มลพิษในอากาศ อันตรายกว่าที่คุณคิด


“คนเรา” ในฐานะที่ต้องอยู่ในสังคมจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันมลพิษใกล้ตัวเสียแล้ว เพื่อสุขภาพของเราและคนที่เรารัก
เผยแพร่ครั้งแรก 26 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มลพิษในอากาศ อันตรายกว่าที่คุณคิด


ในยุคที่ความเจริญเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การคมนาคมมีความสะดวกสบายมากขึ้น กระบวนการผลิตมีความก้าวหน้า เติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดของเสียที่ได้จากผลผลิตเหล่านี้สู่สังคมอย่างมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นควันที่ได้จากการเผาผลาญเชื้อเพลิง หรือน้ำเน่าเสียที่ได้จากกระบวนการผลิต อากาศที่ว่าสำคัญกลับกลายเป็นไม่สะอาดอีกต่อไป “คนเรา” ในฐานะที่ต้องอยู่ในสังคมจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันมลพิษใกล้ตัวเสียแล้ว เพื่อสุขภาพของเราและคนที่เรารัก

สภาพอากาศกับการดำรงชีวิต

เป็นความจริงที่น่าเศร้า “มนุษย์” ต้องการอากาศมากที่สุดแต่กลับเป็นคนที่ทำลายสภาพอากาศเสียเอง ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อนหลายคนคงทันยุคที่สามารถกินน้ำฝนได้อย่างชื่นใจ แต่ทุกวันนี้ไม่สามารถกินได้อีกต่อไปเพราะน้ำฝนกลับกลายเป็นน้ำที่เต็มไปด้วยฝุ่นและสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศ มลพิษในอากาศเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. ยานพาหนะ เครื่องยนต์ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนการทำงาน เป็นแหล่งที่ปล่อยก๊าซพิษมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน สารตะกั่วในน้ำมัน กํามะถัน สารเหล่านี้เป็นพิษต่อมนุษย์โดยตรง
  2. โรงงานอุตสาหกรรม โรงงานขนาดใหญ่ย่อมปล่อยควันไฟและก๊าซพิษจำนวนมหาศาล พลังงานเหล่านี้เกิดทั้งจากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิง และของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองต่าง ๆ อาทิ โรงงานทําปูนซีเมนต์ โรงงานโม่หิน โรงงานทอผ้า เหมืองแร่ เตาเผาถ่าน โรงค้าถ่าน เป็นต้น
  3. แหล่งหมักหมมของสิ่งปฏิกูล กองขยะเป็นจุดเริ่มต้นของเชื้อโรคมากมาย แต่ไม่เพียงเท่านี้ มันยังก่อให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นและก๊าซพิษที่เกิดจากการเน่าเสีย และเมื่อทำการเผาทำลายยังทำให้พิษและฝุ่นละอองชิ้นเล็ก ๆ ลอยปะปนในอากาศเต็มไปหมด

สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างใกล้ตัว แต่ยังมีอีกหลายแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศอีกมากมายที่คนมักมองข้าม เช่น ควันไฟจากการเผาป่า ไร่นา กัมมันตรังสีที่เกิดจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ รังสีที่เกิดจากการตรวจและรักษาทางรังสีวิทยา อากาศเสียที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างไฟป่าหรือแผ่นดินไหว หรือแม้แต่การดูดบุหรี่มวนเล็ก ๆ แต่ควันนั้นเกิดอันตรายต่อทั้งผู้สูบและผู้ที่อยู่ใกล้ชิด

อันตรายจากมลพิษในอากาศ

จะเห็นได้ว่ามลพิษทางอากาศนั้นเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน แล้วอย่างนี้จะไม่ให้ผู้คนเป็นโรคภัยได้อย่างไร เพราะการที่มีมลพิษเหล่านี้เจอปนอยู่ในอากาศในปริมาณที่สูงขึ้นทุกวัน นานขึ้นทุกวันมันจะสามารถเกิดอันตราย้ำทั้งต่อสิ่งมีชีวิต พืช หรือแม้แต่ทรัพย์สินต่าง ๆ อากาศที่สำคัญจึงไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป จากการศึกษาทั่วโลกพบว่ามลพิษเหล่านี้ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจมากมายและมักทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

  • โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด หลอดลมอักเสบ โรคที่เกี่ยวกับปอด หัวใจ ติดเชื้อจากสิ่งสกปรกที่ลอยมาในอากาศ
  • โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบบ่อย และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งรวมมลพิษ เนื่องจากเยื่อบุจมูกต้องต่อสู้กับฝุ่นละอองจำนวนมากต่อวัน จึงมีความไวต่อการกระตุ้นมากผิดปกติ
  • มลพิษทางอากาศไม่เพียงทำลายสุขภาพ แต่ยังเกิดผลเสียต่อระบบทางเศรษฐกิจ เมื่อคนเป็นโรคภัยมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานย่อมลดลง ภาคเศรษฐกิจสูญเสียรายได้จากการหยุดงาน และยังค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น
  • นอกจากนี้ยังเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุมากมาย เพราะบ่อยครั้งฝุ่นควันทำให้ทัศนวิสัยเลวลง เกิดอุบัติเหตุทั้งในการทำงานและในท้องถนน มีผลทำให้อุณหภูมิอากาศลดต่ำลง ทำลายสิ่งก่อสร้าง ทำให้เครื่องมือเครื่องใช้เสียหาย
  • การลงของโอโซน แสงแดดจากดวงอาทิตย์ส่องมายังโลกมากขึ้นแต่สะท้อนออกไปยังนอกโลกได้น้อยลง ยิ่งทำให้เกิดภาวะโรคร้อนมากขึ้น

วิธีป้องกันตนเองจากมลพิษในอากาศ

การป้องกันตันเองจากมลภาวะเป็นเพียงการแก้ปัญหาปลายเหตุ แต่จะดีกว่านั้นถ้าหากโรงงานอุตสาหกรรมหรือแหล่งก่อกำเนิดมลภาวะขนาดใหญ่จะตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากการปล่อยของเสียจากโรงงานซึ่งเป็นต้นเหตุใหญ่ของปัญหาที่แท้จริง แต่อย่างไรก็ตามเราเองก็ต้องหาวิธีป้องกันตัวเองจากมลภาวะเบื้องต้นที่เราพอจะทำได้ดังนี้

  • ใช้หน้ากากอนามัยให้บ่อยขึ้น การใช้ Mask ปิดจมูกมักจะถูกใช้ก้อต่อเมื่อป่วย แต่จริงๆ แล้วสมารถนำมาใช้ป้องกันฝุ่นควันและมลพิษด้วย ไม่ว่าจะขึ้นรถเมล์ เรือโดยสาร หรือต้องทำงานในที่ๆ มีฝุ่นเยอะๆ ควรหยิบผ้าปิดจมูกขึ้นมาใช่ทันที จะช่วยป้องกันฝุ่นละอองได้ในเบื้องต้น
  • เลี่ยงการพบเจอฝุ่นควัน การเผาไหม้เชื้อเพลิง เลี่ยงการสูดดมหรืออยู่ใกล้แหล่งกำเนิดก๊าซพิษไม่ดูดบุหรี่หรืออยู่ใกล้คนดูดบุหรี่
  • อาบน้ำหรือทำความสะอาดร่างกายเมื่อต้องสัมผัสกับสิ่งสกปรก เพื่อเป็นการชำระล้างเชื้อโรคที่ติดมากับร่างกาย
  • เลี่ยงการอยู่อาศัยใกล้โรงงาน แหล่งทิ้งขยะ และโรงงานเองควรเพิ่มระยะห่างในการตั้งโรงงานใกล้แหล่งชุมชนเช่นกัน
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพราะเราไม่สามารถเลี่ยงมลพิษได้ทั้งหมด โดยเฉพาะคนที่ทำงานใกล้แหล่งกำเนิดก๊าซ ฝุ่นควัน หรือรังสีอันตรายอยู่ตลอดเวลา
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ตัวเองสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ ใส่ใจในการทานอาหาร เลือกสรรสิ่งที่มีประโยชน์ แหล่งที่สะอาด และปรุงสุกสดใหม่
  •  ทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัยเพื่อกำจัดฝุ่นละออง รวมถึงเครื่องปรับอากาศเพื่อทำลายเชื้อโรคที่อาจเกาะตามท่อแอร์ ซึ่งอาจทำให้เชื้อโรคดข้าสู่ตัวอาคาร

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Air pollutants: How they affect our health. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327447)
Air Pollution. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/airpollution.html)
Ambient air pollution: Health impacts. World Health Organization. (https://www.who.int/airpollution/ambient/health-impacts/en/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป