สารต้านอนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมี

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สารต้านอนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมี

ฉันจำเป็นต้องทานสารต้านอนุมูลอิสระไหม และสารต้านอนุมูอิสระทำอะไรให้คุณบ้าง

  • ขอตอบว่า “จำเป็น” แบบไม่มีเงื่อนไข ทุกลมหายใจเข้าออกของคุณก่อให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้น ซึ่งอนุมูลอิสระนี้เป็นโมเลกุลที่สามารถทำลายเซลล์โดยไม่อาจควบคุมได้ ยิ่งคุณอายุมากขึ้นเท่าใด สารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายคุณสร้างขึ้นโดยธรรมชาติเพื่อควบคุมโมเลกุลที่พร้อมทำลายล้างก็ยิ่งน้อยลงไปเรื่อยๆ เมื่ออนุมูลอิสระสะสมในร่างกาย ร่างกายของเราก็จะเสื่อมสภาพลง ความชราก็จะมาถึงเร็วขึ้น ส่งผลให้คุณเสี่ยงต่อทุกอย่าง ตั้งแต่ริ้วรอยไปจนถึงโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรง
  • แม้ว่าเราจะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหาร แต่คนจำนวนมากต้องการสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ได้จากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว เช่น ในคนสูบบุหรี่ต้องการวิตามินซี 2-3 เท่าของคนที่ไม่สูบ เพื่อให้ระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดอยู่ในระดับเดียวกัน ปัจจัยอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระได้แก่ มลพิษทางอากาศ การเจ็บป่วยเรื้อรัง การอยู่อาศัยร่วมกับคนสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ก่อมะเร็ง (อาการทอดความร้อนสูง หรืออาหารปิ้งย่าง อาหารที่มีไนไตรท์สูง เนื้อปรุงสำเร็จ) มีกรรมพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคบางชนิด ภาวะติดเชื้อ ออกกำลังกายหักโหมเกินไป วัยหมดประจำเดือน ภาวะเครียด ตากแดดบ่อย และการเอกซเรย์ ยิ่งไปกว่านั้น ไม่เพียงเกี่ยวข้องแต่กับอาหารที่คุณรับประทาน กรรมวิธีในการทำอาหารก็สำคัญเช่นกัน เช่น แครอทที่ผ่านการปรุงแล้วจะมีเบต้าแคโรทีนที่พร้อมดูดซึมมากกว่าแครอทดิบๆ การป้องกันอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดคือ การทำความรู้จักกับสารต้านอนุมูลอิสระ และรู้ว่าจะรับประทานอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างไรเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระทำอะไรให้คุณได้บ้าง

  • ชะลอกระบวนการชรา
  • ลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคเส้นโลหิตในสมองตีบ
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งทุกชนิด
  • ช่วยชะลออาการของโรคอัลไซเมอร์
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกต่างๆ
  • ช่วยร่างกายขับสารพิษที่ก่อมะเร็ง
  • ปกป้องดวงตาของคุณจากโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งเป็นสาเหตุของการตาบอดในผู้สูงอายุ
  • ช่วยร่างกายของคุณในการต่อสู้กับความเสื่อมที่เกิดจากการสูบบุหรี่
  • ช่วยป้องกันโรคปอดเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง
  • เป็นเกราะป้องกันมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

สารพฤกษเคมี (Phytochemicals)

ไฟโตเคมิคัล หรือสารพฤกษเคมี คือสารเคมีตามธรรมชาติที่พบในพืช เป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพ (บางครั้งก็จะเรียกกันว่า ไฟโตนิวเทรียนต์หรือสารอาหารจากพืช) ซึ่งมีหน้าที่ให้สีสัน รสชาติ และการปกป้องคุ้มกันโรคแก่ผลไม้ พืชผัก เมล็ดธัญพืช และถั่วต่างๆ มันเป็นทั้งระบบภูมิคุ้มกันที่คอยปกป้องพืช และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันโรคต่างๆ ในคน เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน โรคปอด ไปจนถึงมะเร็ง

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Foods Containing Phytochemicals. Breastcancer.org. (https://www.breastcancer.org/tips/nutrition/reduce_risk/foods/phytochem)
HealthTalk: What’s the difference between an antioxidant and a phytochemical?. American Institute for Cancer Research. (https://www.aicr.org/resources/blog/healthtalk-whats-the-difference-between-an-antioxidant-and-a-phytochemical/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของน้ำมันรำข้าว ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง
ประโยชน์ของน้ำมันรำข้าว ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง

แนะนำประโยชน์ของน้ำมันรำข้าวที่ควรรู้ และไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพแบบง่ายๆ สามารถทำเองได้ที่บ้าน

อ่านเพิ่ม