ข้อมูลของเชื้อไวรัส HIV โรคเอดส์ ที่พบในร่างกายผู้ป่วย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ข้อมูลของเชื้อไวรัส HIV โรคเอดส์ ที่พบในร่างกายผู้ป่วย

a17.gif เชื้อไวรัส HIV เมื่อเข้าสู่ร่างกายของผู้เป็นโรคเชื้อจะกระจายไปตามอวัยวะต่าง ๆ เกือบทั่วร่างกายโดยอาศัยไปกับเม็ดเลือดขาว ซึ่งจะแทรกตัวไปในอวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกาย รวมทั้งสมองด้วย การแตะต้องผิวหนังภายนอกจึงไม่มีอันตราย เพราะเชื้ออยู่ภายในร่างกาย แต่ถ้าเชื้อไวรัสกระจายออกมานอกร่างกาย โดยออกมากับน้ำคัดหลั่งต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วย เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำลาย เสมหะ น้ำตา น้ำนม และปัสสาวะ อุจจาระ ก็ต้องระมัดระวังเพราะอาจติดได้โดยเฉพาะถ้าผู้ไปสัมผัสมีบาดแผลตามผิวหนัง

a17.gif โดยทั่วไป เชื้อไวรัสเมื่อออกมานอกร่างกายของผู้ป่วย จะมีชีวิตอยู่ไม่ได้นาน เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกาย ไม่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อ (หรือกล่าวได้ว่าเป็นเชื้อที่ไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกาย) และเชื้อไวรัสนี้ ก็ไม่สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์อื่น ๆ ได้ ดังนั้นเมื่อเชื้อออกมานอกร่างกายมนุษย์ และสัมผัสกับสภาพความไม่เหมาะสมทางกายภาพ เช่น ความแห้ง แสงแดด ความร้อน ภาวะกรด-ด่าง อายุของเชื้อก็จะยิ่งสั้นลง ยิ่งถ้าถูกสารเคมีหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น Sodium hypochlorite, 70% alcohol, Formaldehyde, Glutaraldehyde, Betadiune Solution เชื้อก็จะยิ่งมีอายุสั้นลงไปอีกเหลือเพียงไม่กี่นาที หรือแม้แต่ผงซักฟอกที่ใช้ตามบ้านก็สามารถทำให้อายุของเชื้อสั้นลงได้เช่นเดียวกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


ระยะฟักตัวของโรค

a17.gif ระยะฟักตัวหมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มรับเชื้อเข้ามาในร่างกายจนกระทั่งเริ่มปรากฏอาการ โดยทั่วไปส่วนใหญ่คนไข้ที่ติดเชื้อโรคเอดส์นี้จะมีระยะฟักตัวนานประมาณ 3-5 ปี หรือนานกว่านั้น แต่ส่วนน้อยอาจมีระยะฟักตัวสั้นมาก อาจสั้นเพียง 6 เดือนเท่านั้น

หมายเหตุ

a17.gif การใช้เข็มฉีดยาที่โรงพยาบาลนั้นโอกาสที่จะได้รับเชื้อเอดส์มีน้อยมาก เนื่องจากในปัจจุบัน โรงพยาบาลเกือบทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดใช้เข็มฉีดยาชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ดังนั้นการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นจึงแทบไม่มี

เข็มที่ใช้ฉีดยาเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง

a17.gif จะสังเกตได้ว่าเข็มที่ผลิตเพื่อใช้ครั้งเดียวทิ้ง จะมีปลายเข็มส่วนที่ต่อกับกระบอกฉีดยาทำด้วยพลาสติกใส มีสีต่าง ๆ ตามขนาดของเข็ม เมื่อแพทย์หรือพยาบาลใช้เสร็จแล้วก็จะทิ้งทันที ซึ่งต่างจากเข็มฉีดยาชนิดที่ผลิตเพื่อใช้ร่วมกัน คือ ส่วนขอบปลายเข็มด้านที่ต่อกับกระบอกฉีดจะเป็นเหล็กชุบโครเมี่ยมเพื่อความคงทนใช้ได้หลายครั้งโดยลับปลายเข็มให้คม


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
HIV Basics | HIV/AIDS. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/hiv/basics/index.html)
HIV/AIDS: Facts, Statistics, Symptoms, Causes, Diagnosis, and Treatments. WebMD. (https://www.webmd.com/hiv-aids/understanding-aids-hiv-basics#1)
HIV/AIDS. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hiv-aids)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)