กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ไอกรน (Whooping cough)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 8 มิ.ย. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

โรคไอกรน (whooping cough or pertussis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจอักเสบ โรคไอกรนสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี นอกจากการอาการทั่วไปจะคล้ายโรคหวัดธรรมดา เช่น ไข้ต่ำ น้ำมูกไหล ไอ จาม แล้ว โรคไอกรนยังมีอาการแสดงสำคัญคือ การไออย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้นๆ

โรคไอกรนเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจอักเสบ โรคไอกรนสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี นอกจากการอาการทั่วไปจะคล้ายโรคหวัดธรรมดา เช่น ไข้ต่ำ น้ำมูกไหล ไอ จาม แล้ว โรคไอกรนยังมีอาการแสดงสำคัญคือ การไออย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้นๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

โรคไอกรนหากเกิดกับเด็กโตและผู้ใหญ่จะไม่มีความรุนแรงมากนัก แต่หากเกิดกับเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้สูง เช่น ไอหนักจนตัวเขียว ไอจนหยุดหายใจทำให้สมองขาดออกซิเจนและอาจเสียชีวิตได้ หรือบางกรณีอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ปอดได้ 

โรคไอกรนเป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจติดต่อได้ด้วยการสัมผัสเสมหะ น้ำลาย หรือน้ำมูกของผู้ป่วย ปัจจุบันวิธีป้องกันโรคไอกรนที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่ในทารกแรกเกิด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไอกรน

เด็กทารกอายุต่ำกว่าหกเดือนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไอกรนสูงที่สุด เด็กแต่ละคนจะต้องได้รับวัคซีนไอกรนอย่างน้อยสามครั้งร่างกายจึงจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรค ข้อมูลจากกรมควบคุมและป้องกันโรค หรือซีดีซี (CDC) แสดงว่าทุกๆ 100 คนของเด็กทารกที่เข้านอนโรงพยาบาลด้วยโรคไอกรน จะมีทารกหนึ่งหรือสองคนเสียชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป ภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนที่เกิดจากวัคซีนจะลดระดับลงได้ วัยรุ่นและผู้ใหญ่บางรายที่เคยได้รับวัคซีนแล้วจึงอาจกลับมาติดเชื้อได้อีกครั้งหากมีการระบาดเกิดขึ้น

ผลข้างเคียงของโรคไอกรน

โรคไอกรนมีผลข้างเคียงหลายอย่างที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นกับอายุของผู้ที่ได้รับเชื้อและปัจจัยอื่นๆ

โรคไอกรนในทารกและเด็ก เนื่องจากทารกและเด็กวัยคลานจะยังไม่ได้รับวัคซีนไอกรนครบทั้งสามเข็ม เมื่อติดเชื้อ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและอาจถึงขั้นเสียชีวิต จากข้อมูลของซีดีซี (CDC) กล่าวว่า ครึ่งหนึ่งของเด็กทารกอายุน้อยกว่าหนึ่งปีที่ป่วยเป็นโรคไอกรนจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไอกรนในทารกและเด็กได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

· ปอดอักเสบติดเชื้อ

· หายใจช้าหรือหยุดหายใจ

· อาการขาดน้ำหรือน้ำหนักลดเนื่องจากกินไม่ได้

· ชัก

· ภยันตรายต่อสมอง

โรคไอกรนในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ วัยรุ่นและผู้ใหญ่จะกำจัดเชื้อและหายจากโรคไอกรนได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ แม้บางรายจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น อาการก็มักจะไม่รุนแรง โดยเฉพาะในรายที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไอกรนในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้แก่

·         เป็นลมเนื่องจากไอแรงเกินไป

·         มีแผลฟกช้ำหรือกระดูกซี่โครงหักจากการไอ

·         ไส้เลื่อนที่กระบังลม

·         หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนังหรือนัยน์ตาแตก

โรคไอกรนทำให้เกิดอาการไอรุนแรงมากจนทำให้อาเจียนได้

อาการที่เด่นชัดที่สุดของโรคไอกรน คือเสียงแหลมสูงอย่างน่ากลัวคล้ายคนที่หายใจขัดหลังจากอาการไปอย่างรุนแรงซึ่งควบคุมไม่ได้ อาการคล้ายหวัด (cold-like symptoms) เช่น ไอเล็กน้อยและมีไข้เป็นสัญญาณแรกๆของโรคไอกรน ขณะที่อาการหวัดเริ่มลดลงใน 1-2 สัปดาห์ ถัดมาจะเริ่มไออย่างมากติดต่อกันหลายสัปดาห์โดยไอแรงมากจนอาเจียนและอ่อนเพลียได้

อาการระยะแรกของโรคไอกรน

หลังจากติดเชื้อไอกรนจะใช้เวลา 7-10 วันจึงเริ่มมีอาการแต่บางครั้งก็นานกว่านั้น อาการแรกๆที่แสดงอาจนาน 1-2 สัปดาห์ ได้แก่

·         น้ำมูกไหล

·         ไข้ต่ำๆ

·         ไอเล็กน้อยเป็นบางครั้ง

·         หยุดหายใจที่เรียกว่าแอพเนีย(apnea)

โดยอาการจะเริ่มแย่ลงใน 1-2 สัปดาห์ เสมหะเหนียวข้นจะอยู่ในทางเดินหายใจทำให้ไอจนควบคุมไม่ได้วึ่งจะทำให้เกิด

·         อาเจียน

·         หน้าแดงหรือม่วง

·         อ่อนเพลียมาก

·         เสียงแหลมสูงระหว่างการหายใจ

ในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับการฉัดวัคซีนไอกรนแล้วมักจะไม่ติดเชื้อ ถึงติดเชื้อแต่ก็จะไม่รุนแรง ส่วนในเด็กทารกจะไอเพียงแค่เล็กน้อยหรือไม่ไอ แต่จะมีการหายใจติดขัดหรือหยุดหายใจไปเลย

การวินิจฉัยโรคไอกรน

เนื่องจากอาการของโรคไอกรนคล้ายคลึงกับไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และหลอดลมอักเสบจึงทำให้วินิจฉัยยาก แต่แพทย์จะทำสิ่งเหล่านี้เพื่อช่วยวินิจฉัยคือ

·         ซักประวัติเกี่ยวกับอาการและอาการแสดง

·         ตรวจร่างกาย

·         ตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งที่อยู่ระหว่างจมูกและลำคอ

·         ตรวจเลือดดูจำนวนเม็ดเลือดขาว

·         เอ็กซเรย์ปอดเพื่อดูการอักเสบและของเหลวในปอดซึ่งจะเกิดเมื่อมีปอดอักเสบซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากไอกรนรวมถึงการติดเชื้อในทางเดินหายใจอื่นๆ

การรักษาโรคไอกรน

ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคไอกรน

มียาปฏิชีวนะหลายตัวที่ใช้ทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคไอกรนซึ่งช่วยให้หายกลับมาเป็นปกติได้เร็วขึ้น ตามข้อมูลจากกรมควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention) หรือซีดีซี (CDC) ได้แก่ยา

·         อิริโทรมัยซิน (Erythromycin)

·         คลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin)

·         อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) หรือชื่อการค้าคือ ซิโทรแมกซ์ (Zithromax)

ควรปรึกษาแพทย์ว่าควรใช้ยาตัวใดจึงเหมาะสมมากที่สุด และคนในครอบครัวทุกคนต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วย การให้ยาปฏิชีวนะเร็วมีความสำคัญในการรักษาโรคไอกรนและป้องกันการแพร่กระจายโรค การรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการใหม่ๆนั้นสำคัญมากในโรคไอกรน(บางครั้งเรียกว่าโรคเพอร์ทัสซิส) ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อนั้นถ้าให้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการไอรุนแรงจะทำให้การติดเชื้อไม่รุนแรงและไม่แพร่กระจาย แต่ถ้าให้การรักษาหลังจากเริ่มมีอาการไปแล้วสามสัปดาห์จะไม่เกิดประโยชน์ เพราะแบคทีเรียได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายไปแล้วแม้ว่ายังมีอาการอยู่ และการใช้ยาที่ซื้อจากร้านขายยานั้นไม่สามารถบรรเทาอาการได้และไม่ควรซื้อมาใช้เอง

ยาปฏิชีวนะสำหรับเด็กทารก

เด็กทารกตั้งแต่อายุหนึ่งเดือนขึ้นไปควรใช้ยาอิริโทรมัยซิน ยาคลาริโธรมัยซิน และยาอะซิโธรมัยซินในการรักษาไอกรน สำหรับเด็กทารกที่อายุต่ำกว่าหนึ่งเดือนควรใช้ยาอะซิโธรมัยซินเนื่องจากยายาอิริโทรมัยซินจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบในเด็กทารก(infantile hypertrophic pyloric stenosis) หรือไอเฮชพีเอส (IHPS) และในเด็กทารกที่อายุสองเดือนขึ้นไปสามารถใช้ยาแบคทริม (Bactrim)ในการรักษาไอกรนได้แต่เป็นยาทางเลือกรอง โดยเป็นยาผสมประกอบด้วยยาซัลฟาเมธอกซาโซล (Sulfamethoxazole)และยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim)

การรักษาในโรงพยาบาลสำหรับเด็ก

เนื่องจากเด็กทารกและเด็กเล็กจะยังได้วัคซีนไอกรนไม่ครบทุกเข็มซึ่งทำให้มีการติดเชื่อรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิตได้ จึงต้องนอนโรงพยาบาลเมื่อไอจนกินไม่ได้ ดื่มน้ำไม่ได้ หรือหายใจไม่สะดวก และตามรายงานจากซีดีซีพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของทารกที่เป็นไอกรนมีอาการตั้งแต่อายุน้อยกว่า 1 ปี

ขณะที่นอนโรงพยาบาลเด็กเหล่านั้นจะได้รับการดูแลรักษาดังนี้

·         ดูดเสมหะเหนียวในทางเดินหายใจเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่งหายใจได้สะดวก

·         เฝ้าดูการหายใจและอาจให้ออกซิเจนถ้าจำเป็น

·         ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำถ้ากินอาหารหรือดื่มน้ำไม่ได้

และจะต้องแยกเด็กออกจากคนอื่นๆเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเนื่องจากเชื้อไอกรนแพร่กระจายได้ง่าย

การดูแลตนเองที่บ้านเมื่อเป็นไอกรน

นอกจากการใช้ยาและควรทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อป้องกันตนเองและคนในครอบครัว

·         รักษาความสะอาดภายในบ้าน

·         รักษาร่างกายให้ชุ่มชื้น

·         กินอาหารมื้อเล็กๆแต่กินบ่อยๆ

·         นอนในห้องที่เย็น มืด และเงียบ

·         ล้างมือบ่อยๆ

·         ทำให้บ้านปลอดบุหรี่ ฝุ่น และละอองสารเคมีที่จะทำให้ไอ ถ้าทำได้อาการไอก็จะลดลง นอกจากนั้นการใช้เครื่องทำไอน้ำเย็นที่สะอาดจะช่วยละลายเสมหะและบรรเทาอาการไอ การดื่มน้ำมากๆทั้งน้ำเปล่า น้ำผลไม้ และซุปรวมถึงการกินผลไม้จะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำโดนอาการของการขาดน้ำคือ

·         ปากแห้งเหนียว

·         ง่วงนอน หรือ อ่อนเพลีย

·         กระหายน้ำ

·         ปัสสาวะลดลง

·         กล้ามเนื้ออ่อนแรง

·         ปวดศีรษะ

·         มึนหรือเวียนศีรษะ

อาการขาดน้ำในเด็กได้แก่

·         ผ้าอ้อมแห้งบ่อยๆ

·         ร้องไห้แต่มีน้ำตาเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

·         ริมฝีปากแห้ง

การกินอาหารมื้อเล็กๆแต่บ่อยๆช่วยป้องกันไม่ให้อาเจียนซึ่งเป็นอาหารที่พบบ่อยของไอกรน การนอนในห้องที่เย็น เงียบ และมืดช่วยให้ผ่อนคลาย และการพักผ่อนจะช่วยบรรเทาอาการของไอกรน สุดท้ายการล้างมือบ่อยๆ ปิดปากหรือใส่ผ้าปิดจมูกจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายสู่คนอื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก จำเป็นไหม ทำไมต้องฉีด?


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
kidshealth.org, Whooping Cough (Pertussis), https://kidshealth.org/en/parents/whooping-cough.html
ncbi.nlm.nih.gov, Pertussis of adults and infants. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12467690)
Kristeen Moore, Whooping Cough (Pertussis) (https://www.healthline.com/health/pertussis)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
วัคซีนทางเลือกจำเป็นสำหรับเด็กทุกึนหรือเปล่า
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ลูกชายอายุ12ขวบ เป็นโรคไขข้ออักเสบต้องทานยากดภูมิค้มกันสัปดาห์ละสองเม็ด พอดีถึงเวลาต้องฉีดวัคซีนบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน สามารถฉีดได้มั้ยคะ หรือต้องหยุดยาคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ฉีดวัคฉีนเด็ก2เดือนแบบไม่มีไข้ ราคาเท่าไหร่ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตอนน้องอายุ2ปีสามเดือนไอกรนค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ