กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น

มารู้จักเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ข้อมูลที่มี ณ ต้นปี 2020 พร้อมวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงติดเชื้อ ไขคำตอบ มีวัคซีนป้องกันหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศชื่อเรียกที่เป็นทางการของโรคจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า โรค COVID-19 (อ่านว่า โค-วิด-ไนน์-ทีน) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2
  • เหตุที่ตั้งชื่อเช่นนี้เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่าง WHO, OIE Animal Health และ FAO ที่ว่า ต้องตั้งชื่อโรคโดยไม่อ้างอิงถึงสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับโรคนั้นๆ เพื่อไม่เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากโรคนี้แพร่ระบาดใหม่ในพื้นที่อื่นในอนาคต
  • สถานการณ์ล่าสุดของ COVID-19 ยังมีการแพร่ระบาดอยู่หลายประเทศทั่วโลก
  • ในประเทศจีนมีผู้ป่วยอย่างน้อย 80,739 คน ส่วนประเทศอื่นประมาณ 30,000 คน (ข้อมูลเมื่อ 9 มีนาคม 2563)
  • นอกจากการป้องกันตนเองด้วยการล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงโรคแล้ว ยังต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 มีการรายงานถึงภาวะที่ประชาชนในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) หลายรายโดยไม่ทราบสาเหตุ

หลังจากนั้นจึงค้นพบว่า สาเหตุมาจากเชื้อ "โคโรน่าไวรัส สายพันธุ์ใหม่" ช่วงแรกของการแพร่ระบาดเรียกกันว่า "2019 novel coronavirus หรือ 2019-nCoV" ปัจจุบันมีชื่อเป็นทางการว่า "โรค COVID-19"

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรค COVID-19 พบว่า สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ และเริ่มมีรายงานการติดเชื้อไปยังประเทศอื่นๆ รวมถึงมีผู้ป่วยและชีวิตด้วยโรคนี้แล้ว

โคโรน่าไวรัส คืออะไร?

โคโรน่าไวรัส เป็นไวรัสกลุ่มใหญ่ซึ่งทำให้เกิดโรคหลายโรค ทั้งในคนและสัตว์ เช่น อูฐ แมว ค้างคาว

เชื้อในสัตว์อาจมีการวิวัฒนาการแล้วติดต่อสู่คน ทำให้เกิดโรคได้ แต่โอกาสเกิดน้อย ที่เคยมีแล้วได้แก่ โรคเมอรส์ (MERS) ที่แพร่ระบาดในช่วงปี ค.ศ. 2012 และโรคซารส์ (SARS) ที่แพร่ระบาดเมื่อช่วง ค.ศ. 2002-2003

จากลักษณะเปลือกของไวรัสชนิดนี้ที่จะมีก้านยื่นออกมา ลักษณะคล้ายมงกุฎ จึงเป็นที่มาของชื่อ "Corona" นั่นเอง

โคโรน่าไวรัส มีสายพันธุ์อะไรบ้าง?

เท่าที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบในปัจจุบัน พบว่า โคโรน่าไวรัสที่ก่อโรคในคนได้มีทั้งหมด 7 สายพันธุ์

สายพันธุ์ที่คนทั่วโลกรับเชื้อและติดต่อกันได้เป็นปกติอยู่แล้ว และทำให้เกิดโรคระดับเล็กน้อยถึงปานกลางคือ สายพันธุ์ 229E, NL63, OC43 และ HKU1

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ส่วนสายพันธุ์ต่อไปนี้ได้แก่ MERS-CoV, SARS-CoV และ SARS-CoV-2 เดิมเป็นสายพันธุ์โคโรน่าไวรัสที่ติดต่อในสัตว์ จากนั้นเชื้อมีวิวัฒนาการขึ้น แล้วจึงก่อโรคในคน ในที่สุดจึงกลายเป็นโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่

อาการที่น่าสงสัยว่า อาจติดเชื้อโคโรน่าไวรัส หรือ COVID-19

จากรายงานการติดเชื้อในประเทศจีน พบว่าผู้ติดเชื้อมักมีอาการเหล่านี้

ดังนั้นหากคุณเพิ่งเดินทางไปประเทศจีนไม่นานนี้แล้วเริ่มมีอาการคล้ายไข้หวัด ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์ทันที และบอกข้อมูลแก่แพทย์อย่างครบถ้วน

ทั้งนี้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention) เชื่อว่า เมื่อติดเชื้อไวรัสนี้แล้วน่าจะแสดงอาการภายใน 2-14 วัน

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโคโรน่าไวรัส หรือไวรัสอู่ฮั่น

  • ผู้เดินทางไปประเทศจีนไม่นานนี้ โดยเฉพาะที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย
  • เจ้าหน้าที่สนามบิน หรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่แออัด
  • ผู้ที่ต้องพบปะใกล้ชิดกับชาวจีน

โคโรน่าไวรัส มีวัคซีนป้องกันหรือไม่?

ณ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่าไวรัส แต่มีความเป็นไปได้ที่จะมีการคิดค้นยาต้านไวรัสได้

อ่านเพิ่มเติม: แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โคโรน่าไวรัส รักษาได้ไหม รักษาอย่างไร?

เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันอย่างที่กล่าวไปแล้วและยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยตรง ดังนั้นเมื่อพบผู้สงสัยว่าติดเชื้อ จึงจะใช้วิธีแยกบุคคลนั้นออกไปอยู่ในที่เฉพาะ เพื่อกักโรคไม่ให้แพร่สู่ผู้อื่น จากนั้นจึงรักษาไปตามอาการ

ส่วนผู้ที่มีอาการรุนแรง จะต้องได้รับการดูแลเรื่องการทำงานของอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ด้วย

ล่าสุด (29 มกราคม 2563) ในประเทศจีนได้ทดลองรักษาผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ด้วยยาต้านไวรัส HIV

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สาขาปักกิ่ง เปิดเผยแก่ Bloomburg ว่า การใช้ยา Lopinavir กับ Ritonavir ซึ่งอยู่ภายใต้แบรนด์ Kaletra รักษาโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของแผนล่าสุดที่จะใช้รักษาผู้ติดเชื้อ 

ในขณะนี้ยังไม่มียาต้านเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่โดยตรง แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยา Lopinavir กับ Ritonavir วันละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง และรับ Alpha-interferon ผ่านทางเครื่องพ่นจมูก วันละ 2 ครั้ง

การป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส หรือ COVID-19

โคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ที่ติดต่อจากคนสู่คน จะมีการแพร่เชื้อทางอากาศ ผ่านการไอ หรือจาม การสัมผัสร่างกายผู้ติดเชื้อ หรือการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสอาศัยอยู่ จากนั้นเอามือมาจับปาก จมูก หรือตาโดยไม่ได้ล้างมือเสียก่อน

อ่านเพิ่มเติม: หน้ากากอนามัย ป้องกันโคโรนาไวรัสได้ดีหรือ?

นอกจากนี้ไวรัสโคโร่น่าชนิดเดิมๆ ยังอาจติดต่อผ่านทางการปนเปื้อนของอุจจาระได้เช่นกัน แต่เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก

ข้อมูลล่าสุดคาดว่า เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์นี้น่าจะแพร่มาจากค้างคาวมงกุฎ (Horseshoe bat) แล้วติดต่อสู่มนุษย์

คำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโคโรน่าไว้รัส 

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด
  • หลีกเลี่ยงจากสถานที่เลี้ยงสัตว์ หรือมีซากสิ่งมีชีวิต เช่น ฟาร์ม โรงฆ่าสัตว์
  • ระมัดระวังการสัมผัสสิ่งของต่างๆ ตามที่สาธารณะ เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะ คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์สาธารณะ
  • ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสผู้มีอาการป่วย หรือไปอยู่ในที่ที่มีคนป่วย ถ้ายังไม่ได้ล้างมือ ไม่ควรนำมือมาสัมผัสจมูก ปาก ตา เพราะเป็นจุดที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้

อ่านเพิ่มเติม: ล้างมืออย่างไรให้สะอาดจริง ใช้สบู่กับใช้แอลกอฮอล์ล้าง อะไรสะอาดกว่ากัน?

สำหรับผู้เริ่มมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ควรเว้นระยะห่างจากผู้อื่น หากไอ หรือจามต้องปิดจมูกด้วยผ้า หรือทิชชู่เสมอ และไม่ลืมล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจาย

ที่สำคัญที่สุด หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เริ่มมีอาการป่วย และไม่แน่ใจว่า ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสหรือไม่ ควรดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นทันที 

ได้แก่ หลีกเลี่ยงการสัมผัส คลุกคลี ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน การกักตัวแยกออกจากสังคม แล้วติดต่อขอพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
World Health Organization, WHO advice for international travel and trade in relation to the outbreak of pneumonia caused by a new coronavirus in China (https://www.who.int/ith/2020-0901_outbreak_of_Pneumonia_caused_by_a_new_coronavirus_in_C/en/), 9 March 2020.
Michigan Medicine, University of Michigan, Coronavirus (COVID-19) Update (https://www.uofmhealth.org/coronavirus-covid-19-update), 9 March 2020.
Mayo Clinic Staff, Coronavirus disease 2019 (COVID-19) (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronavirus/symptoms-causes/syc-20479963), 9 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ

ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่รัฐบาลประกาศ มีอะไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?

โรค Covid-19 กับโรคไข้หวัดใหญ่ อาการคล้ายกัน ติดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แล้วทั้ง 2 โรคต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
ออกไปวิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาด
ออกไปวิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาด

วิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัย และการไปออกกำลังกายที่ยิมเสี่ยงติด COVID-19 ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม