คุณล้างมือสะอาดจริงๆ แล้วหรือยัง?

มาดูกันว่า ล้างมืออย่างไรให้สะอาดที่สุด ล้างมือโดยน้ำเพียงอย่างเดียวจะสะอาดปลอดเชื้อหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุณล้างมือสะอาดจริงๆ แล้วหรือยัง?

ในระหว่างวัน มือของคนเราสัมผัสสิ่งต่างๆ มากมาย ทั้งที่เป็นของใช้ของตัวเอง และของส่วนรวมที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เรียกได้ว่า มือ เป็นอวัยวะที่สัมผัสเชื้อโรคอยู่ตลอดเวลา เพียงแค่คุณไม่สามารถมองเห็นเชื้อโรคเหล่านั้นได้ด้วยตาเปล่า วิธีที่จะกำจัดเชื้อโรคออกไปอย่างง่ายที่สุดก็คือ การล้างมือ แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าคุณล้างมือสะอาดพอ ควรจะล้างบ่อยแค่ไหน ล้างมืออย่างไรให้ถูกวิธี HonestDocs มีคำตอบ

การล้างมือสำคัญอย่างไร?

การล้างมือ นอกจะเพื่อกำจัดเชื้อโรคออกไปจากตัวของคุณอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ยังช่วยป้องกันการส่งต่อเชื้อโรคสู่ผู้อื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคต่างๆ ที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส ได้แก่

  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรค โรคหัด ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ
  • โรคระบบทางเดินอาหาร ที่พบได้บ่อยเช่น อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ
  • โรคอื่นๆ เช่น ตาแดง เชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง เริม หิด

ขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้องเป็นอย่างไร?

การล้างมือให้สะอาดควรล้างด้วยน้ำเปล่าและสบู่ มีขั้นตอนการล้างที่ถูกต้องดังนี้

  1. ฝ่ามือถูกัน และใช้ฝ่ามือถูหลังฝ่ามือ ทั้งสองข้าง
  2. ทำความสะอาดบริเวณซอกนิ้วมือ ทั้งสองข้าง รวมไปถึงปลายนิ้วมือด้วย
  3. ถูบริเวณหัวแม่มือและข้อมือ

สาเหตุที่ต้องใช้สบู่ด้วย เนื่องจากน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวไม่สามารถขจัดเชื้อแบคทีเรียบนฝ่ามือได้ แต่ละขั้นตอนข้างต้นควรทำซ้ำอย่างน้อย 3-5 ครั้ง ล้างมือสลับให้ทั่วทั้ง 2 ข้าง

จากการศึกษายังพบอีกว่า บริเวณปลายนิ้วมือและซอกนิ้วทั้งห้าเป็นบริเวณที่มักได้รับการทำความสะอาดไม่ทั่วถึง

สบู่ก้อน สบู่เหลว แอลกอฮอล์ ใช้อะไรล้างมือสะอาดที่สุด?

ปัจจุบันอุปกรณ์ล้างมือมีให้เลือกหลายหลาย เช่น สบู่ก้อน สบู่เหลว แอลกอฮอล์ล้างมือ

การล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นวิธีที่กำจัดเชื้อโรคและสารเคมีออกจากมือได้มากที่สุด ส่วนแอลกอฮอล์ล้างมือนั้น ควรจะเลือกที่มีแอลกอฮอล์ 60% ขึ้นไปจึงจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม จะต้องใช้อย่างถูกวิธีด้วย กล่าวคือให้เทแอลกอฮอล์ลงบนมือข้างหนึ่ง (ดูปริมาณที่ต้องใช้ต่อครั้งที่ฉลากบรรจุภัณฑ์) จากนั้นถูมือสองข้างเข้าด้วยกันให้แอลกอฮอล์กระจายทั่วทุกส่วนของมือ ทำจนกว่าแอลกอฮอล์จะแห้งไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สำหรับมือที่สกปรกอย่างสังเกตได้ด้วยตาเปล่า หรือเป็นคราบมัน แนะนำให้ล้างด้วยสบู่ เนื่องจากการแอลกอฮอล์ไม่ค่อยได้ผล 

ในแต่ละวันควรล้างมือบ่อยแค่ไหน?

ควรล้างมือประมาณ 3-4 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมในแต่ละวันด้วย หากล้างมือบ่อยเกินไปอาจทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ ระคายเคือง จนรับสิ่งกระตุ้นที่เป็นเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่าปกติ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการล้างมือ ดังนี้

  • ควรล้างมือก่อนปรุงอาหารและก่อนรับประทานอาหาร 
  • ควรล้างมือหลังเข้าห้องน้ำหรือหลังสัมผัสสิ่งสกปรกทุกครั้ง เช่น หลังการไอ จาม หลังการสัมผัสผัสสัตว์ทุกชนิด

นอกจากนี้ทุกคนควรล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย หรือหลังจากสัมผัสอุปกรณ์รอบๆ ตัวผู้ป่วยด้วย โดยเฉพาะก่อนและหลังสัมผัสตา จมูก และปาก เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายเข้าเยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย

การเช็ดมือให้แห้งหลังล้างมือสำคัญแค่ไหน?

จากการศึกษาพบว่า มือที่เปียกสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้ดีกว่ามือแห้ง เพราะแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีในที่เปียกชื้น โดยเฉลี่ยแล้ว แบคทีเรียสามารถมีอายุอยู่บนมือของคนเราได้นานถึง 3 ชั่วโมง และสามารถแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเป็นจำนวนมากถึง 4 ล้านตัวภายในระยะเวลาเพียงแค่ 8 ชั่วโมงเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม หากมีผ้าขนหนูสำหรับเช็ดมือภายในบ้าน อย่าลืมเปลี่ยนผ้าบ่อยๆ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคด้วย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์, ล้างมืออย่างไร? ให้สะอาด ปราศจากโรค (Hand hygiene) (http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/966/Hand-hygiene), 2556.
กำธร มาลาธรรม, สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, การล้างมือที่ถูกวิธี ป้องกันการติดเชื้อ (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/), 24 กันยายน 2558.
กรมอนามัย, กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009, โรงพิมพ์ชุนุมสหกรณ์การกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2552.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป