กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส (Enteroviruses infection)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ครอบคลุมเชื้อไวรัสกลุ่มใหญ่ที่ทำให้ติดเชื้อและทำให้มีคนหลายสิบล้านคนเจ็บป่วยทุกๆ ปี โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนและฤดูใบไม้ร่วง โดยปกติแล้วการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสจะทำให้เป็นหวัดหรือติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา

แม้การติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสโดยทั่วไปจะมีอาการไม่รุนแรง แต่ในปี ค.ศ. 2014 พบว่าเด็กบางคนติดเชื้อจากสายพันธ์ุเฉพาะอย่าง D68 หรือ EV-D68 ซึ่งทำให้มีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีอาการหอบและหายใจลำบาก อีกทั้งบางส่วนยังมีอาการทางระบบประสาท ได้แก่ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเป็นอัมพาต และในช่วงปลายเดือนตุลาคม ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ก็ได้ยืนยันว่ามีคนติดเชื้อ EV-D68 มากกว่า 900 ราย มีผู้เสียชีวิต 7 ราย

เอนเทอโรไวรัส D68

เชื้อ EV-D68 เป็นหนึ่งในเชื้อเอนเทอโรไวรัสที่ไม่ใช่โปลิโอ (non-polio enterovirus) ซึ่งมีมากกว่า 100 ชนิด (Poliovirus เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคโปลิโอ ซึ่งเป็นเชื้อเอนเทอโรไวรัสชนิดหนึ่ง) EV-D68 ถูกระบุชื่อเป็นครั้งแรกที่รัฐแคลิฟอเนียในปี ค.ศ. 1962 และมีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่ได้รับการรายงานต่อศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 และเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก็พบว่าไวรัสมีการแพร่กระจายเพิ่มมากขึ้น โดยมีการรายงานถึงกลุ่มของไวรัส EV-D68 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป และแอฟริกา รวมถึงในอเมริกาเหนือด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การแพร่ระบาดของเชื้อเอนเทอโรไวรัสในปี ค.ศ. 2014

การระบาดเริ่มขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมในปี ค.ศ. 2014 และระบาดต่อเนื่องถึงเดือนตุลาคม ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบกับการระบาดของโรคทางเดินหายใจอย่างรุนแรง ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส EV-D68 โรคดังกล่าวระบาดไปมากกว่า 45 รัฐ และส่งผลให้ผู้คนมากกว่า 900 คนป่วย รวมทั้งมีผู้เสียชีวิตอีก 7 ราย โรคนี้ส่งผลต่อเด็กเป็นส่วนใหญ่และในจำนวนนี้มีเด็กหลายคนที่เป็นโรคหอบหืดหรือมีประวัติเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ

ส่วนใหญ่แล้ว อาการป่วยจะคล้ายๆ กับอาการหวัดหรือเป็นไข้ แต่ในเด็กนั้นจะมีปัญหาในการหายใจและอาจมีอาการเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น หน้าเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง และเป็นอัมพาต ซึ่งเรื่องนี้ทำให้แพทย์แปลกใจมากที่พบว่าเชื้อไวรัส EV-D68 มีส่วนที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว เพราะไม่เคยมีรายงานมาก่อน

ไวรัสมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่องและผู้เชี่ยวชาญยังเชื่อว่าเป็นไปได้ที่ไวรัส EV-D68 สายพันธุ์ใหม่จะก่อตัวขึ้นและเป็นสาเหตุของอาการป่วยที่รุนแรงขึ้น อีกทั้งยังแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ง่ายขึ้นด้วย ซึ่งก็คาดว่าการทดสอบทางพันธุกรรมที่ดำเนินการโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคจะแสดงให้เห็นว่าไวรัส EV-D68 ที่แพร่ระบาดในปี ค.ศ. 2014 นั้นต่างจากปีก่อนๆ อย่างไร

เอนเทอโรไวรัส 71

เชื้อไวรัส EV-D68 ไม่ใช่เชื้อเอนเทอโรไวรัสธรรมดาๆ อีกต่อไป โดยในอดีตเคยเกิดการระบาดของเชื้อเอนเทอโรไวรัส A71 (EV-A71) ที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเมื่อ 15 ปีก่อน ซึ่งปกติแล้ว เชื้อ EV-D68 จะทำให้ป่วยเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็ก แต่ดูเหมือนว่าไวรัสจะพัฒนาอย่างรวดเร็วและยังเกิดสายพันธุ์ใหม่ขึ้นด้วย เรียกว่าจีโนกรุ๊ป (Genogroups) และซับจีโนกรุ๊ป (Subgenogroups) ซึ่งทำให้เกิดอัตราการป่วยสูง และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคสมองอักเสบรุนแรงด้วย

ในปี ค.ศ. 2012 ที่ประเทศฝรั่งเศส มีผู้ป่วยจากไวรัสสายพันธุ์ EV-A71 C4 จำนวน 4 ราย ซึ่งเป็นเด็กทารก ก่อนหน้านั้นไวรัสสายพันธุ์นี้ได้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางในประเทศจีน แต่พบน้อยในแถบยุโรป นักวิจัยที่ศึกษาเวชระเบียนของเด็กทารกชาวฝรั่งเศสจำนวน 4 รายได้เรียกร้องให้มีการตรวจสอบการติดเชื้อ EV-D68 ในยุโรป รวมทั้งติดตามความเป็นไปได้ในการติดเชื้อและการแพร่เชื้อ EV-D68 สายพันธุ์ใหม่ ทั้งแบบจีโนกรุ๊ปและซับจีโนกรุ๊ป 

เชื้อเอนเทอโรไวรัสแพร่กระจายอย่างไร?

เชื้อชนิดแพร่กระจายผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ รวมถึงการสัมผัสวัตถุที่มีเชื้อเกาะอยู่บนพื้นผิวแล้วนำมือเข้าปากไปไปสัมผัสอาหารที่รับประทานต่อ ทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายในที่สุด

วิธีป้องกันการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส?

เชื้อเอนเทอโรไวรัสสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีคล้ายๆ กันกับการติดเชื้ออื่นๆ ปฏิบัติได้ง่ายๆ ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเปล่าให้สะอาดครั้งละ 20 วินาที โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ และหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา ปาก และจมูกโดยที่ไม่ได้ล้างมือ
  • หลีกเลี่ยงการจูบ การกอด การกินอาหารจานเดียวกันกับผู้ป่วย และควรใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
  • ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ผู้ป่วยสัมผัส เช่น ตุ๊กตา ที่นอน ผ้าเช็ดตัว และของใช้ส่สนตัวอื่นๆ 
  • เมื่อรู้สึกป่วยควรอยู่แต่ในบ้าน และหยุดเรียนหรือหยุดงานจนกว่าจะหายดี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้แชอื่น

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการ
อาการ