กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

โนโรไวรัส

รู้จักไวรัสร้าย ตัวการทำให้ระบบทางเดินอาหารอักเสบ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยบางกลุ่มอาการอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โนโรไวรัส

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การติดเชื้อโนโรไวรัส (Norovirus)ทำให้ระบบทางเดินอาหารอักเสบโดยเฉพาะกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ คลื่นไส้อาเจียน สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัยและพบได้ทั่วโลก 
  • โนโรไวรัสแพร่ระบาดได้หลายทาง เช่น การรับประทานอาหาร ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส การสัมผัสอุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อโนโรไวรัสโดยตรง การสัมผัสสิ่งของ หรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสแล้วนำเข้าปาก 
  • การติดเชื้อโนโรไวรัส หากอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาด้วยตนเองได้ เช่น ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อยๆ รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย พักผ่อนมากๆ แต่หากอาการรุนแรง โดยเฉพาะทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ และผู้มีโรคประจำตัวควรรีบส่งแพทย์ทันที 
  • ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโนโรไวรัส แต่เราสามารถป้องกันตนเองและคนที่รักได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ทั้งการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ การดื่มน้ำที่สะอาด การล้างมือบ่อยๆ การไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ 

ท้องเสียเป็นอาการเจ็บป่วยที่พบบ่อย หากเป็นเพียงท้องเสียทั่วไป อาการจะหายไปเองภายใน 1-2 วัน โดยไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ แต่หากติดเชื้อแบคทีเรีย หรือติดเชื้อไวรัสเข้า อาการย่อมรุนแรงขึ้นทวีคูณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโนโรไวรัส

โนโรไวรัส (Norovirus) 

เป็นไวรัสที่ทำให้ระบบทางเดินอาหารอักเสบโดยเฉพาะกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ คลื่นไส้อาเจียน โนโรไวรัสแพร่ระบาดได้ง่ายในฤดูหนาว และติดต่อได้ง่ายในอากาศเย็น เรียกว่า "Winter vomiting bug"

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การติดเชื้อโนโรไวรัสสามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัยและพบได้ทั่วโลก หากทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อโนโรไวรัส อาการอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

การแพร่ระบาดของโนโรไวรัส

สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วผ่านช่องทางต่อไปนี้

  • การรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส 
  • การรับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก 
  • การรับประทานหอยน้ำรมจากแหล่งเพาะเลี้ยงที่ไม่สะอาด 
  • การสัมผัสอุจจาระ หรืออาเจียนของผู้ป่วย 
  • การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อโนโรไวรัสโดยตรง
  • การสัมผัสสิ่งของ หรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสแล้วนำเข้าปาก 

ความน่ากลัวของโนโรไวรัส

  • แม้จะได้รับเชื้อปริมาณเล็กน้อย (ไม่ถึง 100ตัว) ก็เกิดโรคได้เช่นกัน  
  • โนโรไวรัสมีความทนทานต่อความร้อนได้สูงสุดถึง 60 องศาเซลเซียส 
  • โนโรไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิว หรือสิ่งของได้นานหลายวัน
  • โนโรไวรัสมีความทนทานต่อน้ำยาฆ่าเชื้อและแอลกอฮอล์ สามารถกำจัดเชื้อได้ด้วยสารจำพวกฟอร์มาลีน หรือสารประกอบคลอรีนเท่านั้น
  • ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแพร่เชื้อได้ง่ายมากตั้งแต่ก่อนมีอาการครั้งแรก และหลังจากอาการหายไป 48 ชั่วโมง คุณสามารถติดเชื้อโนโรไวรัสได้มากกว่าหนึ่งครั้งเพราะว่าไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิต้านทานมาป้องกันเชื้อได้
  • หลังหายป่วย 14 วัน ยังสามารถตรวจพบเชื้อโนโรไวรัสได้ในอุจจาระ
  • ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโนโรไวรัส

อาการของโนโรไวรัส

  • มีไข้ต่ำๆ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • อ่อนเพลีย
  • รู้สึกคลื่นไส้กะทันหัน
  • อาเจียนพุ่ง
  • ปวดท้อง
  • ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ

อาการเหล่านี้จะปรากฏออกมาภายใน 12-48 ชั่วโมง หลังจากติดเชื้อและมักจะมีอาการยาวนานมากถึง 2-3วัน จากนั้นอาการจะดีขึ้นและหายเองได้

ปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อติดเชื้อโนโรไวรัส

หากมีอาการท้องร่วงและอาเจียนกะทันหัน สิ่งสำคัญที่สุดคือ การหยุดพักอยู่บ้านไปจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น 

ปัจจุบันยังไม่มียาจำเพาะในการรักษาโนโรไวรัส จึงเน้นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น

หากอาการไม่รุนแรงมีแค่อาเจียน ท้องเสีย ควรดื่มน้ำเกลือแร่ รับประทานอ่อน ย่อยง่าย หรือซุป หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม หรือน้ำผลไม้เนื่องจากอาจทำให้อาการท้องร่วงทรุดลงได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากมีไข้ หรือปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ควรรับประทานยาพาราเซตตามอลเพื่อลดไข้และบรรเทาอาการปวดเมื่อย และควรพักผ่อนให้มากๆ

โดยทั่วไปอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 3-4 วันไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่หากมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์

  • อาเจียนอย่างหนัก 
  • ปวดท้อง 
  • ถ่ายตลอดเวลา 

อาการดังกล่าวอาจเกิดการขาดน้ำอย่างมากจนมีอาการช็อค ความดันโลหิตต่ำ และเสียชีวิตได้ 

ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เสี่ยงมีอาการรุนแรงจากการขาดน้ำได้แก่ เด็กเล็กและทารก โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่าหนึ่งปีจะมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำสูงมาก รวมทั้งผู้สูงอายุ ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้มีโรคประจำตัว 

สัญญาณอันตรายเสี่ยงต่อชีวิต ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • หากทารก หรือเด็กเล็ก ถ่ายเหลวเป็นเวลานานมากกว่าหกครั้งภายใน 24 ชั่วโมง หรือมีการอาเจียน 3 ครั้ง หรือมากกว่าภายในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • ทารก หรือเด็กเล็ก มีการตอบสนองน้อยลง ตัวร้อน หรือมีผิวซีด
  • ทารกประสบกับอาการของภาวะขาดน้ำรุนแรง เช่น มีอาการวิงเวียนต่อเนื่อง ขับปัสสาวะเล็กน้อย หรือไม่มีเลย หรือสติสัมปชัญญะลดลง สำหรับเด็กเล็กและผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำสูงมาก
  • ท้องร่วงปนเลือด
  • อาการไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 2-3 วัน
  • ทารก หรือเด็กเล็ก มีภาวะสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ เช่น เป็นโรคไตและมีอาการท้องร่วงกับอาเจียน

แพทย์แนะนำว่า ควรนำตัวอย่างอุจจาระไปส่งตรวจห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันว่า ทารก หรือลูกของคุณติดเชื้อโนโรไวรัสหรือไม่ หรือเป็นการติดเชื้ออื่น ๆ

การป้องกันโนโรไวรัส

  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ และล้างอย่างถูกวิธีคือ ต้องล้างให้นานประมาณ 20 วินาที/ครั้ง โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสสิ่งของต่างๆ เข้าห้องน้ำ ก่อนเตรียมอาหาร และก่อนรับประทานอาหาร 
  • ทำความสะอาดฆ่าเชื้อบนพื้นผิว หรือสิ่งของที่อาจปนเปื้อนไวรัสด้วยสารซักฟอกตามบ้านเรือน
  • ห้ามใช้ผ้าเช็ดหน้าและผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
  • กดชะล้างอุจจาระ หรือกองอาเจียนในชักโครกให้หมดและทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบ
  • เลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ อาหารที่ไม่ได้ผ่านการล้างทำความสะอาด และเลือกรับประทานหอยนางรมจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือเพราะหอยนางรมก็เป็นตัวพาหะของเชื้อโนโรไวรัสที่พบได้บ่อย
  • ดื่มน้ำที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
  • ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทาน 
  • ผู้ป่วยต้องงดการปรุงอาหารให้ผู้อื่นรับประทาน 
  • ควรหยุดโรงเรียน หรือลางาน หรือเดินทางไปในที่ต่างๆ เพื่อรักษาตัวที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ 

การติดเชื้อโนโรไวรัสแม้จะมีความน่ากลัว อาการรุนแรงสำหรับคนบางกลุ่ม และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่เราสามารถป้องกันตนเองและคนที่รักได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี 

ทั้งการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ การดื่มน้ำสะอาด การล้างมือถูกวิธีบ่อยๆ การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี และการไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น 

วิธีเหล่านี้นอกจากจะป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัสแล้ว ยังช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ได้ด้วย 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Centers for Disease Control and Prevention (CDC), Norovirus (https://www.cdc.gov/norovirus/index.html), 8 May 2020.
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ท้องเสียจากโนโรไวรัส (Norovirus) (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/369/ท้องเสียจากโนโรไวรัส(Norovirus)/), 8 พฤษภาคม 2563.
MedicineNet, Infection Symptoms, Contagious, Treatments & Incubation Period (https://www.medicinenet.com/norovirus_infection/article.htm), 5 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย สาเหตุ อาการและวิธีรักษาโรค
ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย สาเหตุ อาการและวิธีรักษาโรค

ไข้ไทฟอยด์เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพร่กระจายผ่านอุจจาระ ปนเปื้อนในอาหาร หรือแหล่งน้ำ หากต้องเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง ควรฉีดวัคซีนก่อน

อ่านเพิ่ม