ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์

การรักษาอาการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 23 ก.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
  • เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) เป็นเชื้อไวรัสที่ส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดโรคระบาดในเด็ก เช่น โรคมือเท้าปาก โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักมีอาการผื่น อุจจาระร่วง อาการเหมือนไข้หวัด ทั้งนี้เอนเทอโรไวรัสยังส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกายหลายระบบ
  • เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 นับว่า เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดการระบาดหลายครั้งและเป็นเชื้อที่มีความรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุด
  • เชื้อเอนเทอโรไวรัสมักจะแพร่เชื้อจากคนไปสู่คน ด้วยการรับเชื้อที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสผ่านเข้าไปทางปากด้วยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส การหายใจ การไอ การจาม
  • ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่จะช่วยรักษาการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสโดยเฉพาะได้ จะเป็นการรักษาตามอาการแทน ทั้งนี้การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมและการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสที่ดี
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

เอนเทอโรไวรัสอาจเป็นชื่อที่หลายคนไม่คุ้นหู แต่หากเรียกว่า "โรคมือเท้าปาก(Hand-Foot-Mouth disease)" แล้ว น่าจะคุ้นหูกันมากกว่าโดยเฉพาะในกลุ่มคุณพ่อคุณแม่ซึ่งมีลูกเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะเมื่อโรคนี้ระบาดขึ้นทีไร ก็นับเป้นเรื่องใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวัง

บทความนี้จะพาไปรู้จักเชื้อเอนเทอโรไวรัสว่า คืออะไร อันตรายอย่างไร ก่อให้เกิดโรคใดได้บ้าง 

รู้จักเอนเทอโรไวรัส

เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) เป็นเชื้อไวรัสที่ส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดโรคระบาดในเด็ก เช่น โรคมือเท้าปาก โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักมีอาการผื่น อุจจาระร่วง อาการเหมือนไข้หวัด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บางรายที่ได้รับเอนเทอโรไวรัสอาจก่อโรคมากกว่า 1 โรคได้ ทั้งนี้เอนเทอโรไวรัสยังส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกายหลายระบบ เช่น ระบบประสาท เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้เกิดการอักเสบที่สมอง คล้ายโรคไข้สมองอักเสบ

ทั้งนี้เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 นับว่า เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดการระบาดหลายครั้งและเป็นเชื้อที่มีความรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุด 

เชื้อเอนเทอโรไวรัสติดต่ออย่างไร

เชื้อเอนเทอโรไวรัสมักจะแพร่เชื้อจากคนไปสู่คน ด้วยการรับเชื้อที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสผ่านเข้าไปทางปากด้วยการหยิบจับอาหาร รับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ การไม่ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร

การใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อนผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า

มีรายงานว่า เชื้อเอนเทอโรไวรัสยังสามารถการติดต่อทางระบบหายใจ โดยจะแพร่เวลาที่ผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ แล้วคนอื่น ๆ มาสัมผัสสิ่งๆ นั้นต่อ 

ดังนั้นการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีผู้คนอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงภาพยนตร์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ในรายที่มีตุ่มน้ำของผื่น หากตุ่มน้ำนั้นแตกแลัวมีผู้ไปสัมผัสเข้าก็อาจติดเชื้อได้เช่นกัน

เมื่อเชื้อเอนเทอโรไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะไปเพิ่มจำนวนในลำไส้และเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เกิดอาการไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน ไอ เจ็บคอ มีตุ่มน้ำขนาดเล็กขึ้นที่มือ เท้า หรือปาก คอ กระพุ้งแก้ม 

จากนั้นเชื้อจะแพร่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ เช่น เยื่อบุช่องปาก ผัวหนัง หัวใจ สมอง ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมา หลังจากนั้นเชื้อไวรัสจะถูกขับออกทางอุจจาระ 

เชื้อเอนเทอโรไวรัสและเด็กที่เป็นโรคหอบหืด

คนที่เป็นโรคหอบหืด (อาการที่มีสิ่งมากระตุ้นให้ระบบทางเดินหายใจเกิดการอักเสบและเล็กลง) มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะช่วงที่เชื้อ EV-D68 ระบาดใน ค.ศ. 2014 ที่ส่งผลให้เกิดโรคระบบทางเดินอย่างรุนแรงในเด็กที่เป็นโรคหอบหืด

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคมีคำแนะนำพิเศษให้แก่ผู้ปกครองของเด็กที่เป็นโรคหอบหืดให้เตรียมการไว้เผื่อเด็กติดเชื้อไวรัส EV-D68

คุณจำเป็นต้องรู้ข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ถึงแม้จะอยู่ในช่วงที่เชื้อเอนเทอโรไวรัสไม่ระบาดรุนแรงก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • พูดคุยและปรับแผนการรักษาโรคหอบหืดของลูกกับแพทย์ที่รักษา
  • ติดตามการใช้ยาที่รักษาโรคหอบหืดตามแพทย์สั่ง โดยเฉพาะยาที่ต้องใช้ในระยายาว
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็ก ๆ สามารถเข้าถึงการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการหอบหืดได้ (หรือที่เรียกว่า rescue medication เช่น ยาสูดพ่น Albuterol )
  • ติดตามแผนการรักษาลูกของคุณเมื่อมีอาการใหม่ๆ หรืออาการหอบหืดแย่ลง
  • ให้ลูกฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด
  • ติดต่อแพทย์หากไม่หายป่วย หรือมีอาการแย่ลง

การตรวจวินิจฉัย

  • ป้ายแผลในปาก
  • น้ำจากตุ่มน้ำของผื่น หรือแผลพุพอง
  • ชิ้นเนื้อจากผิวหนังที่มีผื่น หรือแผลพุพอง
  • อุจจาระ
  • เจาะน้ำไขสันหลัง

การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสซึ่งอาการไม่รุนแรง

ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่จะช่วยรักษาการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสโดยเฉพาะได้ จะเป็นการรักษาตามอาการแทนรวมทั้งการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ได้แก่

  • การพักผ่อนให้เพียงพอ 
  • การดื่มน้ำมากๆ 
  • รับประทานของเย็นๆ เช่น น้ำแข็ง น้ำเย็น เพื่อให้ภายในปากชา จะทำให้ไม่รู้สึกเจ็บแผลในปาก และรับประทานอาหารได้มากขึ้น
  • การรับประทานยาเพื่อรักษาตามอาการที่เป็น เช่น การใช้ยาอิบูโพรเฟน (Advil/Motrin) หรืออะเซตามิโนเฟน (Tylenol) เพื่อรักษาอาการปวด ยาป้ายแผลในปาก
  • ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาชนิดนี้ไม่มีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อไวรัส รวมทั้งเชื้อเอนเทอโรไวรัสด้วย  

การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสซึ่งมีอาการรุนแรง

ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เมื่ออาการป่วยมีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ใหญ่ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น โรคหอบหืด ซึ่งมีมีอาการรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หากติดเชื้อเอนเทอโรคไวรัสอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคกล่าวว่า แม้จะมียาที่อาจใช้เพื่อต้านเชื้อไวรัสต่าง ๆ รวมถึงเอนเทอโรไวรัสได้ แต่ก็ไม่มียาชนิดใดเลยที่ได้รับการพิสูจน์ว่า สามารถต้านเชื้อไวรัส EV-D68 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดใน ค.ศ.2014ได้

การป้องกันการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส

  • ล้างมือบ่อยๆ ให้ถูกวิธี โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและให้ล้างมือทันทีหลังเข้าบ้าน
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือที่ยังไม่ล้าง มาสัมผัสดวงตา จมูก หรือปาก
  • พักอยู่ที่บ้านหากมีอาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน อย่าส่งเด็ก ๆ ไปโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็กโดยเด็ดขาด  
  • ปรับที่อยู่อาศัยให้อากาศถ่ายเทได้ดี 
  • สอนให้เด็กๆ ไอ หรือจามเข้าที่ไหล่ หรือข้อศอกของตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังคนอื่น และหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำลายที่มีเชื้อติดอยู่ที่มือ  
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อป่วย
  • ไม่รับประทานอาหารโดยใช้ช้อนส้อม ถ้วย แก้วน้ำ ร่วมกับผู้ป่วย
  • ปิดโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็กชั่วคราว เพื่อฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดพื้นผิวสิ่งของตางๆ ที่ผู้ป่วยอาจสัมผัส เช่น ของเล่น คีย์บอร์ด โทรศัพท์ ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำและชักโครก
  • ไม่คลุกคลี หรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส แต่การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่อาจช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ในผู้ป่วยบางราย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
อาการ
อาการ