กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ติดเชื้อ Covid-19 ต่างกับไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?

ไอ จาม มีน้ำมูก ติดเชื้อ Covid-19 หรือเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดากันแน่? หาคำตอบได้แล้วที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 6 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ติดเชื้อ Covid-19 ต่างกับไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 มักไม่รู้ตัวว่า ตนเองได้รับเชื้อ เนื่องจากมักไม่มีอาการแสดงออกมาในช่วงแรก ต่างจากโรคไข้หวัดธรรมดาที่เมื่อรับเชื้อไป 1-2 วันแรกก็แสดงอาการออกมาให้เห็นแล้ว 
  • การวินิจฉัยโรคไข้หวัดธรรมดาทำได้ไม่ยาก แต่การตรวจหาเชื้อไวรัส Covid-19 จะต้องมีการตรวจเลือด หรือของเหลวหลังโพรงจมูกแล้วส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป
  • การรักษาอาการไข้หวัดธรรมดาทำได้ง่ายๆ ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่น รับประทานยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้  แต่การรักษาการติดเชื้อไวรัส Covid-19 จะรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น และมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้ หากผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงอยู่แล้ว
  • อาการของโรคไข้หวัดธรรมดา และการติดเชื้อไวรัส Covid-19 มีความคล้ายคลึงกัน เพื่อความมั่นใจ และเพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสม หากไม่ได้ออกไปในพื้นที่เสี่ยง หรือพบปะผู้คนที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 ผู้ป่วยจึงควรไปตรวจสุขภาพเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการให้แน่ใจ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกตรวจ Covid-19

ในสถานการณ์ที่เชื้อไวรัส Covid-19 แพร่ระบาดอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ หลายคนเมื่อมีอาการผิดปกติระบบทางเดินหายใจ รู้สึกจมูกไม่ได้กลิ่นอย่างที่เป็นปกติ ก็อาจสงสัยว่า ตนเองติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือเป็นไข้หวัดธรรมดากันแน่ 

วันนี้เราจะมาแจกแจงอาการของโรคไข้หวัดธรรมดา กับการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ว่า แตกต่างกันอย่างไร 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคไข้หวัดธรรมดากับการติดเชื้อไวรัส Covid-19 มีที่มามาจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แต่ความรุนแรงของทั้ง 2 โรคนี้ก็มีความแตกต่างกันอยู่ ดังต่อไปนี้

1. การแสดงอาการ

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 ไปแล้วส่วนมากจะแสดงอาการช้ากว่าผู้ป่วยโรคไข้หวัดธรรมดา 

โดยผู้ป่วยที่ติดไวรัส Covid-19 หลายรายจะไม่มีอาการผิดปกติเลยในช่วง 2-14 วันแรกที่ติดเชื้อ แต่มาแสดงอาการชัดเจนเมื่อเชื้อลุกลามหนักมากขึ้นแล้ว ซึ่งรักษาให้หายได้ยาก โดยอาการมักจะเริ่มแสดงหลังจากติดเชื้อไปแล้วประมาณ 5-6 วัน

นอกจากนี้ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นที่ไม่รู้ว่า ตนเองติดเชื้อ ผู้ป่วยก็อาจแพร่เชื้อไวรัสไปสู่คนรอบข้างแล้ว ซึ่งก็จะยิ่งยากต่อการควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดหนักขึ้นไปอีก 

ในขณะที่โรคไข้หวัดธรรมดา จะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ช่วง 1-2 วันแรกหลังรับเชื้อ และมีสัญญาณบอกอาการป่วยค่อนข้างชัดเจน เช่น เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก แต่อาการจะไม่รุนแรงเท่ากับการติดเชื้อไวรัส Covid-19 อีกทั้งมักรักษาได้ง่าย พักผ่อนให้เพียงพอก็สามารถหายได้แล้ว 

อีกทั้งโอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้หวัดธรรมดายังต่ำมากด้วย แม้แต่อาการที่ลุกลามรุนแรงก็ยังเกิดขึ้นได้น้อย ยกเว้นแต่ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรงตั้งแต่แรก  หรือเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือเป็นผู้สูงอายุ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. การพักรักษาตัว

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดธรรมดาสามารถพักฟื้นเองที่บ้านได้ และมีวิธีรักษาโรคไม่ซับซ้อนมาก เช่น

  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • การดื่มน้ำมากๆ และควรเป็นน้ำอุ่น เพื่อช่วยล้างเสมหะที่ทำให้ระคายเคืองคอ รวมถึงทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง
  • รับประทานยาแก้แพ้ หรือต้านฮีสตามีน (Antihistamines) หรือยาหดหลอดเลือด (Decongestants) เพื่อบรรเทาอาการมีน้ำมูก และคัดจมูก
  • เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเมื่อมีไข้ เพื่อให้ร่างกายสบายตัว และลดอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น
  • หมั่นล้างมือให้สะอาด งดการออกไปในที่สาธารณะชั่วคราวเพื่อป้องกันการนำเชื้อไปให้ผู้อื่น และป้องกันไปการสัมผัสสิ่งสกปรกนอกบ้าน

เพียงทำตามคำแนะนำข้างต้นนี้ ผู้ป่วยโรคไข้หวัดธรรมดาก็สามารถรักษาตนเองให้หายได้แล้ว และยังควรไปเข้ารับการตรวจสุขภาพเพิ่มเติม และรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพิ่มเติมอีกด้วย เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของตนเอง

ในขณะที่ผู้ป่วยเชื้อติดเชื้อไวรัส Covid-19 จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น วิธีการรักษาก็จะขึ้นอยู่กับอาการที่หนักเบาไม่เท่ากันของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนมากจากการติดเชื้อไวรัสตัวนี้ ก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น 

การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถรักษาให้หายได้ เห็นได้จากยอดผู้ที่หายจากโรคนี้ซึ่งก็มีอัตราเพิ่มขึ้นอยู่เช่นกัน แต่อาจต้องใช้เวลา และควรตรวจพบเชื้อตั้งแต่อาการยังไม่หนัก 

ดังนั้นหากคุณมีอาการคล้ายติดเชื้อไวรัส Covid-19 จึงควรรีบไปพบแพทย์ และแจ้งอาการที่เกิดขึ้นให้ทราบโดยทันที 

3. การวินิจฉัยโรค

โรคไข้หวัดธรรมดามีวิธีวินิจฉัยที่ไม่ยากมาก อาจไม่ต้องไปถึงโรงพยาบาลก็ได้ แต่สามารถไปขอรับการตรวจที่คลินิกใกล้บ้าน ทางแพทย์ก็สามารถวินิจฉัยได้แล้วว่า เป็นโรคไข้หวัดธรรมดา และผู้ป่วยจะได้รับการจ่ายยา พร้อมรับคำแนะนำเพื่อกลับไปดูแลตนเองต่อที่บ้าน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ส่วนการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น ทำได้ยากกว่า และมีกระบวนการซับซ้อนกว่ามาก อีกทั้งในปัจจุบันตัวเชื้อไวรัสตัวนี้ได้มีการกลายพันธุ์ออกเป็นหลายสายพันธุ์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ทีมแพทย์ผู้ตรวจต้องยิ่งใช้ความแม่นยำ และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อวินิจฉัยในการตรวจ

อย่างไรก็ตาม ด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อที่มีการกระจายตัวออกไปสูง ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อไวรัส Covid-19 จึงสามารถทำได้หลายวิธีมากขึ้น ได้แก่ การเจาะเลือด และการเก็บตัวอย่างของเหลวหลังโพรงจมูก

อาการของโรคไข้หวัดธรรมดา และการติดเชื้อไวรัส Covid-19 มีความใกล้เคียงกันอยู่ จึงทำให้หลายคนหวาดระแวง และสงสัยว่า ตนเองป่วยเป็นอะไรกันแน่

หากตรวจดูตารางการดำเนินชีวิตของตนเองแล้ว คุณมั่นใจว่า ตนเองไม่ได้ไปในพื้นที่เสี่ยงภัย หรือไม่ได้ออกไปไหนเลย รวมถึงไม่ได้สัมผัสสิ่งสกปรก หรือพบเจอผู้คนที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 มาก่อน ก็อาจไปขอพบแพทย์ที่คลินิก หรือโรงพยาบาลเพื่อขอรับการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยให้แน่ใจ

แต่หากก่อนหน้านั้น คุณได้มีโอกาสไปพบปะผู้คน หรือสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 มาก่อน รวมถึงไปในประเทศที่เสี่ยง หรือสถานที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างมาก ก็ควรไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัส Covid-19 เพื่อความมั่นใจจะดีที่สุด 

ในช่วงที่โรคกำลังระบาดอย่างหนักแบบนี้ คุณควรดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่สะอาดเสมอ หลีกเลี่ยงการออกไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือหากเพิ่งเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงมา ก็ควรกักตัว 14 วันเพื่อรอดูอาการเจ็บป่วยที่อาจขึ้นในระหว่างนั้น 

นอกจากนี้อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ติดตัว และหมั่นล้างมือทำความสะอาดอย่างถูกวิธีเป็นประจำด้วย รวมถึงรักษาระยะห่างระหว่างกันเมื่ออยู่นอกบ้าน (Social distancing) และหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น 

เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ไปได้มากแล้ว และอย่าลืมบอกต่อคนใกล้ชิดให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอย่างเคร่งครัดด้วย เพื่อที่ไม่ใช่แค่คุณเท่านั้นที่จะปลอดภัยจากเชื้อ แต่ยังรวมไปถึงคนในครอบครัว และคนที่คุณรักเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจโควิด รพ. เกษมราษฎร์ ประชาชื่น แบบ RT-PCR | HDmall
รีวิว ตรวจโควิด ATK พร้อมใบรับรองแพทย์ ที่ MN Medical Care | HDmall
รีวิว ประสบการณ์ ติดโควิดแบบไม่แสดงอาการ | HDmall
รีวิว ตรวจโควิด ที่ โรงพยาบาลปิยะเวท | HDmall
รีวิว ตรวจโควิด Drive Thru ที่ รพ.จุฬารัตน์ 9 | HDmall
รีวิวยาต้านโควิด ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) | HDmall
รีวิว ไปโรงพยาบาลช่วงโควิด-19 ระบาด ปลอดภัยไหมนะ | HDmall
รีวิว สวอปตรวจโควิด แหย่จมูก PCR ที่ โรงพยาบาลรัฐบาล | HDmall
รีวิว ตรวจสุขภาพโปรแกรม Long COVID-19 ติดตามอาการหลังหายจากโควิด ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจ Covid-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีน mRNA คืออะไร? ทำงานอย่างไร? ต่างจากวัคซีนชนิดอื่นๆ อย่างไร? มียี่ห้อใดบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/what-is-a-mrna-vaccine).
NHS, Check if you have coronavirus symptoms (https://www.nhs.uk/conditions/coronavirus-covid-19/check-if-you-have-coronavirus-symptoms/), 23 May 2020.
Mayo Clinic Staff, Coronavirus disease 2019 (COVID-19) (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronavirus/symptoms-causes/syc-20479963), 23 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี อาจพบวิธีรักษาโคโรนาแล้ว! อ่านข้อมูลอัพเดทจากแพทย์และการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณะสุขได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

สรุปสถานการณ์โคโรน่าไวรัส ไวรัสอู่ฮั่น หรือ Covid-19 พร้อมรวบรวมแนวทางการรักษาจากประเทศต่างๆ

อ่านเพิ่ม
รวมข้อปฏิบัติระหว่างการกักตัวในระหว่างช่วง Covid-19 ทั้งผู้กักตัว และสมาชิกในบ้าน
รวมข้อปฏิบัติระหว่างการกักตัวในระหว่างช่วง Covid-19 ทั้งผู้กักตัว และสมาชิกในบ้าน

รวมข้อปฏิบัติเมื่อต้องกักตัวอยู่ในบ้าน 14 วัน และมีอาการอย่างไร จึงควรนำตัวส่งโรงพยาบาล

อ่านเพิ่ม