กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?

โรค Covid-19 กับโรคไข้หวัดใหญ่ อาการคล้ายกัน ติดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แล้วทั้ง 2 โรคต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อไวรัส Covid-19 เป็นเชื้อโคโรนาที่กลายพันธุ์ใหม่ ส่วนเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นเชื้อไวรัสชื่อว่า "เชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา" จัดเป็น
  • คุณสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ส่วนวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น ทางมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอดเพิ่งคิดค้นได้สำเร็จในช่วปลายปี 2563 ที่ผ่านมา และในประเทศไทยก็มีแผนที่จะแจกจ่ายวัคซีนเพื่อฉีดให้คนไทยในช่วงกลางปี 2564
  • ระยะการฟักตัวของเชื้อไวรัส Covid-19 จะนานกว่าโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่เมื่อได้รับเชื้อประมาณ 1-2 วันก็จะเห็นอาการป่วยแล้ว ในขณะที่หากติดเชื้อไวรัส Covid-19 อาการจะเริ่มแสดงเมื่อผ่านไปแล้วถึง 5-6 วัน หรืออาจนานถึง 14 วัน
  • การติดเชื้อไวรัส Covid-19 มีความเสี่ยงที่จะทำให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยลุกลามรุนแรงขึ้นจนเสียชีวิตได้ เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจ Covid-19

หลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ผ่านมาได้สักพักแล้ว หลายคนคงเริ่มสังเกตว่า อาการหลังจากติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จะใกล้เคียงกับกลุ่มโรคไข้หวัด ทั้งไข้หวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่ (Flu)

เรามาดูความแตกต่างของทั้ง 2 โรคนี้กันว่า เป็นอย่างไรบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิด

ก่อนอื่นทุกคนต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่นั้น มาจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ซึ่งก็จะมีสายพันธุ์แตกต่างกันไปตามภูมิภาค และแต่ละประเทศ

ส่วนเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น มาจากเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ได้รับการค้นพบมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 แล้ว แต่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใหม่จนเกิดเป็นโรคระบาดในปี 2019 จึงได้ชื่อว่า "เชื้อไวรัส Covid-19" นั่นเอง

2. วัคซีนป้องกัน

เพราะทั้ง 2 โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ 

สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ คุณสามารถเข้ารับการฉีดได้ทุกปี โดยในทุกๆ ปี ทางโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งก็จะมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งผลจากการฉีดวัคซีนอาจไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่เลย

แต่การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างสม่ำเสมอ จะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสที่ก่อโรคนี้ได้ และเมื่อคุณป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ขึ้นมา อาการก็จะไม่รุนแรงมาก และหายได้เร็วขึ้น

ส่วนวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น ในช่วงปลายปี 2563 ทางมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอดได้เพิ่งประกาศว่า ได้คิดค้นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส Covid-19 สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และทางรัฐบาลไทยก็ได้วางแผนที่จะจองซื้อวัคซีนเข้ามาฉีดให้กับประชาชนชาวไทยด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ประกาศว่า ประเทศไทยก็ได้เริ่มผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส Covid-19 ภายในประเทศแล้วเช่นกัน และมีแผนที่จะเริ่มทยอยส่งมอบในช่วงกลางปี 2564 นี้

3. ระยะฟักตัว

ระยะฟักตัวของผู้ติดเชื้อทั้งเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ และเชื้อโรค Covid-19 นั้นมีความแตกต่างกัน 

โดยผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ หลังจากได้รับเชื้อมาไม่เกิน 1-3 วันก็จะเริ่มมีอาการออกมา โดยอาการหลักๆ ของโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้น คือ 

ส่วนผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น ในช่วงแรกมักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นเลย และอาการจะเริ่มแสดงออกมาหลงจากเวลาผ่านไปแล้ว 5-6 วัน หรืออาจนานถึง 14 วันก็ได้

โดยอาการหลักๆ ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 ได้แก่

  • หายใจเร็วขึ้นผิดปกติ หรือหายใจถี่
  • มีน้ำมูก
  • ไอแห้งผิดปกติ
  • เจ็บคอเรื้อรัง
  • มีไข้สูงขึ้น
  • เจ็บหน้าอก
  • จมูกไม่รับกลิ่น
  • ลิ้นไม่รับรสชาติ

อันตรายร้ายแรงอีกอย่างจากเชื้อไวรัส Covid-19 นั่นก็คือ มันสามารถเพิ่มโอกาสในการเสียชีวิตของผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วได้ด้วย เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคความดันโลหิตสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้จากการตรวจสมรรถภาพของปอดผู้ป่วย และผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัส Covid-19 ยังพบว่า ปอดไม่สามารถกลับมาทำได้อย่างเต็มที่เช่นเดิมด้วย 

แต่ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ที่ไม่รีบทำการรักษา ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้นเช่นกัน เช่น เป็นโรคปอดบวม ปอดติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังมากกว่ากลุ่มคนทั่วไป

เพื่อความปลอดภัยของคุณ และคนที่คุณรัก ในช่วงที่การติดเชื้อไวรัสโควิด -19 เริ่มกลับมาระบาดอีกครั้ง เราทุกคนจึงต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่สะอาดอยู่เสมอ ไม่ใช่สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น สวมหน้ากากอนามัย และงดการออกไปพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

หากคุณพบว่า ตนเองกำลังไม่สบาย มีอาการป่วยคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ หรือติดเชื้อไวรัส Covid-19 ให้ตรวจดูว่า ที่ผ่านมา คุณได้ออกไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือได้สัมผัสตัวผู้ที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 หรือไม่ 

หากพบว่า มีประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก็จำเป็นต้องเข้ารับกาตรวจหาเชื้อเพื่อรีบทำการรักษา และจะได้แจ้งคนใกล้ชิดของคุณให้ทราบ เพื่อจะได้รับมือกับความเสี่ยงในการติดเชื้อร่วมด้วยต่อไป

ส่วนผู้ที่ไม่มีประวัติเสี่ยง ก็อาจลองไปตรวจร่างกายกับแพทย์เกี่ยวกับอาการป่วยที่เกิดขึ้น เพื่อขอรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจ Covid-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO, Q&A: Similarities and differences – COVID-19 and Influenza (https://www.who.int/news-room/q-a-detail/q-a-similarities-and-differences-covid-19-and-influenza), 28 March 2020.
CDC, Understanding Influenza Viruses (https://www.cdc.gov/flu/about/viruses/index.htm), 28 March 2020.
CDC, Coronavirus(COVID-19) (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/index.html), 28 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น

มารู้จักเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ข้อมูลที่มี ณ ต้นปี 2020 พร้อมวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงติดเชื้อ ไขคำตอบ มีวัคซีนป้องกันหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ

ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่รัฐบาลประกาศ มีอะไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม
ออกไปวิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาด
ออกไปวิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาด

วิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัย และการไปออกกำลังกายที่ยิมเสี่ยงติด COVID-19 ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม