การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ถือว่ามีความเสี่ยงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของผู้ดื่ม โดย 14 ดื่มมาตรฐานจะเทียบเท่ากับเบียร์สดที่มีความเข้มข้นของแอลกกอฮอล์ระดับกลางจำนวน 6 ไพนต์ หรือไวน์ที่มีความเข้มข้นของแอลกกอฮอล์ต่ำจำนวน 10 แก้วเล็ก จากการศึกษาวิจัยล่าสุดได้ยืนยันแล้วว่าการดื่มอย่างต่อเนื่องเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายและปัญหาทางสุขภาพ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเผยว่าการดื่มสุราเป็นสาเหตุของโรคร้ายและมะเร็งบางชนิด ดังนั้น ความเชื่อที่ว่าการดื่มทุกวันในปริมาณเพียงเล็กน้อยนั้นดีต่อการทำงานของหัวใจอาจไม่เป็นความจริงอีกต่อไปแล้ว
คำแนะนำเกี่ยวกับอัตราเสี่ยงระดับต่ำจากการดื่มสุรา
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้การดื่มสุราส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แนะนำให้พยายามควบคุมปริมาณการดื่ม ดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ทั้งหญิงและชาย ไม่ควรดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์
- หากดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ แนะนำว่าไม่ควรดื่มหนักในคราวเดียวแต่ควรแบ่งปริมาณการดื่มออกเป็นหลายๆ วัน
- หากต้องการลดปริมาณการดื่มลงเรื่อยๆ แนะนำให้กำหนดวันปลอดสุรา 3-4 วันในแต่ละสัปดาห์
- หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ แพทย์แนะนำให้คุณแม่จำเป็นต้องหยุดดื่มสุราเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์
ไม่มีปริมาณการดื่มใดที่ปลอดภัย!
หากคุณดื่มน้อยกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ นั่นหมายความว่าคุณอยู่ในภาวะเสี่ยงที่น้อยกว่าจากการดื่มสุรา ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณจะปลอดภัย 100% เพราะไม่มีปริมาณการดื่มใดที่ปลอดภัยจริงๆ! อาการป่วยหรือโรคร้ายอันมีสาเหตุมาจากการดื่มสุราอย่างต่อเนื่องกว่า 10 – 20 ปี โดยดื่มมากกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ ดังนี้
- โรคหัวใจ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคตับ
- มะเร็งบริเวณปากหรือภายในลำคอ
- สมองถูกทำลาย
- ระบบประสาทถูกทำลาย
อย่างไรก็ตาม อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มด้วย ดังนั้นการที่คุณดื่มน้อยลงเท่าไหร่ก็จะเป็นการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายหรือมีปัญหาทางสุขภาพลงไปด้วย
การดื่มแบบบินจ์หรือแบบเมาหัวราน้ำ
การดื่มในปริมาณมากอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ดังนี้
- อาจเกิดอุบัติเหตุอันเป็นสาเหตุของอาการบาดเจ็บหรืออาจเสียชีวิตได้
- การตัดสินใจผิดพลาดอาจส่งผลทำให้เกิดสถานการณ์อันเลวร้ายและคาดไม่ถึง
- ขาดการควบคุมตนเองหรือการยับยั้งชั่งใจ อย่างการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ แนะนำให้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่ม ดังนี้
- ควรกำหนดปริมาณการดื่มในแต่ละครั้ง
- ดื่มให้ช้าลง
- ดื่มร่วมกับการทานอาหาร
- ดื่มสลับกับน้ำหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ต่างๆ
ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม
เครื่องคำนวนปริมาณแอลกอฮอล์: https://www.drinkiq.com/th-th/drink-calculator/
หน่วยงานที่คอยสนับสนุนและให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดื่มสุรา:
- สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โทร. 0-2590-3342, 0-2590-3035 หรือ http://www.thaiantialcohol.com/index
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โทร. 0-2343-1500 หรือ http://www.thaihealth.or.th/
- ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา สายด่วน 1413 หรือ http://www.1413.in.th/
- มูลนิธิรณรงค์ช่วยให้เลิกบุหรี่และสารเสพติด โทร. 0-2807-6477 และสายด่วน 08-1921-1479 หรือ http://www.saf.or.th/
- สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี หรือ สถาบันธัญญารักษ์ สายด่วน 1165 หรือ http://www.pmnidat.go.th
- โรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ