กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

HIB (โรคฮิบ)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ธ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

โรคฮิบ (HIB) เกิดกับเด็กวัยแรกเกิดถึง 5 ปี เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนิดหนึ่งชื่อว่า ฮิโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิด B (Haemophilus influenzae type b) ซึ่งเชื้อพวกนี้จะอยู่ตามลำคอ ทำให้ติดต่อกันได้ง่ายโดยการใกล้ชิดสัมผัส โอกาสติดเชื้อจะเป็นง่ายเพราะระบบภูมิคุ้มกันของเด็กในวันนี้ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ

เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ก่อให้เกิดโรคหลายโรค เช่น ปอดบวม กล่องเสียงอักเสบ ผิวหนังอักเสบ ข้ออักเสบ และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการโรคฮิบ

จัดว่าเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคที่รุนแรง เมื่อติดเชื้อแล้วจะกระจายสู่เส้นเลือดและเยื่อหุ้มสมอง เด็กจะมีอาการ 3-4 ชั่วโมง ถึง 1-2 วัน อาการทั่วไปจะมีไข้ งอแง หงุดหงิด ต่อมาจะเป็นความผิดปกติของประสาทส่วนกลาง เช่น ซึม ปวดศีรษะ ชัก คอแข็ง กระหม่อมโป่ง เด็กเล็กอาจถึงเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ในบางรายที่รอดชีวิตอาจจะเป็นโรคชักเรื้อรัง หูหนวก ตาบอด อัมพาต ปัญญาอ่อน

วิธีป้องกันโรคฮิบ

โรคฮิบสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนในเด็กตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป ฉีด 3 เข็มช่วงอายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน หลังการฉีดครบจะป้องกันโรคได้ 100%


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)