ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์

อาการของการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 23 ก.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
  • เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) จัดเป็นเชื้อในกลุ่ม RNA ไวรรัส ประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยมากมายกว่า 68สายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์นั้นสามารถก่อให้เกิดโรคต่อระบบในร่างกายที่แตกต่างกันไป
  • เอนเทอโรไวรัส ส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดโรคระบาดในเด็ก เช่น โรคมือเท้าปาก โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักมีอาการผื่น อุจจาระร่วง อาการเหมือนไข้หวัด
  • การติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสมักจะไม่มีอาการใดๆ ให้เห็น โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ ส่วนคนที่มีอาการนั้น ส่วนใหญ่อาการจะไม่หนักมาก ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอาการหวัดธรรมดา บางคนอาจมีอาการเหมือนคนเป็นไข้ น้ำมูกไหล ไอ จาม
  • ผู้ป่วยติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นและหายได้เองเมื่อได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่บางรายก็มีอาการรุนแรงและต้องพบแพทย์ในทันที จึงควรเฝ้าระวังอาการป่วยในทารก เด็กเล็ก และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้เป็นโรคหอบหืด
  • ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดต้านเชื้อเอนเทอโรไวรัสได้ ขณะนี้จึงเป็นการรักษาตามอาการแทน นอกจากนี้การรักษาสุขอนามัยที่ดี และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ยังเป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสที่ดี
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) จัดเป็นเชื้อในกลุ่ม RNA ไวรรัส ประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยมากมายกว่า 68 สายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์นั้นสามารถก่อให้เกิดโรคต่อระบบในร่างกายที่แตกต่างกันไป

เอนเทอโรไวรัส ส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดโรคระบาดในเด็ก เช่น โรคมือเท้าปาก โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักมีอาการผื่น อุจจาระร่วง อาการเหมือนไข้หวัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทั้งนี้เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 นับว่า เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดการระบาดหลายครั้งและเป็นเชื้อที่มีความรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุด 

อาการ แสดงเมื่อติดเชื้อเอนเทอโรไวัส

การติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสนั้นอาจไม่แสดงอาการใดๆ ไปจนถึงมีอาการรุนแรงได้ ส่วนใหญ่การติดเชื้อในผู้ใหญ่มักไม่ค่อยเสดงอาการ แต่ได้เด็กมักแสดงอาการมากกว่า

ระยะฟักตัวของเชื้อตั้งแต่ได้รับเชื้อเข้าสูร่างกาย ส่วนมากใช้ระยะเวลาประมาณ 3-5 วัน หรืออาจนานได้ถึง 14 วัน

อาการของการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส ได้แก่

  • อาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตัว
  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการเหมือนไข้หวัด มีน้ำมูก ไอ จาม เจ็บคอ หายใจมีเสียงครืดคราด หรือหายใจมีเสียงวี๊ด หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
  • อาการทางผิวหนัง เช่น อาการของโรคมือเท้าปาก มีผื่นจุดแดง หรือตุ่มน้ำขึ้น โดยไม่มีอาการคันบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม อาจพบบริเวณก้น หรืออวัยวะเพศได้อีกด้วย
  • อาการทางสมองและระบบประสาท เช่น แขนขาอ่อนเรงฉับพลัน แขนขากระตุก ชักเกร็ง ง่วง ซึมตลอดเวลา
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง
  • อาการทางดวงตา เช่น ตาแดง เยื่อตาอักเสบ
  • อาการทางหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เท้า หรือขาบวม

ผู้ป่วยติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้พักผ่อนและได้รับการดูแลที่บ้าน แต่บางรายก็มีอาการรุนแรงและต้องพบแพทย์ในทันที 

ฉะนั้นเราจึงควรเฝ้าระวังอาการป่วยที่อาจรุนแรงได้ โดยเฉพาะในทารก เด็กเล็ก และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรมีการเฝ้าระวังเด็กที่เป็นโรคหอบหืด หรือมีปัญหาเกี่ยวกับปอดด้วย เพราะหากติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสแล้วก็มีโอกาสที่อาการจะพัฒนาไปถึงขั้นที่การหายใจมีปัญหารุนแรงได้

ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงเมื่อติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 

ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวพบได้น้อย ดังนี้ 

  • อาการที่เกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางและหัวใจ 
  • มีความเป็นไปได้ที่สมองจะติดเชื้อซึ่งทำให้เกิดโรคสมองอักเสบ หรือเกิดการอักเสบที่เยื่อหุ้มไขสันหลัง หรือสมอง (ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) 

การติดเชื้อดังกล่าวอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการทางระบบประสาทหลายอย่างได้ เชื้อไวรัสยังอาจทำให้เกิดการอักเสบที่ถุงรอบๆ หัวใจได้ (ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ) หรืออาจติดเชื้อที่กล้ามเนื้อหัวใจ (ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน) อาการของโรค 

การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส

  • ใช้ไม้พันสำลีป้ายจมูก หรือลำคอ เพื่อเก็บตัวอย่างเสมหะ
  • เก็บตัวอย่างอุจจาระ 
  • เจาะน้ำไขสันหลัง

การรักษาโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส

แม้จะมียาต้านไวรัสที่ช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหนักจากการติดเชื้อไวรัสหลายประเภท อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านั้นก็ไม่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อเอนเทอโรไวรัสได้ 

โดยวิธีการรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ได้แก่

  • การพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การดื่มน้ำมากๆ
  • รับประทานของเย็นๆ เช่น น้ำแข็ง น้ำเย็น เพื่อให้ภายในปากชา จะทำให้ไม่รู้สึกเจ็บแผลในปาก และรับประทานอาหารได้มากขึ้น
  • การรับประทานยาเพื่อรักษาตามอาการที่เป็น เช่น การใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อรักษาอาการปวด ยาป้ายแผลในปากเพื่อบรรเทาแผลในปาก

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส แต่การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่อาจช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ในผู้ป่วยบางราย 

นอกจากนี้การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้ดี ทั้งการล้างมือให้ถูกวิธีบ่อยๆ การล้างมือทุกครั้งหลังขับถ่าย

การทำความสะอาด ฆ่าเชื้อบนพื้นผิวข้าวของเครื่องใช้ที่สัมผัสบ่อยๆ การไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน และการไม่คลุกคลี หรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย นับเป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อที่ดีและปฏิบัติได้ง่าย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
ติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส - สาเหตุ อาการ การรักษา ป้องกัน
ติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส - สาเหตุ อาการ การรักษา ป้องกัน
บทความต่อไป
เอนเทอโรไวรัส
เอนเทอโรไวรัส