ความรู้ฉบับกะทัดรัดเกี่ยวกับน้ำตาที่คุณอาจไม่เคยรู้ !  

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความรู้ฉบับกะทัดรัดเกี่ยวกับน้ำตาที่คุณอาจไม่เคยรู้ !  

รู้หรือไม่ ในน้ำตามีองค์ประกอบของไขมันเพื่ออะไร ? ทำไมเวลาเราร้องไห้น้ำมูกถึงไหล ? ทำไมเราถึงไม่สามารถควบคุมเวลาน้ำตาจะไหลได้ ? มารู้จักองค์ประกอบ หน้าที่ และกระบวนการสร้างของน้ำตา และอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ได้ที่นี่  

น้ำตา

น้ำตาเป็นสารน้ำ สร้างจากเนื้อเยื่อต่างๆ ของดวงตา ได้แก่ เยื่อตา ต่อมไมโบเมียน และโดยเฉพาะจากต่อมน้ำตา โดยน้ำตาที่สร้างจากเยื่อตาและต่อมไมโบเมียนเป็นน้ำตามีคุณภาพ หล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นกับเยื่อตากับกระจกตาได้ดี  กว่าน้ำตาจากต่อมน้ำตา (เพราะคงทนกว่า เนื่องจากมีส่วนประกอบของไขมันมากกว่า) แต่สร้างได้ในปริมาณน้อยกว่ามาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

น้ำตาประกอบด้วยสารต่างๆหลายชนิด เช่น  ไขมัน  เมือก  น้ำตาล  โปรตีน  เกลือแร่บางชนิด (เพื่อรักษาสมดุลของความเป็นกรด/ด่าง จะได้ไม่ระคายตา) และสารภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานโรค เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อของเนื้อเยื่อต่างๆของลูกตา

น้ำตามีหน้าที่ล่อลื่นให้ความชุ่มชื่น เพิ่มภูมิต้านโรค และทำความสะอาดหนังตาด้านใน ต่อมต่างๆของหนังตา เยื่อตา และกระจกตา

เมื่อเนื้อเยื่อและต่อมต่างๆสร้างน้ำตาแล้ว น้ำตาจะไหลเข้าสู่ด้านหน้าของดวงตาในบริเวณเยื่อตา (ใต้หนังตาและบริเวณตาขาว) และกระจกตา ซึ่งการกระพริบตาจะช่วยกระจายน้ำตาให้ครอบคลุมส่วนหน้าของดวงตาได้ทั้งหมด (ด้านในของหนังตา เยื่อตา และกระจกตา) หลังจากนั้นจะค่อยๆ ไหลเข้าสู่บริเวณหัวตา ถุงน้ำตา ท่อน้ำตา ซึ่งเปิดออกสู่ภายนอกบริเวณโพรงจมูก และกำจัดระบายออกทางจมูกเป็นน้ำมูกตามลำดับ ดังนั้นเมื่อมีการร้องไห้จึงมีน้ำมูกร่วมด้วยดังกล่าวแล้ว

ในภาวะปกติ การสร้างน้ำตาจะถูกกระตุ้นจากการกระพริบตา การระคายเคืองตาการอักเสบติดเชื้อและการอักเสบไม่ติดเชื้อของเนื้อเยื่อต่างๆ ของลูกตา เยื่อตาและกระจกตาถูกกระตุ้นจากสิ่งหรือสารต่างๆ เช่น พริกไทย เป็นต้น รวมทั้งจากอารมณ์ต่างๆ ซึ่งนอกจากจะกระตุ้นประสาทควบคุมต่อมน้ำตาแล้ว ยังกระตุ้นกล้ามเนื้อต่างๆของใบหน้าให้แสดงอารมณ์นั้นๆออกมา รวมทั้งหนังตาซึ่งกระตุ้นการหลั่งน้ำตา ดังนั้นเมื่อมีอารมณ์เหล่านี้จึงมีน้ำตาไหลได้ เช่น เศร้า หัวเราะ โกรธ หาว และอาเจียน

ต่อมน้ำตา

ต่อมน้ำตามีต่อมเป็นท่อขนาดเล็ก โดยส่วนหนึ่งของต่อมอยู่ในเบ้าตาและอีกส่วนอยู่ใต้หนังตาบน บริเวณที่ตั้งของต่อมน้ำตา คือด้านใต้และเยื้องไปทางด้านข้างของหนังตาบน (ดูภาพประกอบ) มีหน้าที่สำคัญในการสร้างน้ำตา ซึ่งจะไหลเวลาร้องไห้หรือเกิดจากอารมณ์ต่างๆ เช่น ทุกข์  สุข  ขำขัน  หาว  และอาการปวด

ต่อมน้ำตามควบคุมโดยประสาทอัตโนมัติ จึงไหลออกมาเองตามอารมณ์ควบคุมไม่ได้ หรือเมื่อมีการระคายเคืองต่อเยื่อตา  กระจกตา และลูกตา  เช่น จากฝุ่น  สารระเหย (เช่น พริก  พริกไทย  หอมเล็ก)  และแสงสว่างจ้า  เส้นประสาทควบคุมต่อมน้ำตาเป็นประสาทเดียวกับต่อมน้ำลาย (แต่คนละประสาทย่อย) ดังนั้นเมื่อมีการกระตุ้นการสร้างน้ำลายจึงมีน้ำตาออกร่วมด้วย เช่น จากการกินอาหารรสเผ็ดจัด 

นอกจากนั้น การหลั่งและการสร้างน้ำตาจากต่อมน้ำตายังขึ้นกับการกระพริบตาบ่อย ๆ เช่นเดียวกัน ดังนั้นการกระพริบตาบ่อย ๆ จึงเป็นวิธีดูแลดวงตาที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง

ถุงน้ำตาและท่อน้ำตา

  • ถุงน้ำตา เป็นถุงเล็กๆอยู่ด้านข้างของจมูกใกล้หัวตา มีหน้าที่เก็บพักรวมน้ำตาที่ใช้แล้วและปล่อยออกทางท่อน้ำตา ดังนั้นถุงน้ำตาจึงเป็นที่รวมของเชื้อโรค เกิดการอักเสบติดเชื้อได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กๆที่ชอบขยี้ตาด้วยมือที่ไม่สะอาด
  • ท่อน้ำตา เป็นท่อเล็กๆต่อจากถุงน้ำตาเปิดเข้าสู่ด้านล่างและด้านข้างภายในโพรงจมูกเพื่อระบายน้ำตาทิ้ง  เมื่อร้องไห้ น้ำตาออกมากจึงไหลลงในจมูก เป็นสาเหตุให้มีน้ำมูกร่วมด้วยขณะร้องไห้

17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Punctal Plugs for Dry Eyes. All About Vision. (https://www.allaboutvision.com/conditions/punctal-plugs.htm)
The Composition of Tears and Their Role in Eye Health. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/what-are-tears-made-of-3421862)
8 benefits of crying: Why do we cry, and when to seek support. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319631)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป