กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (โรคชิคุนกุนยา)

อีกภัยร้ายที่มาจากยุงลาย ต้องเฝ้าระวังและป้องกันให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดข้อเรื้อรังรบกวนการใช้ชีวิต
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (โรคชิคุนกุนยา)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ชิคุนกุนยาเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค โรคนี้จะเริ่มต้นเมื่อยุงลายตัวเมียมาดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาซึ่งอยู่ในระยะไข้สูง (จำนวนไวรัสในขณะนั้นจะสูงตามไข้ไปด้วย) เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ตัวยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น
  • อาการของโรคชิคุนกุนยาจะคล้ายกับโรคไข้เลือดออก แตกต่างกันตรงที่เชื้อไวรัสชิคุณกุนยาจะไม่ทำให้น้ำเลือดรั่วออกนอกเส้นเลือด ผู้ป่วยจึงไม่เสี่ยงเกิดอาการช็อก แต่โรคชิคุนกุนยาจะสร้างความทรมานให้ผู้ป่วยด้วยอาการปวดข้อต่างๆ แทน
  • วิธีรักษาโรคชิคุนกุนยาจะรักษาแบบประคับประคองตามอาการผู้ป่วยไปเรื่อยๆ เหมือนโรคไข้เลือดออก
  • วิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุดคือ ป้องกันอย่าให้ยุงกัด เนื่องจากโรคที่เกิดจากยุง หรือมียุงเป็นพาหะนั้นยังไม่มีวิธีป้องกันโดยตรงได้
  • ทั้งโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกต่างเป็นโรคที่ส่งผลอันตรายได้ถึงชีวิต จึงควรหมั่นไปตรวจสุขภาพ ป้องกันไม่ให้ยุงกัด และเข้ารับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกตั้งแต่เนิ่นๆ (ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ที่นี่)

โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคอีกชนิดที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ เกิดได้ทุกเพศทุกวัย แม้ไม่อันตรายเท่าไข้เลือดออก แต่ก็ทำให้เจ็บป่วยรบกวนชีวิตประจำวันได้มาก บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักว่า โรคชิคุนกุนยาเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไร

ความหมายของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ "โรคชิคุนกุนยา (Cjikungunya)" ถูกค้นพบและระบาดครั้งแรกในทวีปแอฟริกาเมื่อ พ.ศ. 2495 โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคที่มียุงลายสวน (Aedes albopictus) เพศเมีย และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เพศเมีย เป็นพาหะนำโรค

โรคนี้จะเริ่มต้นเมื่อยุงลายตัวเมียมาดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาซึ่งอยู่ในระยะไข้สูง (จำนวนไวรัสในขณะนั้นจะสูงตามไข้ไปด้วย) เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ตัวยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เชื้อไวรัสจะไปอยู่ที่ต่อมน้ำลายของยุงตัวเมีย ในระยะนี้หากยุงลายที่มีเชื้อไปกัดใคร คนๆ นั้นก็จะติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาทันที จากนั้นเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาจะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 2-12 วัน ส่วนมากจะพบว่า ใช้เวลาฟักตัว 3-7วัน ผู้ป่วยก็จะเริ่มมีอาการเจ็บป่วยแสดงออกมา

อาการแสดงของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

  • ไข้สูงขึ้นมาเฉียบพลันและอาจมากถึง 40 องศาเซลเซียส
  • มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย
  • ปวดตามข้อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ปวดได้หลายๆ ข้อ 
  • ปวดหัวปวดกล้ามเนื้อ 
  • เยื่อบุตาอักเสบ 
  • มีอาการคัน
  • ตาแดง แต่ไม่พบจุดเลือดออกในตาขาว

อาการของผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาจะคล้ายโรคไข้เลือดออก แต่สิ่งที่โรคนี้แตกต่างจากโรคไข้เลือดออกดังนี้

  • เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาจะไม่ทำให้ผนังเส้นเลือดฝอยผิดปกติจนมีพลาสม่า หรือสารน้ำเลือดรั่วออกนอกเส้นเลือดอย่างรุนแรง ซึ่งอาการนี้เองจะทำให้ความดันโลหิตต่ำและส่งผลให้ผู้ป่วยช็อคได้ 
  • เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่จะสร้างความทรมานให้ผู้ป่วยด้วยอาการปวดตามข้อและข้ออักเสบ ส่วนมากจะปวดข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า โดยเปลี่ยนตำแหน่งการปวดไปเรื่อยๆ อาการปวดจากโรคชิคุนกุนยาอาจรุนแรงมากถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวข้อไม่ได้ และอาการจะเป็นยาวนานต่อเนื่องไปถึง 12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการซ้ำได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ หรือซ้ำได้ในอีกหลายเดือน หรือซ้ำได้อีกเป็นปี

การวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยา

วิธีวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุดคือ การส่งผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบ่งออกได้หลายวิธีดังนี้

  • การเจาะเลือดผู้ป่วยเพื่อนำไปเพาะเชื้อไวรัสในเลือดต่อไป แต่วิธีนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก เพราะโอกาสเพาะเชื้อได้สำเร็จนั้นมีน้อย
  • การเจาะเลือดผู้ป่วยเพื่อสังเคราะห์ดีเอ็นเอในหลอดทดลอง (Polymerase Chain Reaction: PCR) และหาชิ้นส่วนเชื้อไวรัสโรคชิคุนกุนยาต่อไป
  • การเจาะเลือดผู้ป่วยเพื่อตรวจซีโรโลยี (Serology Laboratory) เพื่อหาโปรตีนในร่างกายที่จำเพาะต่อเชื้อชิคุนกุนยา

การรักษาโรคชิคุนกุนยา

การรักษาโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ใช้หลักการเดียวกันกับโรคไข้เลือดออกคือ การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น หากมีอาการไข้จะให้ยาลดไข้ แต่ห้ามใช้ยาแอสไพรินเด็ดขาดเพราะจะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น เช็ดตัวเพื่อลดไข้ 

แนะนำให้สารน้ำให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เพียงพอ

นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังภาวะแทรกซ้อน ร่วมกับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสชิคุณกุนยา และป้องกันมิให้ยุงกัดซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีป้องกันยุงกัด

การป้องกันยุงกัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคที่เกิดจากยุง เนื่องจากโรคที่เกิดจากยุงนั้นไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคได้ โดยเฉพาะเมื่อได้รับเชื้อจากยุงที่เป็นพาหะ 

  • ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น แหล่งน้ำขังที่ไม่จำเป็น เช่น น้ำในกระถางดอกไม้ น้ำในแจกัน น้ำในยางรถยนต์ น้ำขังนอกบ้าน แหล่งน้ำที่จำเป็นต้องใช้ก็ให้หาภาชนะมาปิดให้เรียบร้อย
  • ใส่ทราย หรือแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำป้องกันไม่ให้ยุงลายมาวางไข่
  • จัดหาและใช้อุปกรณ์ป้องกันยุง เช่น มุ้ง มุ้งลวด ในจุดที่ยุงอาจจะเข้าตัวบ้าน หรือใช้พัดลมในการเป่าในที่ที่มืด เช่น ใต้โต๊ะ เพื่อป้องกันยุงกัด
  • ใช้ยาทากันยุง หรือสเปรย์กันยุง ถ้ามีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน หรือไปในที่เสี่ยงต่อยุงชุกชุม
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด หรืออุปกรณ์ป้องกันยุง โดยเฉพาะเด็กเล็ก หากมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน
  • หาอุปกรณ์ดักยุงไว้ตามบริเวณในบ้านที่ยุงชุม เช่น เครื่องดักยุงไฟฟ้า

แม้จะเป็นเรื่องยากในการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดได้โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีสภาพอากาศโดยทั่วไปร้อนชื้นจึงมักมียุงชุกชุม แต่หากลองใช้วิธีป้องกันทุกอย่างตามที่กล่าวไปข้างต้น ความเสี่ยงในการเป็นโรคชิคุนกุนยาก็จะลดลงไปได้ 

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ.นพ.วินิย รัตนสุบรรณ, ชิคุนกุนยา (Chikungunya) (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/955_1.pdf), 28 เมษายน 2563.
อ.นัฏฐเนศวร์ ลับเลิศลบ, โรคชิคนกุนยา (https://www.tm.mahidol.ac.th/eng/tropical-medicine-knowledge/chikungunya.htm), 28 เมษายน 2563.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาะารณสุข, โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) (http://nih.dmsc.moph.go.th/data/data/fact_sheet/2_57.pdf), 23 เมษายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคไข้สมองอักเสบ
โรคไข้สมองอักเสบ

โรคติดเชื้อที่สมองสุดอันตราย รักษาไม่ทันอาจเสียชีวิต บางรายแม้รักษาหายแต่ก็มีโอกาสพิการสูง

อ่านเพิ่ม
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว

6 โรคพบบ่อยในหน้าหนาว ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด อุจจาระร่วง ไข้สุกใส พร้อมวิธีดูแลรักษาและป้องกัน

อ่านเพิ่ม