กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์

ทำไมไวรัสถึงมีความแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ?

เหตุที่ไวรัสจุลินทรีย์ร้ายที่ก่อให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ ในสิ่งมีชิวิต "มีความแข็งแรง" มากขึ้นเกิดจากอะไร
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทำไมไวรัสถึงมีความแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไวรัสเป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมากประมาณ 20-300 นาโนเมตร และเป็นปรสิตภายในของสิ่งมีชีวิต (Obligatory intracellular parasite) จำเป็นต้องอาศัยเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น หรือที่เรียกว่า โฮสท์ (Host) ในการดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวน
  • การอาศัยเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่นในการดำรงชีวิตและมีการเพิ่มจำนวนของไวรัสจนก่อให้เกิดโรคในสิ่งมีชีวิตนั้น และมีการส่งต่อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นี่เองที่ทำให้ไวรัสถูกเรียกกันว่า "สิ่งที่ทำให้เกิดโรคติดต่อ (infectious agents)" 
  • ในทุกๆ ปีไวรัสมีความแข็งแกร่งและส่งผลต่อมนุษย์มากขึ้น และด้วยความที่ร่างกายของมนุษย์ค่อยๆ เปลี่ยนไป จุลชีพเหล่านี้ก็จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถเพื่อให้สามารถรุกล้ำและเข้าไปอาศัยอยู่ในโฮสท์ หรือเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นให้ได้
  • การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด การย้ายถิ่น และภาวะโรคร้อน เป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้ไวรัสและแบคทีเรียมีความแข็งแรงขึ้น อีกทั้งการซื้อยามารับประทานเอง หากมีอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น เป็นไข้ ก็ทำให้จุลชีพมีความพยายามกลายพันธุ์เพื่อไม่ให้ถูกทำลาย
  • วิธีเอาชนะไวรัสที่ดีที่สุดคือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ติดตามข่าวสารการระบาดของโรค หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ และฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาด 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรค 

ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า มีโรคระบาดใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และโรคเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส ว่ากันว่า สาเหตุมาจากพวกมันมีความแข็งแรงมากขึ้น บ้างก็ว่าพวกมันมีการกลายพันธุ์มากยิ่งขึ้น 

รู้จักไวรัส


ไวรัสเป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมาก ประมาณ 20-300 นาโนเมตร และเป็นปรสิตภายในของสิ่งมีชีวิต (Obligatory intracellular parasite) จำเป็นต้องอาศัยเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น หรือที่เรียกว่า โฮสท์ (Host) ในการดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การอาศัยเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่นในการดำรงชีวิตและมีการเพิ่มจำนวนของไวรัส จนก่อให้เกิดโรคในสิ่งมีชีวิตนั้น และมีการส่งต่อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นี่เองที่ทำให้ไวรัสถูกเรียกกันว่า "สิ่งที่ทำให้เกิดโรคติดต่อ (infectious agents)" 

สามารถทำให้เกิดผลตั้งแต่ไม่สบายเล็กน้อยไปจนถึงเกิดโรคที่ทำลายระบบต่างๆ ในร่างกาย ก่อให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ในทุกๆ ปีจะดูเหมือนว่า ไวรัสมีความแข็งแกร่งและส่งผลต่อมนุษย์มากขึ้น และด้วยความที่ร่างกายของมนุษย์ค่อยๆ เปลี่ยนไป จุลชีพเหล่านี้ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนสภาพเพื่อเอาตัวรอดเช่นกัน 

หากพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ไวรัสจำเป็นต้องแข็งแรงขึ้นเพื่อให้สามารถรุกล้ำและเข้าไปอาศัยอยู่ในโฮสท์ หรือเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นให้ได้

ไวรัสและระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร?

เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้งแบบไม่จำเพาะ (Non-specific immunity) และแบบจำเพาะ (Specific immunity) จะเริ่มทำงานโดยมองว่า "ไวรัสเป็นผู้บุกรุก" 

ระบบภูมิคุ้มกันจำเป็นต้องทำลายไวรัสและยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสให้สำเร็จ ก่อนที่มันจะเข้าไปในเซลล์และก่อโรค หากไม่เป็นเช่นนี้ มันก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา เนื่องจากเมื่อไวรัสเข้าไปในเซลล์ มันก็จะแบ่งตัวได้มากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การที่จะเกิดขึ้นได้เร็วหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้ 

  • ความแข็งแรงของไวรัสในการหลบหลีกเซลล์เพชรฆาต (Natural Kill cell (NK cell)) 
  • ความสามารถของไวรัสในการหลบหลีกแอนติบอดี (Antibody) 
  • ความสามารถของไวรัสในการหลบหลีกไซโตทอกซิกทีเซลล์ (Cytotoxic T cell) ที่ร่างกายหลั่งออกมา 
  • เซลล์เพชรฆาต แอนติบอดี และไซโตทอกซิกทีเซลล์ ซึ่งเป็นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ล่าช้า หรือทำงานได้มีประสิทธิภาพหรือไม่

ตัวอย่างเช่น การเป็นไข้ หรือการอาเจียนคือ การกลไกการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมประเภทหนึ่งของร่างกาย นอกจากนี้ร่างกายของมนุษย์ยังมีภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในภายหลัง (Acquired Immunity) 

หมายความว่า ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันที่ถูกสร้างขึ้นหลังจากมีการติดเชื้อครั้งแรกและจดจำไวรัสที่เคยติดเชื้อและกำจัดไปแล้วได้ ภูมิคุ้มกันชนิดนี้จะมีความจำเพาะในการกำจัดเชื้อนั้นๆมาก

เมื่อฉีดวัคซีน ร่างกายก็จะได้รับเชื้อโรคระดับเบาเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถเรียนรู้ที่จะกำจัดเชื้อโรคนั้นๆ ออกไปได้อย่างมีประสิทธิผล นี่จึงเป็นเหตุผลว่า "ทำไมถึงมีอาการเป็นไข้ หลังจากฉีดวัคซีน" นั่นเอง

ทำไมไวรัสถึงแข็งแรงขึ้น?

ในปัจจุบันสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ไวรัสมีความแข็งแรงมากขึ้นนั้นมาจาก "การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมรวมถึงการใช้ผิดวิธี การใช้ยาผิดประเภท ไม่ตรงต่อเชื้อ และการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ" 

เหล่านี้เองที่ทำให้เชื้อไวรัสและแบคทีเรียไม่ถูกกำจัด และตัวไวรัสเองก็จะเกิดการพัฒนากลายพันธุ์ หรือเปลี่ยนการจัดเรียงรหัสพันธุกรมใหม่เพื่อให้ตัวไวรัสไม่ถูกกำจัดโดยยาเหล่านั้น และยังทำให้จุลชีพชนิดอื่นๆเกิดการกลายพันธุ์ตามมาอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อะไรที่ทำให้ไวรัสที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตมีจำนวนมากขึ้น

ระบบภูมิคุ้มกันจะจำว่า ไวรัสเป็นศัตรูและหาทางรับมือกับมันหลังจากนั้น ซึ่งในปัจจุบันอาจดูเหมือนว่า เราติดเชื้อได้เร็วขึ้นและไวรัสบางชนิดก็ทำให้เราเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ในเวลาไม่นาน 

อย่างไรก็ตาม มีโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไม่น้อยกว่า 350 โรคที่พบได้ทั่วโลก และมีโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นประมาณทุก 18 เดือน 

สาเหตุที่ทำให้ตัวเลขเหล่านี้เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากการเดินทาง สภาพอากาศ ภาวะโลกร้อน สงคราม การมีประชากรมากเกินไป และการเปลี่ยนแปลงของอาหาร  

แม้ว่าเราจะใช้ยาต้านไวรัส มันก็ไม่ได้หมายความว่าไวรัสจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกาย เพียงแต่ยาต้านไวรัสจะไปลดประสิทธิภาพการหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกันของไวรัส หรือยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเท่านั้น

วิธีเอาชนะไวรัสที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกายโดยง่าย ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง 
  • รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี 
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่นำไปสู่การติดเชื้อไวรัส
  • ติดตามข่าวสารการระบาดของโรคเสมอ 
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ 
  • ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาด

เมื่อร่างกายของเราแข็งแรง และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะนำไปสู่การติดเชื้อไวรัสแล้ว รับรองว่า เชื้อไวรัสย่อมเข้าสู่ร่างกายเรายากขึ้นๆ หรือหากมีการติดเชื้อจริง ความรุนแรงของโรคย่อมลดน้อยกว่าผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรค จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Psychology Today, 6 Ways to Arm Your Immune System to Fight Coronavirus (https://www.psychologytoday.com/us/blog/click-here-happiness/202003/6-ways-arm-your-immune-system-fight-coronavirus), 23 April 2020.
National Center for Biotechnology Information, Viruses in control of the immune system (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1307615/), 23 April 2020.
Everyday Health, Can You Boost Your Immune System to Prevent Coronavirus Spread? (https://www.everydayhealth.com/infectious-diseases/explained-how-your-immune-system-fights-off-coronavirus-and-other-germs/), 23 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคไข้สมองอักเสบ
โรคไข้สมองอักเสบ

โรคติดเชื้อที่สมองสุดอันตราย รักษาไม่ทันอาจเสียชีวิต บางรายแม้รักษาหายแต่ก็มีโอกาสพิการสูง

อ่านเพิ่ม
การเบื่ออาหาร กับโรคไข้หวัด
การเบื่ออาหาร กับโรคไข้หวัด

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดมักเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย ทำให้ละเลยเรื่องสารอาหารที่ควรได้รับ ทั้งๆ ที่อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาโรค

อ่านเพิ่ม
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว

6 โรคพบบ่อยในหน้าหนาว ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด อุจจาระร่วง ไข้สุกใส พร้อมวิธีดูแลรักษาและป้องกัน

อ่านเพิ่ม