Top 10 โรคร้ายเสี่ยงตายสูงสูดของคนไทย เพราะชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
Top 10 โรคร้ายเสี่ยงตายสูงสูดของคนไทย เพราะชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็ง คือ โรคร้ายอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทยไปมากที่สุด รองลงมา คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารมีไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย จนไขมันไปสะสมอุดตันในหลอดเลือด
  • โรคอื่นๆ ใน 10 อันดับโรคที่คนไทยมักเป็น และเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตผิดๆ เช่น การเล่นโทรศัพท์มือถือ การรับประทานอาหารไขมันสูง ไม่ขยับตัว หรือออกกำลังกาย ซึ่งได้แก่ โรคเบาหวาน โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ โรคอ้วน และน้ำหนักเกิน
  • แต่ก็มีบางโรคใน 10 อันดับที่ยากจะหลีกเลี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยง เช่น วัณโรคซึ่งมักเกิดจากละอองสิ่งสกปรกที่ติดต่อหากันได้อย่างไม่รู้ตัว โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศรอบๆ ตัว
  • โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคเครียด เป็นอีกโรคที่ติดอันดับ 10 โรคที่คนไทยเป็นกันมาก ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้มักไม่แสดงออกอาการให้คนภายนอกรู้มากนัก
  • เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกวัน คุณควรดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี และหมั่นไปตรวจสุขภาพกับแพทย์บ่อยๆ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

ในปัจจุบัน มีโรคร้ายใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบันที่เสี่ยงทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น หรือกลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่เรื้อรังรักษาหายได้ยาก 

โดยโรคที่มักคร่าชีวิตคนไทยไปเป็นจำนวนมากทุกๆ ปีนั้นมีอยู่ 10 โรค ซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันว่า โรคเหล่านั้นมีอะไรกันบ้าง เพื่อที่เมื่อรู้แล้ว คุณจะได้หาทางป้องกัน และดูแลตนเองอย่างเหมาะสมไม่ให้ร่างกายเสี่ยงเจ็บป่วยเป็นโรคเหล่านี้ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. โรคมะเร็ง

ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งมดลูก หรือโรคมะเร็งเต้านม ก็ล้วนแล้วแต่คร่าชีวิตคนไทยไปแล้วมากมาย โดยสถิติการเป็นมะเร็งของคนไทยนั้นเพิ่มสูงขึ้นถึง 70,000 คน และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ  

นอกจากนี้ โรคมะเร็งยังครองอันดับโรคที่มีปริมาณผู้ป่วยมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ถึง 5 ปีซ้อน และมีผู้เสียชีวิตไปด้วยโรคนี้ถึงปีละ 50,000 คน 

อ้างอิงจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี 2561 โรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยใหม่เพศชาย คือ โรคมะเร็งลำไส้ รองลงมา คือ โรคมะเร็งตับ และลำดับ 3 คือ โรคมะเร็งปอด 

ส่วนโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยใหม่เพศหญิง คือ โรคมะเร็งเต้านม รองลงมือ โรคมะเร็งปากมดลูก และลำดับ 3 คือ โรคมะเร็งลำไส้ ซึ่งโรคเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นโรคจากการใช้ชีวิตประจำวันแบบผิด ๆ ของคนในยุคสมัยใหม่ 

2. โรคหลอดเลือดหัวใจ

เป็นอีกโรคที่คนไทยมักเป็นกัน ด้วยนิสัยการทานอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ยอมออกกำลังกาย บริโภคแอลกอฮอล์บ่อย สูบบุหรี่จัด หรือด้วยพันธุกรรมที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้มาก่อน นอกจากนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจยังเป็นอีก 1 โรคแทรกซ้อนของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานด้วย

สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นเกิดจากไขมันส่วนเกินได้ไปจับ หรือเกาะผนังของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ จนหลอดเลือดบริเวณดังกล่าวตีบ และแคบลง จนมีอาการอักเสบ ร่างกายจึงต้องส่งเม็ดเลือดขาวมาทำการซ่อมแซม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อต้องมีปริมาณเม็ดเลือดขาวเข้ามาในหลอดเลือดมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้เม็ดเลือดเหล่านี้เข้าไปอุดตันทางเดินเลือดมากขึ้น จนเลือดไม่อาจถูกส่งไปเลี้ยงหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด ส่งผลให้หัวใจยุดเต้นอย่างเฉียบพลัน และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

3. โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ โรคที่เกิดจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาได้เพียงพอ โดยฮอร์โมนดังกล่าวมีหน้าที่จัดการนำน้ำตาลไปเปลี่ยนเป็นพลังงานในร่างกาย เมื่อฮอร์โมนอินซูลินมีไม่เพียงพอ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าที่ควรจะเป็น และทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ 

โรคเบาหวานแบ่งออกได้ 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes) เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาได้ มักพบในเด็ก หรือในผู้ที่มีกรรมพันธุ์เป็นโรคเบาหวานจากคนในครอบครัว
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพียงพอต่อร่างกายได้ มักพบในผู้ที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ไม่ออกกำลังกาย 

อาการผู้ที่เป็นโรคเบาหวานในเบื้องต้น จะมีอาการปัสสาวะบ่อย และมีสีเข้ม ถ้าปล่อยไว้สักพักจะมีมดมาตอมในปัสสาวะ รวมถึงมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ดื่มน้ำเยอะ หิวน้ำบ่อย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นแผลง่าย และหายยาก เกิดอาการชาตามมือเท้า

4. โรคความดันโลหิตสูง

หรือโรคภาวะความดันโลหิตสูง โดยผู้ป่วยโรคนี้มีความดันสูงถึง 140/90 มิลลิเมตร-ปรอท ขึ้นไป โดยที่ความดันของคนปกติจะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตร-ปรอท โรคความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  1. ชนิดแบบที่ไม่ทราบสาเหตุ (Essential hypertension) ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร พบได้สูงถึง 90-95% ของผู้ป่วยโรคนี้ เชื่อว่า น่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันของเอ็นไซม์ ฮอร์โมน และต่อมที่ควบคุมความดันในร่างกายทำงานผิดปกติไป หรืออาจจะเกิดจากพันธุกรรม การรับประทานอาหาร
  2. ชนิดแบบทราบสาเหตุ (Secondary hypertension) พบแค่ 5-10% ของผู้ป่วย เกิดจากโรคต่างๆ ที่ส่งผลต่อหลอดเลือด ต่อหัวใจ และสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ที่พบบ่อย คือ โรคไตเรื้อรังจากการติดสุรา เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต และเนื้องอกในสมอง

    นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือแม้แต่การทายาสเตียรอยด์บางชนิด ก็สามารถทำให้เป็นโรคนี้เช่นกัน

อาการเบื้องต้นของโรคความดันโลหิตสูง คือ มึนหัว วิงเวียนศีรษะ สับสน เจ็บหน้าอก ใจสั่น เหงื่ออกมาก และปวดศีรษะมาก หากคุณมีอาการเหล่านี้ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะนั่นอาจเป็นอาการเริ่มต้นโรคนี้ได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

5. วัณโรคที่มากับอากาศ 

โรคปอดอักเสบ หรือวัณโรค เป็นโรคระบบทางเดินหายใจชนิดเดียวกัน  ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า "มายโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลสิส (Mycobacterium tuberculosis)" ซึ่งมีแนวโน้มของผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มสูงขึ้นถึงปีละ 70%

จากสถิติปี 2550-2559 จำนวนผู้ป่วยวัณโรคยังคงครองอันดับสูงอยู่ โดยเฉพาะวัณโรคปอดซึ่งเป็นประเภทของวัณโรคที่อยู่อันดับสูงสุด โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง และสามารถติดต่อสู่คนอื่นได้ง่าย โดยเฉพาะจากสารคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกจากร่างกาย 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยวัณฏรคยังอาการทรุดลงได้เร็วหากสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์จัด โดยอาการเบื้องต้นของวัณโรคนั้น ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงออก แต่หลังจากนั้นจะไอแห้งติดต่อกันเกิน 3 สัปดาห์ มีเลือดปนออกมาด้วย นอกจากนี้ ในบางรายอาจมีอาการอ่อนเพลีย หรือไข้ร่วมด้วย 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังจะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดมาก แน่น และเจ็บหน้าอกทุกครั้งที่ไอ หากคุณต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคนี้ ก็ให้จัดสถานที่ให้โล่งโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่คลุกคลี หรือสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง และในคนที่เป็นก็ควรไปรับยาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ 

อีกทั้งตัวผู้ป่วยเองก็ควรอยู่ให้ห่างจากผู้อื่น หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านไปที่ที่มีคนเยอะ เพื่อลดการติดเชื้อ และการแพร่เชื้อสู่คนอื่น

6. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคปอดเรื้อรัง เป็นชื่อกลุ่มโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหอบหืด ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในชั้นเยื่อบุ และชั้นใต้เยื่อบุมากขึ้น 

เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเข้าไปสะสมข้างในชั้นเยื่อเมือกมากๆ ต่อมผลิตเมือกที่อยู่ใต้ชั้นเยื่อบุจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และผลิตเมือกเข้าสู่หลอดลม จนทำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่กวัดกวาดสิ่งสกปรกโดนเมือกเคลือบ แล้วนำพาเอาเมือกจากจุดอื่นๆ เข้าสู่หลอดลมในปริมาณมาก และถุงลมก็จะถูกทำลายจนหายไป

สาเหตุหลักของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้น เกิดมาจากการสูบบุหรี่ การหายใจเอาละอองสารเคมีเข้าไปนานๆ จนเกิดการสะสม มลภาวะในอากาศ และโรคทางพันธุกรรมบางชนิดก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้ 

แต่โดยส่วนมากแล้ว โรคนี้มักจะมาจากผู้ที่สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่จะเข้าไปทำลายเนื้อปอด และหลอดลม ซึ่งในยุคปัจจุบัน คนนิยมสูบบุหรี่กันเยอะขึ้น และเป็นโรคนี้กันมากขึ้นไปด้วย 

อาการของโรคเบื้องต้น คือ มีอาการหน้าอกบวมปูด เหนื่อยง่าย แค่เดินก็เหนื่อยได้ หายใจมีเสียง ถ้ารักษาหรือดูแลตัวเองไม่ดี ก็อาจจะเกิดภาวะหายใจล้มเหลวจนเสียชีวิต

7. โรคภูมิแพ้

ภูมิแพ้ที่มีหลากหลายชนิด สาเหตุมาจากอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณเกิดการตอบสนองใส่ จนเกิดอาการอักเสบ และแสดงออกมาในรูปแบบของอาการแพ้ แม้กระทั่งอากาศ หรืออาหารก็สามารถเป็นสารก่อภูมิแพ้ให้ใครหลายคนได้ 

โรคภูมิแพ้อาจเกิดจากพันธุกรรม และสภาพแวดล้อมรอบตัวคุณเอง อีกทั้งมีอยู่หลากหลายอาการ เพราะอาการแพ้อาจเกิดแทบจะทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งหลักๆ สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

  1. โรคภูมิแพ้ตา เป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ไปสัมผัสบริเวณดวงตาจนเกิดอาการแพ้ เช่น น้ำตาไหล คัดจมูก น้ำมูกไหล
  2. โรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในจมูก และเยื่อบุโพรงจมูกเป็นเวลานานจนเกิดการอักเสบขึ้น
  3. โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดขึ้นเมื่อสารก่อภูมิแพ้ไปสัมผัสกับผิวหนังผู้ป่วย จนเกิดอาการแพ้ หรือระคายเคือง เช่น ผื่นลมพิษ คันระคายเคือง 
  4. โรคภูมิแพ้อากาศ เป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากผู้ป่วยไปสัมผัสกับฝุ่นละออง หรือสารระคายเคืองที่อยู่ในอากาศรอบตัว จนเกิดอาการแพ้
  5. โรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ผู้ป่วยแพ้ มักพบในอาหารทะเล อาหารที่มีนม ถั่ว ไข่ ผงชูรส

8. โรคทางจิตเวช

เมื่อคุณพบกับเหตุการณ์ที่กดดัน ทำให้เครียด หรือวิตกกังวลจัด ก็จะส่งผลทำให้สุขภาพจิตแย่ไปด้วย และอาจทำให้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชขึ้น นอกจากนี้ โรคทางจิตเวชยังพบได้ในผู้ที่รับประทานยาลดความอ้วน ยาระงับประสาท หรือผู้ที่เป็นมาโดยกำเนิด 

สำหรับตัวอย่างโรคทางจิตเวชจะได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรควิตกกังวล โรคแพนิค โรคไบโพลาร์ โรคอัลไซเมอร์ โรคเครียด

ผู้ป่วยโรคทางจิตเวชหลายรายจะไม่แสดงอาการให้คนภายนอกรู้ เพราะกลัวว่า จะถูกมองเป็นตัวประหลาด หรือเป็นผู้ที่อ่อนไหวง่าย ไม่มีความอดทน ซึ่งความจริงแล้ว โรคนี้เกิดได้จากปัจจัยหลายๆ อย่าง และทุกคนไม่ผิดหากจะป่วยเป็นโรคทางจิตเวชได้ 

ผู้ป่วยโรคทางจิตเวชยังสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้เหมือนเดิม เพียงแต่อาจจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากจิตแพทย์ และผู้อยู่ใกล้ชิด ลดความเครียดลงโดยการพูดคุย รู้จักพูดปรับทุกข์กับคนใกล้ชิด ถ้ารู้สึกกดดันให้เอาตัวเองออกจากสถานการณ์นั้นโดยทันที 

และในผู้ป่วยรายที่มีอาการผิดแปลกจนถึงขั้นอาละวาด ให้เรียกศูนย์ช่วยเหลือเพื่อมารับตัวไปพบแพทย์ และวินิจฉัยอาการกันต่อไป

9. โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ

เป็นโรคที่ผู้คนยุคปัจจุบันเป็นกันมากขึ้น โดยเป็นผลมาจากการก้มดูโทรศัพท์ การทำงานหน้าจอคอม รวมถึงการเล่นกีฬาที่หนักเกินไป 

ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อจะรู้สึกปวดรุนแรงมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้น และอาจปวดมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า เมื่อเป็นแล้วอาการเริ่มหนักขึ้น ก็อาจนำพาให้ป่วยมีอาการทางจิตเวชด้วย เพราะโรคนี้มักทำให้เกิดความรำคาญ และดำนินชีวิตได้ลำบากขึ้น เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ และอ่อนเพลีย 

ผู้ที่เป็นโรคระบบกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นอักเสบสามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ จะมีอาการบวมตามข้อมือ ข้อเท้า ไวต่อเสียงและแสง ปวดศีรษะมากในช่วงเช้า ปัสสาวะบ่อย ปวดท้องเรื้อรัง และท้องเสียง่าย ติดต่อกันเป็นเวลานาน 3 เดือน และถ้ามีอาการปวดหัวรุนแรงขึ้นก็ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

10. โรคอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน 

โรคอ้วนก็เป็นอีกโรคที่คนไทยนิยมเป็นกันมาก เพราะด้วยการบริโภคที่ง่ายขึ้น และการทำงาน หรือใช้ชีวิตแบบคนสมัยใหม่ที่ต้องทำงานตลอดเวลา จนไม่ได้ให้ความสนใจต่อการออกกำลังกาย นอกจากนี้ โรคอ้วนยังสามารถเป็นได้แต่กำเนิดด้วย

โรคอ้วนอาจเป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิดได้ แต่มักมีสาเหตุหลักๆ มาจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจเฉียบพลัน ความเครียด

คุณสามารถสังเกตร่างกายตัวเองได้ว่า เสี่ยงเป็นโรคอ้วนหรือไม่ เช่น สังเกตว่า ตนเองมีน้ำหนักที่เกินกว่าความสูงค่อนข้างมากหรือไม่ หรือลำตัวเริ่มหนา และมีอาการหายใจลำบาก หากมีอาการเหล่านี้ นั่นคือ สัญญาณของการเริ่มลดน้ำหนักอย่างจริงจังได้แล้ว ก่อนที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา 

และในผู้ป่วยรายที่มีอาการอ้วนมากเกินไป จนไม่สารถลดได้เอง แพทย์ก็อาจวินิจฉัยเพื่อทำการผ่าตัด ลดกระเพาะอาหารลงได้

โรคร้ายต่างๆ มักเป็นภัยเงียบที่ซ่อนตัวอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดเพี้ยนไป อย่าได้ละเลย หรือคิดว่ายังมาไม่ถึง เพราะเราสามารถเจ็บป่วยได้ทุกเมื่อที่ไม่ดูแลตัวเองให้ดี และไม่ใส่ใจในสุขภาพ,

เพื่อหลีกเลี่ยงโรคทั้ง 10 อย่างนี้ คุณควรใส่ใจการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่าเครียดจนเกินไป และพักผ่อนให้เพียง

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


35 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mental Health: Types of Mental Illness. WebMD. (Available via: https://www.webmd.com/mental-health/mental-health-types-illness#1)
Mental Disorders. MedlinePlus. (Available via: https://medlineplus.gov/mentaldisorders.html)
A List of Psychological Disorders. Verywell Mind. (Available via: https://www.verywellmind.com/a-list-of-psychological-disorders-2794776)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)