เมาค้าง เป็นเพราะอะไร? ข้อมูล สาเหตุ และเคล็ดลับแก้เมาค้าง

เรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาและป้องกันภาวะเมาค้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เมาค้าง เป็นเพราะอะไร? ข้อมูล สาเหตุ และเคล็ดลับแก้เมาค้าง

ทำไมถึงเกิดอาการเมาค้าง?

แอลกอฮอล์เป็นสารที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ หมายความว่ามันสามารถไล่สารน้ำออกจากร่างกายได้ การสูญเสียสารน้ำนั้นรวมถึงการสูญเสียเกลือที่สำคัญ เช่น โพแทสเซียมและแมกนีเซียม นอกจากนี้ระดับน้ำตาลในเลือดก็ยังเกิดการเปลี่ยนแปลง และสารพิษจากแอลกอฮอล์ก็ยังอาจจะยังตกค้างอยู่ในร่างกายได้หลายชั่วโมง ภายหลังจากหยุดดื่มแล้ว การสูญเสียเกลือที่สำคัญเหล่านี้และการขาดน้ำนำไปสู่ภาวะเมาค้าง

การลดอาการเมาค้าง

ชนิดของแอลกอฮอล์ที่คุณดื่มนั้นทำให้เกิดอาการแตกต่างกัน เครื่องดื่มที่ยิ่งเข้มและยิ่งหวานจะมีสารคอนเจเนอร์ (Congeners) หรือสารอินทรีย์ที่ประกอบไปด้วยเมทานอลที่มากขึ้น ดังนั้นบรั่นดี ไวน์แชร์รี (Sherry) ไวน์แดง และวิสกี้ จึงทำให้เกิดอาการเมาค้างได้มากกว่าไวน์ขาวและวอดคา ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราคาถูกมักผ่านการแปรรูปน้อย และอาจทำให้คุณมีอาการเมาค้างได้มากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันและลดอาการเมาค้างก็คือ รับประทานอาหารไปควบคู่กับการดื่มแอลกอฮอล์และดื่มน้ำมากๆ

การถอนอาการเมาค้าง

การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มเติมนั้นสามารถช่วยได้ เนื่องจากสารเอทานอลในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะยับยั้งการสลายเมทานอลให้กลายเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) และกรดฟอร์มิก (Formic Acid)

อย่างไรก็ตาม การดื่มแอลกอฮอล์เพื่อถอนอาการเมาค้างเป็นวิธีบรรเทาอาการเมาค้างที่แย่ เนื่องจากจะยิ่งทำให้ตับและกระเพาะอาหารทำงานหนักขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการเมาค้างในเวลาถัดมาได้อีกซึ่งอาจมีอาการหนักกว่าครั้งแรกที่เป็นได้

สูตรเครื่องดื่มชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ที่ช่วยแก้อาการเมาค้าง

ผสมน้ำมันมะกอก 1 ส่วน ไข่แดงดิบ 1 ฟอง เกลือและพริกไทย ซอสมะเขือเทศ 1-2 ช้อนโต๊ะ ซอสทาบาสโก (Tabasco) วูสเตอร์ซอส (Worcestershire Sauce) และน้ำมะนาว (หรือน้ำส้มสายชู) เล็กน้อยเข้าด้วยกัน

ไข่แดงมีสาร N-Acetyl-Cysteine (NAC) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยในการขับสารพิษที่ได้จากแอลกอฮอล์และควันบุหรี่ ซอสมะเขือเทศให้สารไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) ซึ่งเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน หากคุณไม่สามารถแก้อาการเมาค้างได้โดยไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ให้ผสมสูตรดังกล่าวเข้ากับวอดคาเพราะวอดคามีการเติมสารต่างๆ น้อยกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ

คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับแก้อาการเมาค้าง

  1. ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยสองเท่าของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  2. รับประทานวิตามินซีเล็กน้อย
  3. การรับประทานกล้วย จะช่วยชดเชยเกลือที่หายไปได้
  4. รับประทานน้ำตาลเล็กน้อย เพราะแอลกอฮอล์จะลดระดับน้ำตาลในเลือด
  5. รับประทานยาแก้ปวด โดยควรหลีกเลี่ยงแอสไพรินและยากลุ่มพาราเซตามอล เนื่องจากแอลกอฮอล์มักจะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารของคุณไวต่อสิ่งต่างๆ มากขึ้น และในกลุ่มยาพาราเซตามอลอาจทำให้ตับทำงานหนักเกินไป จนเกิดผลเสียระหว่างที่ร่างกายมีการขับแอลกอฮอล์อยู่
  6. นอนหลับพักผ่อน โดยแค่งีบไม่กี่ชั่วโมงก็สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นแล้ว แต่อย่าขับรถจนกว่าคุณจะรู้สึกว่ากลับมาเป็นปกติจริงๆ 

ควรทราบว่าไม่มีอะไรสามารถเร่งกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายให้เร็วขึ้นได้ และอย่าหลอกตัวเองว่าการดื่มกาแฟเข้มๆ จะช่วยให้อาการดีขึ้นจนเป็นปกติ เพราะที่จริงมันทำได้แค่ชดเชยสารน้ำที่สูญเสียไปเพียงเล็กน้อย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jayawardena R, Thejani T, Ranasinghe P, Fernando D, Verster JC. Interventions for treatment and/or prevention of alcohol hangover: Systematic review. Hum Psychopharmacol. 2017 Sep;32(5). doi: 10.1002/hup.2600. Epub 2017 May 31. (https://dx.doi.org/10.1002/hup.2600)
Mackus M, van de Loo AJAE, Raasveld SJ, Hogewoning A, Sastre Toraño J, Flesch FM et al. Biomarkers of the alcohol hangover state: Ethyl glucuronide (EtG) and ethyl sulfate (EtS). Hum Psychopharmacol. 2017 Sep;32(5). doi: 10.1002/hup.2624. Epub 2017 Jul 6. (https://dx.doi.org/10.1002/hup.2624)
van Schrojenstein Lantman M, van de Loo AJAE, Mackus M, Kraneveld AD, Brookhuis KA, Garssen J, Verster JC. Susceptibility to Alcohol Hangovers: Not Just a Matter of Being Resilient. Alcohol Alcohol. 2018 May 1;53(3):241-244. doi: 10.1093/alcalc/agx107. (https://dx.doi.org/10.1093/alcalc/agx107)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป