กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

สรุปสถานการณ์โคโรน่าไวรัส ไวรัสอู่ฮั่น หรือ Covid-19 พร้อมรวบรวมแนวทางการรักษาจากประเทศต่างๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.พ. 2020 อัปเดตล่าสุด 26 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • จากสถานการณ์วันที่ 20 มกราคม พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 59 ราย 
  • ทุกๆ จังหวัดจะต้องทำตามมาตรการ DMHTT คือ เว้ยระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ มีการตรวจวัดอุณหภูมิ และใช้แอปพลิเคชั่นหมอชนะ
  • ยังไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ แต่จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด กับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวดจะต้องปฏิบัติตามกฎมาตรการป้องกันการแพร่เชื้ออย่างเคร่งครัด การเดินทางออกนอกจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงมากอาจต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ และต้องเป็นเหตุจำเป็นเท่านั้น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจ Covid-19

สรุปสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19

เดือนมกราคม 2564

อัปเดตสถานการณ์โควิดประจำวันที่ 20 มกราคม 2564

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 59 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 51 ราย (มาจากการตรวจเชิงรุก 23 ราย) และเป็นผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ 8 ราย ทำให้ผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 12,653 ราย อยู่ในการรักษา 2,961 ราย รักษาหายแล้ว 9,621 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1 ราย ทำให้ผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 71 ราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วันนี้จังหวัดที่มีการเชื่อมโยงผู้ติดเชื้อ เพิ่มนครพนมขึ้น รวมแล้วจึงมีทั้งหมด 62 จังหวัด แต่วันที่ 10-16 มกราคม 64 มีจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อมีถึง 30 จังหวัด แต่ ณ วันนี้ (17-20 มกราคม 64) มีจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อเพียง 18 จังหวัด ซึ่งถือว่าลดลง แต่ยังคงต้องควบคุมสถานการณ์ต่อไป  

อัปเดตสถานการณ์โควิดประจำวันที่ 19 มกราคม 2564

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 171 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 158 ราย (มาจากการตรวจเชิงรุก 125 ราย) และเป็นผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ 13 ราย ทำให้ผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 12,594 ราย อยู่ในการรักษา 3,168 ราย รักษาหายแล้ว 9,356 ราย ผู้เสียชีวิตสะสมยังอยู่ที่ 70 ราย โดยวันนี้ไม่พบจังหวัดใหม่ที่มีการเช่ือมโยงกับผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม ทำให้จังหวัดที่มีการเชื่อมโยงกับผู้ติดเชื้อยังอยู่ที่ 61 จังหวัด

ตัวเลขสะสมประจำจังหวัด 10 อันดับที่เยอะที่สุด มีดังนี้

  1. สมุทรสาคร สะสม 4656 ราย
  2. ชลบุรี สะสม 647 ราย
  3. กรุงเทพมหานคร สะสม 606 ราย
  4. ระยอง สะสม 568 ราย
  5. สมุทรปราการ สะสม 316 ราย
  6. จันทบุรี สะสม 216 ราย
  7. นนทบุรี สะสม 156 ราย
  8. อ่างทอง สะสม 105 ราย 
  9. นครปฐม สะสม 77 ราย 
  10. ปทุมธานี สะสม 74 ราย 

สถานการณ์แต่ละจังหวัดหากแบ่งตามจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีการเชื่อมโยง มีดังนี้

  • จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ราย อยู่ที่ 10 จังหวัด
  • จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 11-50 ราย อยู่ที่ 12 จังหวัด
  • จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1-10 ราย อยู่ที่ 39 จังหวัด
  • จังหวัดที่ยังไม่มีการพบผู้ติดเชื้อ อยู่ที่ 16 จังหวัด

แผนของกระทรวงสาธารณสุขสำหรับสมุทรสาคร คือเข้าไปตรวจวันละ 600 โรงงาน โรงงานละ 50 คน เพราะยังคงมีเหลืออีกเยอะมากที่ยังไม่ได้ตรวจ โดยจำนวนทั้งหมดมีถึง 11,467 โรงงาน 

แอปหมอชนะวันที่ 16 มกราคม 64 มีการแจ้งเตือนผู้ที่มีความเสี่ยงถึง 3,583 ราย ทำให้ยอดแจ้งเตือน ณ ตอนนี้สะสมไปแล้วกว่า 4,232 ราย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ประเด็นเรื่องการจัดหาวัคซีนที่มีประชาชนกังวล โฆษก ศบค. มีการจัดเตรียมวางแผนมายาวนาน หากพบความเป็นไปได้ว่าวัคซีนที่ไหนมีความน่าเชื่อถือ โดยมีคณะกรรมการโรคติดต่อให้คำแนะนำ คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเป็นผู้เสนอ ยืนยันว่าข้อมูลอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและน่าเชื่อถือ และยังคงยืนยันว่าปลอดภัยจึงจะฉีด 

สถานการณ์โลกวันนี้พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 473,750 ราย ทำให้ตัวเลขสะสมทั่วโลกอยู่ที่ 96,005,763 ราย (สหรัฐถึง 142,022 ราย) เสียชีวิตสะสมรวมทั่วโลกอยู่ที่ 2,049,238 ราย เพิ่มขึ้นถึง 9,167 ราย (2.1%) ส่วนประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมอยู่อันดับที่ 128 

สถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศมาเลเซียผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 3,306 ราย เมียนมาเพิ่ม 477 ราย โดยที่ประชุม EOC เริ่มประชุมกันว่าควรตอบสนองต่อสภาวะการของประเทศเพื่อนบ้านด้วยอย่างไร นอกจากนี้ ญี่ปุ่นติดเพิ่มถึง 5,998 ราย

อัปเดตสถานการณ์โควิดประจำวันที่ 18 มกราคม 2564

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 369 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 357 ราย (มาจากการตรวจเชิงรุก 275 ราย) และเป็นผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ 12 ราย  ทำให้ผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 12,423 ราย อยู่ในการรักษา 3,147 ราย รักษาหายแล้ว 9,206 ราย ผู้เสียชีวิตสะสมยังอยู่ที่ 70 ราย โดยวันนี้ไม่พบจังหวัดใหม่ที่มีการเช่ือมโยงกับผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม ทำให้จังหวัดที่มีการเชื่อมโยงกับผู้ติดเชื้อยังอยู่ที่ 61 จังหวัด

สถานการณ์ต่างประเทศ วันนี้ตัวเลขสะสมทั่วโลกอยู่ที่ 95,479,062 ราย เพิ่มขึ้นถึง 532,235 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 9,151 ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตรวมทั่วโลกอยู่ที่ 2,039,601 ราย หากนับจากตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 128 ของทั่วโลก สถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้านยังคงน่าเป็นห่วง ประเทศมาเลเซียพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,339 ราย ส่วนเมียนมาพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 449 ราย 

อัปเดตสถานการณ์โควิดประจำวันที่ 15 มกราคม 2564

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 188 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 154 ราย (มาจากการตรวจเชิงรุก 73 ราย) และเป็นผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ 34 ราย (State quarantine 21 ราย และผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าพื้นที่กักกัน 13 ราย) ทำให้ผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 11,450 ราย อยู่ในการรักษา 3,093 ราย รักษาหายแล้ว 8,288 ราย ผู้เสียชีวิตสะสมยังอยู่ที่ 69 ราย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อในวันนี้เยอะที่สุดยังคงเป็นสมุทรสาคร 99 ราย รองลงมาคือกรุงเทพ 27 ราย แต่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ต้องเฝ้าระวังอยู่ วันนี้จังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อ 7 วันที่ผ่านมา มีด้วยกัน 20 จังหวัด ส่วนจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อมาก่อนเลย 17 จังหวัด

สถานการณ์ต่างประเทศ ผู้ติดเชื้อเพิ่ม 749,256 ราย ทำให้สะสม 93,529,253 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 15,361 ทำให้สะสม 2,002,347 ราย มาเลเซียมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,337 ราย  เมียนมาเพิ่ม 605 ราย

อัปเดตสถานการณ์โควิดประจำวันที่ 14 มกราคม 2564 

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 271 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 259 ราย (มาจากการตรวจเชิงรุก 181 ราย) และเป็นผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ 12 ราย (State quarantine 11 ราย และผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าพื้นที่กักกัน 1 ราย) ทำให้ผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 11,262 ราย อยู่ในการรักษา 3533 ราย รักษาหายแล้ว 7660 ราย วันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ทำให้ผู้เสียชีวิตสะสม 69 ราย โดยผู้เสียชีวิตเพิ่มมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ผู้ติดเชื้อต่ำสุดวันนี้อยู่ที่อายุ 2 เดือน 

ตัวเลข 5 จังหวัดแรกที่มียอดติดเชื้อเยอะสุดของวันนี้ คือ

  • สมุทรสาคร 208 ราย (สะสม 3599 ราย)
  • ชลบุรี 16 ราย (สะสม 630 ราย)
  • ระยอง 11 ราย (สะสม 564 ราย)
  • กรุงเทพมหานคร 14 ราย (สะสม 526 ราย)
  • สมุทรปราการ 5 ราย (สะสม 304 ราย)

อย่างไรก็ตาม หากดูแนวโน้มผู้ติดเชื้อดูลดลง ตัวเลขสะสมประจำสัปดาห์ ณ วันนี้ (ของสัปดาห์นี้) อยู่ที่ 1,209 ราย แต่ยังคงไม่สามารถนิ่งนอนใจได้

ยอดดาวน์โหลดแอปหมอชนะขึ้นมาถึง 7.18 ล้านคน และลงทะเบียนแล้วกว่า 5.05 ล้านคน โดย DGA ได้ใช้ข้อมูลติดตามผู้ที่มีความเสี่ยงแล้ว 135 คนในจังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีส่ง SMS ไปให้แล้วเรียบร้อย แต่ยอดดาวน์โหลดที่ตั้งใจให้โหลดมีถึง 40 ล้านคน 

สถานการณ์โลกติดเชื้อสะสม 92,767,845 ราย โดยวันนี้เพิ่มถึง 7.4 แสนคน ปัจจุบันไทยอยู่่ที่อันดับ 128 หากวัดตามตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 

แนวโน้มผ่อนคลายประกาศในครั้งนี้ จะนับจากวันที่ 4 มกราคม 64 ที่มีการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินมา 14 วัน นั่นคือ 17 มกราคม 64 และหลังจากนั้นคือในวันที่ 18-31 มกราคม 64 จะเป็นช่วงที่ดูสถานการณ์ว่ามีแนวโน้มดีขึ้นหรือไม่ จึงจะพิจารณาผ่อนคลาย 

อัปเดตสถานการณ์ประจำวันที่ 13 มกราคม 2564

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 157 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 132 ราย (มาจากการตรวจเชิงรุก 42 ราย) และเป็นผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ 25 ราย (State quarantine 4 ราย และผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าพื้นที่กักกัน 21 ราย) ทำให้ผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 10,991 ราย อยู่ในการรักษา 3981 ราย รักษาหายแล้ว 6943 ราย

1 ในผู้ติดเชื้อที่อายุน้อยที่สุดวันนี้คือ 9 เดือน จังหวัดที่ยังมีเชื้อชุกอยู่คือ ปทุมธานี สมุทรสาคร ระยอง ทำให้วันนี้มีจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อรวมแล้ว 60 จังหวัด โดยวันนี้เพิ่มพิษณุโลกเข้าไป ส่วนกรณีที่มีคนกังวลว่าคนจากพิษณุโลกที่ติดเพิ่มเป็นคนส่งของ นพ. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน เน้นย้ำว่ามีโอกาสติดเชื้อได้ ควรต้องล้างมือหลังจากสัมผัสของเป็นประจำ

  • จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ราย อยู่ที่ 10 จังหวัด
  • จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 11-50 ราย อยู่ที่ 12 จังหวัด
  • จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1-10 ราย อยู่ที่ 38 จังหวัด
  • จังหวัดที่ยังไม่มีการพบผู้ติดเชื้อ อยู่ที่ 17 จังหวัด

ยอดตัวเลขผู้ลงทะเบียนแอปหมอชนะมีแล้ว 4.83 ล้านคน แต่จากกรณีที่มีการเผยแพร่คลิปที่มีการตอบแบบประเมินในแอปหมอชนะว่าอาจประเมินคลาดเคลื่อน ในที่ประชุม ศบค. พบว่าไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป และได้ทำการตัดทิ้งออกไปจากแอปแล้ว แต่ยังคงมีความสำคัญในการใช้เพื่อบอกว่าเรามีความเสี่ยงหรือไม่ ซึ่งต้องรอจำนวนคนใช้เยอะกว่านี้ก่อน 

จังหวัดที่มียอดผู้ติดเชื้อรวมตั้งแต่ 18 ธันวาคม 63 ถึง 13 มกราคม 64 มีดังนี้

  1. สมุทรสาคร จำนวนสะสมอยู่ที่ 3391 ราย
  2. ชลบุรี จำนวนสะสมอยู่ที่ 620 ราย
  3. ระยอง จำนวนสะสมอยู่ที่ 541 ราย
  4. กรุงเทพ จำนวนสะสมอยู่ที่ 512 ราย
  5. สมุทรปราการ จำนวนสะสมอยู่ที่ 298 ราย
  6. จันทบุรี จำนวนสะสมอยู่ที่ 212 ราย
  7. นนทบุรี จำนวนสะสมอยู่ที่ 147 ราย
  8. นครปฐม จำนวนสะสมอยู่ที่ 75 ราย
  9. อ่างทอง จำนวนสะสมอยู่ที่ 84 ราย
  10. ปทุมธานี จำนวนสะสมอยู่ที่ 67 ราย

สถานการณ์โลก ผู้ติดเชื้อรวมแล้ว 92,006,165 ราย โดยวันนี้เพิ่มถึง 663,353 ราย สหรัฐประเทศเดียวเพิ่มถึง 222,121 ราย สถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านเรา มาเลเซียพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3309 ราย และได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศ โดยห้ามเดินทางทั่วประเทศ 14 วัน และห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวกัน เมียนมาพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม  551 ราย 

อัปเดตสถานการณ์ประจำวันที่ 12 มกราคม 2564 

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 287 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 153 ราย (มาจากการตรวจเชิงรุก 125 ราย) มาจากต่างประเทศ 9 ราย (State quarantine) ทำให้ผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 10,834 ราย อยู่ในการรักษา 4035 ราย รักษาหายแล้ว 6732 ราย

ณ วันนี้มีจังหวัดร้อยเอ็ดเพิ่มขึ้นมาในประวัติการเชื่อมโยงเชื้อด้วย เรียงจังหวัดที่มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุด 5 จังหวัดในช่วงวันที่ 18 ธ.ค. 63-12 ม.ค. 64 อาจมีดังนี้

  • สมุทรสาคร 
  • ชลบุรี
  • ระยอง
  • กรุงเทพ
  • สมุทรปราการ

หากแบ่งผู้ป่วยสะสมในภาคต่างๆ อาจมีดังนี้ 

  • กรุงเทพฯ นนทบุรี 3,063 ราย
  • ภาคเหนือ 283 ราย 
  • ภาคกลาง 6,552 ราย 
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 156 ราย 
  • ภาคใต้ 780 ราย 

เรื่องพยาบาลสนามจังหวัดอุบลราชธานี สามารถรับผู้ป่วยได้หลักร้อยถึงหลักพันขึ้นไป โดยมีกรรมการหอการค้าเข้ามาพร้อมสำหรับให้ความช่วยเหลือในภาคเอกชน หากภาครัฐมีมาตรการออกมา ภาคเอกชนสามารถช่วยเหลือได้ 

สถานที่โรงพยาลบาลสนามมีพื้นที่กว้าง อาจมีการแยกพื้นที่ไว้สำหรับให้ผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้ออาศัย หากมีไม่มีอาการ ค่อยย้ายไปในส่วนที่สะอาดมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยสำหรับคนอื่นๆ ที่อาจยังไม่มีเชื้อ 

สถานการณ์ของโลกผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 91,314,370 ราย เพิ่ม 578,421 ราย สหรัฐติดเพิ่ม 214,683 ราย อินเดียเพิ่ม 12,482 ราย บราซิลเพิ่ม 28,043 ราย ส่วนสถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้านประเทศเมียนมา ติดเพิ่ม 582 ราย มาเลเซียเพิ่ม 2,232 ราย

อัปเดตสถานการณ์ประจำวันที่ 11 มกราคม 2564

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 249 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 224 ราย (มาจากการตรวจเชิงรุก 48 ราย) และผู้ที่เข้าประเทศอยู่ในระหว่างกักตัว (State quarantine) 11 ราย รวมถึงผู้ที่ไม่เข้าพื้นที่กักตัว 14 ราย ทำให้ผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 10,547 ราย อยู่ในการรักษา 3,914 ราย รักษาหายแล้ว 6,566 ราย 

ตัวเลขรวมตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 63 จนถึงวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรวมถึง 6,090 ราย จังหวัดที่มีสะสมเกิน 50 ราย มีจำนวน 9 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้ป่วยสะสม 11-50 ราย มีด้วยกัน 13 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสะสม 1-10 ราย มีจำนวน 36 จังหวัด 

มีการดาวน์โหลดแอปหมอชนะในรอบ 24 ชั่วโมงนี้ เพิ่มขึ้น 1,549,736 คน ทำให้ยอดรวมสะสมอยู่ที่ 6.34 ล้านครั้ง และมีคนลงทะเบียนแล้วถึง 4,407,201 คน 

กรณีวัยรุ่นที่เสียชีวิตจากการใช้สารเสพติด อาจเป็นหนึ่งใน Cluster หรือกลุ่มก้อนที่อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ เนื่องจากมีการมั่วสุม สุขอนามัยไม่สะอาด และอาจนำเชื้อไปติดคนอื่นๆ จึงขอให้หยุดพฤติกรรมเช่นนี้ทันที

ทั่วโลกมียอดผู้ติดเชื้อทะลุ 90 ล้าน โดยวันนี้เพิ่มวันเดียว 612,214 ราย โดยสหรัฐประเทศเดียวมีมากถึง 213,453 ราย อันดับต่อมา คือ อินเดีย บราซิล 

อัปเดตสถานการณ์ประจำวันที่ 8 มกราคม 2564

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 205 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 131 ราย มาจากการตรวจเชิงรุก 58 ราย และผู้ที่อยู่ในระหว่างกักตัว (State quarantine) 16 ราย

ทำให้ตอนนี้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 9,331 ราย และ ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม จึงทำให้ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 66 ราย โดย ศบค. สรุปตัวเลขผู้ติดเชื้อตั้งแต่เริ่มการระบาดระรอกใหม่ ดังนี้

  • 18-24 ธันวาคม 2563 ผู้ติดเชื้อรวม 1548 ราย
  • 25-31 ธันวาคม 2563 ผู้ติดเชื้อรวม 1037 ราย
  • 1-7 มกราคม 2564 ผู้ติดเชื้อรวม 2627 ราย 

ปัจจุบันนี้มีจังหวัดเชื่อมโยงติดเชื้อรวม 57 จังหวัด เพิ่มบุรีรัมย์ขึ้นมา 1 จังหวัดจัดเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงโดยเมื่อวานที่ยังคงอยู่ที่ 56 จังหวัด  แต่อย่างไรก็ตาม มีรายงานจังหวัดที่ไม่พบเชื้อมาหลายวันติดกัน ดังนี้

  • 16 จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ได้แก่ สระบุรี นครนายก สระแก้ว อุบลราชธานี ชัยภูมิ หนองคาย มหาสารคาม อุดรดิตถ์ นครสวรรค์ สุโขทัย นครศรีธรรมราช ระนอง สงขลา สตูล ตรัง นราธิวาส
  • 4 จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วย 14 วันที่ผ่านมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร อุดรธานี ภูเก็ต 

ประเด็นผู้ที่อาจมีความผิดจากการไม่โหลดแอปหมอชนะ จริงๆ แล้วจะต้ององค์ประกอบ 3 ข้อ คือ ติดเชื้อโควิด จงใจปกปิดข้อมูล และไม่มีแอปหมอชนะ ทำให้มีความยุ่งยาก จึงอาจมีความผิด 

อัปเดตสถานการณ์ประจำวันที่ 6 มกราคม 2564

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 365 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 250 ราย เป็นแรงงานต่างชาติ 99 ราย และผู้ที่อยู่ในระหว่างกักตัว (State quarantine) 16 ราย

ทำให้ตอนนี้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 9,331 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย จึงทำให้ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 66 ราย

ช่วยอายุผู้ที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 ส่วนมากในจังหวัดสมุทรสาครจะอยู่ที่ประมาณ 25-29 ปี และส่วนมากเป็นบุคลากรที่ทำงานในโรงงานที่บรรจุพนักงานได้ถึง 1-200 คน และในตัวจังหวัดสมุทรสาครก็มีจำนวนโรงงานมากถึง 11,302 แห่ง

ดังนั้นความเสี่ยงในการกระจายเชื้อโรคในจังหวัดสมุทรสาครจึงเข้าขั้นวิกฤตหนัก อีกทั้งยังมีชุมชนที่พักอาศัยของแรงงานต่างชาติที่ยังต้องลงพื้นที่ตรวจเชิงรุกอีกหลายแห่งด้วย โดยทางหน่วยงานสาธารณสุขได้วางแผนการตรวจเชิงรุกเพิ่มเติมเป็นรายชั่วโมงในแต่ละวันแล้ว

สำหรับความแตกต่างระหว่าง “พื้นที่ควบคุมสูงสุด” กับ “พื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด” จะมีรายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่ควบคุมสูงสุด ปัจจุบันมี 28 จังหวัด (23+5 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด)
    เป็นพื้นที่ที่จะให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการปิดบริการต่างๆ ตามความเหมาะสม แต่จะไม่มีการล็อกดาวน์ ไม่ปิดเส้นทางการเดินทาง แต่จะลดการเดินทางไปมาหาสู่กัน

    พื้นที่ควบคุมสูงสุดมีกฎ 3 ข้อในการผ่านด่านคัดกรอง คือ ข้อแรก คือ ต้องรับการตรวจอุณหภูมิ และสังเกตอาการ ข้อสอง คือ ตรวจว่า มีแอปไทยชนะหรือไม่ และข้อสุดท้าย คือ สอบถามเหตุผลในการเดินทางออกนอกที่พัก

  • พื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ปัจจุบันมีทั้งหมด 5 จังหวัด มีกฎการปฏิบัติการเหมือนพื้นที่ควบคุมสูงสุดทุกอย่าง แต่ห้ามนั่งบริโภคอาหารในร้านอาหาร และเครื่องดื่มตั้งแต่เวลา 21.00-06.00

    นอกจากนี้หากผู้ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวดต้องการเดินทางข้ามจังหวัด หรือรอยต่อพื้นที่ควบคุม จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ในท้องที่ภูมิลำเนาเสียก่อน

อัปเดตสถานการณ์ประจำวันที่ 5 มกราคม 2564

ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 527 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 82 ราย เป็นแรงงานต่างชาติ 439 ราย และเป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างกักตัว (State quarantine) 6 ราย

ทำให้ตอนนี้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 8,966 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 65 ราย

ทางศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ “ศบค.” ได้ประกาศข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติมสำหรับหลายจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ดังต่อไปนี้

1. มาตรการทุกจังหวัด

ทุกจังหวัดต้องทำตามมาตรการ DMHTT คือ

  • D หรือ Distancing (เว้นระยะห่าง)
  • M หรือ Mask wearing (สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา)
  • H หรือ Hand washing ล้างมือบ่อยๆ
  • T หรือ Testing มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และตรวจหาเชื้อเป็นเฉพาะกรณีไป
  • T มาจาก Thaichana (มีการติดตั้งแอปพลิเคชั่นไทยชนะไว้ทุกคน)

2. มาตรการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุด

  • ปิดสถานที่เสี่ยงทุกแห่ง
  • ห้ามนั่งบริโภคในร้านอาหาร หรือเครื่องดื่มตั้งแต่ 21.00-06.00 น.
  • ตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือรอยต่อพื้นที่ควบคุม โดยต้องมีการบันทึกข้อมูล และดำเนินการตามาตรการ สธ.
  • งด หรือชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ เว้นแต่เหตุจำเป็น หรือขนส่งสินค้า โดยเฉพาะพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ซึ่งได้แก่ จังหวัดที่เสี่ยงแพร่ระบาด คือ สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด
    ผู้ที่เดินทางเข้าออกจังหวัดดังกล่าว อาจมีความเข้มงวดสูง
  • จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม

สำหรับตัวเลข 7 อันดับของผู้ติดเชื้อในแต่ละจังหวัดที่มีการเชื่อมโยงมาจากสมุทรสาคร มีดังต่อไปนี้

  1. สมุทรสาคร มีผู้ติดเชื้อ 2,296 ราย
  2. กรุงเทพมหานคร มีผู้ติดเชื้อ 86 ราย
  3. นครปฐม มีผู้ติดเชื้อ 38 ราย
  4. สมุทรปราการ มีผู้ติดเชื้อ 33 ราย
  5. นนทบุรี มีผู้ติดเชื้อ 17 ราย
  6. เพชรบุรี มีผู้ติดเชื้อ 14 ราย
  7. สมุทรสงคราม มีผู้ติดเชื้อ 13 ราย

นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 2 จังหวัด รวมเป็น 56 จังหวัด โดยจังหวัดที่ถูกเพิ่มเข้ามา คือ สิงห์บุรี และน่าน

ณ ตอนนี้ ยังไม่มีการใช้คำว่า “ล็อกดาวน์” ภายในประเทศ ประชาชนยังสามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้ แต่จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อของแต่ละจังหวัดอย่างเคร่งครัด

อัปเดตสถานการณ์ประจำวันที่ 4 มกราคม 2564

สถานการณ์โลกในตอนนี้ มีผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 510,153 คน มีผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 85,000,000 ราย

ส่วนในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 745 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 152 ราย เป็นแรงงานต่างชาติ 577 ราย และผู้ที่อยู่ในระหว่างกักตัว (State quarantine) อีก 16 ราย

ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 8,439 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย จึงทำให้มียอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 65 ราย

โดยผู้ที่เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีประวัติไปพื้นที่เสี่ยง คือ จังหวัดสมุทรปราการ อาการติดเชื้อที่พบก่อนเสียชีวิต คือ ปวดกล้ามเนื้อ กินอาหารไม่ได้ หอบเหนื่อยผิดปกติ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดตก ปอดอักเสบ และหัวใจล้มเหลว

นอกจากนี้ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยังตรวจพบการเชื่อมโยงของผู้ติดเชื้อกับจังหวัดอื่นๆ อีก 1 ราย จึงทำให้จำนวนจังหวัดที่มีความเชื่อมโยงการติดเชื้อถึงกันนั้นมีอยู่สูงถึง 54 จังหวัด

โดยปัจจุบันจังหวัดที่เป็นพื้นที่ต่างๆ แบ่งเป็นดังนี้

  • พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) 28 จังหวัด
  • พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) 11 จังหวัด
  • พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 38 จังหวัด

ดังนั้นทางรัฐบาลจึงได้มีการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564 นี้เป็นต้นไปโดยไม่มีกำหนดสิ้นสุด โดยมีทั้งหมด 28 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด รายละเอียดของ พ.ร.ก. มีทั้งหมด 8 ใจความหลักๆ ได้แก่

  1. ห้ามใช้อาคาร หรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อ เช่น โรงเรียน
  2. ห้ามจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ เช่น การประชุม การสัมนา การจัดเลี้ยง การแจกจ่ายอาหาร เว้นแต่จะมีการควบคุมดูแล และดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่
  3. ปิดสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ โดยเฉพาะที่เป็นสถานบริการ สถานประกอบการคล้ายกับผับ บาร์ ร้านคาราโอเกะ
  4. กำหนดเงื่อนไขในการเปิดบริการ เช่น จำนวนผู้นั่งบริโภคอาหารในร้านอาหาร ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด หรือให้ซื้อกลับบ้านแทน ห้ามบริโภคสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน
  5. มาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่ โดยอาจพิจารณางด สั่งปิด หรือจำกัดการทำกิจกรรมใดๆ ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการระบาดเพิ่มเติมจากพื้นที่ที่กำหนดได้
  6. มีการตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัดโดยเจ้าหน้าที่และให้ประชาชนงด และชะงอการเดินทางข้ามจังหวัด ยกเว้นแต่มีเหตุจำเป็น
  7. ให้ผู้ประกอบการเอกชนพิจารณารูปแบบการปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลานี้ โดยกาจเป็นการสลับวัน เหลื่อมเวลาเข้าออกงาน ให้ทำงานที่บ้าน เพื่อลดปริมาณผู้ปฏิบัติงานในสถานที่เดียวกัน ซึ่งอาจเสี่ยงติดเชื้อได้
  8. ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกัน เสนอนายก เพื่อความเหมาะสมต่อไป

อัปเดตสถานการณ์ประจำวันที่ 3 มกราคม 2564

ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 315 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 274 ราย แรงงานต่างชาติ 20 ราย และผู้ที่อยู่ในระหว่างกักตัว (State quarantine) 21 ราย

ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 7,694 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 64 ราย 

หากในระหว่างฉลองเทศกาลปีใหม่ คุณได้เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือรู้สึกไม่สบายใจว่า อาการเจ็บป่วยที่จู่ๆ ก็เกิดขึ้นในช่วงนี้เข้าข่ายการติดเชื้อไวรัส Covid-19 หรือไม่ ก็สามารถไปตรวจสุขภาพ หรือเข้ารับบริการตรวจหาเชื้อไวรัส Covid-19 ได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจ Covid-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีน mRNA คืออะไร? ทำงานอย่างไร? ต่างจากวัคซีนชนิดอื่นๆ อย่างไร? มียี่ห้อใดบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/what-is-a-mrna-vaccine).
World Health Organization, Coronavirus disease (COVID-19) outbreak (https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019), 8 March 2020.
Worldometer, COVID-19 CORONAVIRUS OUTBREAK (https://www.worldometers.info/coronavirus/) 8 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ

ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่รัฐบาลประกาศ มีอะไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม
ติดเชื้อ Covid-19 ต่างกับไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?
ติดเชื้อ Covid-19 ต่างกับไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?

ไอ จาม มีน้ำมูก ติดเชื้อ Covid-19 หรือเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดากันแน่? หาคำตอบได้แล้วที่นี่

อ่านเพิ่ม
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?

โรค Covid-19 กับโรคไข้หวัดใหญ่ อาการคล้ายกัน ติดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แล้วทั้ง 2 โรคต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม