อยู่ในอาหารที่พวกเรารับประทานเข้าไป สารต้านอนุมูลอิสระ (ทั้งสังเคราะห์และตามธรรมชาติ) สามารถถูกเติมเข้าไปในอาหารที่ปกติไม่มีพวกมันอยู่ก็ตาม (สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยป้องกันการออกซิเดชันในอาหารได้)

การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่เราจะหาสารต้านอนุมูลอิสระเข้าร่างกายได้ โดยผลไม้ ไข่ ธัญพืช และถั่วเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด ซึ่งไม่ได้แตกต่างไปจากสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในซุปเปอร์ฟู้ดต่าง ๆ ที่การตลอดยกยอเลย

งานวิจัยพบว่าอาหารเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ อาจมีผลเสียมากกว่าผลดีต่อร่างกาย โดยได้ทำการทดลองกับอาหารเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ 70 ครั้ง และสรุปว่าแทบไม่มีผลต่อร่างกายหรืออาจเป็นอันตรายต่อร่างกายด้วยซ้ำ เหตุผลที่มารองรับข้อสรุปนี้ยังคงไม่แน่ชัด แต่ก็ชัดเจนว่าการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารทั่วไปนั้นดีกว่ามากจริง อีกทั้งความเข้มข้นของสารต้านอนุมูลอิสระในอาหารเสริมยังนำมาซึ่งปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ อีกด้วย

การรับประทานของดีมากเกินไป

มีหลายเหตุผลว่าทำไมการรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระความเข้มข้นสูงอาจเป็นอันตรายดังนี้:

  • สารต้านอนุมูลอิสระเข้าไปกลายเป็นสารเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันขึ้น
  • สารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันร่างกายจากเซลล์อันตราย (อย่างเซลล์มะเร็ง) และเซลล์ที่มีสุขภาพดีไปด้วย
  • สารต้านอนุมูลอิสระไปลดประโยชน์ที่คุณควรได้รับจากการออกกำลังกาย
  • สารต้านอนุมูลอิสระมีผลข้างเคียงคือทำให้คลื่นไส้และปวดศีรษะ หรืออาจมีมากจนอยู่ในระดับสารพิษได้

ในโลกนี้ไม่มียาวิเศษจริง ๆ มีแต่อาหารที่ดีต่อสุขภาพเท่านั้นที่คุณสามารถใช้เป็นแหล่งเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้ร่างกายของคุณ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Definition of Antioxidant. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=11291)
Antioxidants. Harvard T.H. Chan School of Public Health. (https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/antioxidants/)
Antioxidants. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/antioxidants.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 เห็ดชนิดที่เปี่ยมด้วยคุณประโยชน์
10 เห็ดชนิดที่เปี่ยมด้วยคุณประโยชน์

ไม่ใช่แค่มีโปรตีนสูง ทดแทนเนื้อสัตว์ได้ แต่เห็ดยังมีวิตามิน แร่ธาตุ และมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมายที่คุณอาจยังไม่รู้

อ่านเพิ่ม