กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

ไข้หวัดนก (Avian influenza)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไข้หวัดนกเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ อินฟลูเอนซ่า (influenza) ซึ่งพบมากในสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ พบว่า สายพันธ์ุ H5N1 และ H7N9 เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงมากที่สุด สามารถทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงและนำไปสู่การเสียชีวิตทั้งในสัตว์ปีกและคนได้
  • การแพร่ไข้หวัดนกจากสัตว์ปีกสู่คนนั้นจะผ่านการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสเชื้อปริมาณมากๆ โดยตรง หรือโดยอ้อม แล้วเข้าสู่จมูก ตา ปาก รวมทั้งการบริโภคเนื้อไก่ เลือด และไข่ดิบ หรือที่ปรุงแบบกึ่งสุกกึ่งดิบ
  • หลังติดเชื้อไข้หวัดนก ในผู้ป่วยบางรายไวรัสนี้อาจทำให้เป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบ (ตาแดง) เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วจะทำให้มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้สูง หนาวสั่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
  • แม้ไข้หวัดนกจะสามารถรักษาด้วยยาต้านไวรัสแต่บางสายพันธุ์ก็มีการต่อต้านยานี้ ดังนั้นจึงห้ามสัมผัสสัตว์ปีกโดยปราศจากเครื่องป้องกัน ควรล้างมือให้สะอาดหลังการสัมผัสทุกครั้ง การปรุงอาหารและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกให้สุกก่อนบริโภค จึงเป็นการป้องกันโรคไข้หวัดนกที่ดีที่สุด 
  • ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกสำหรับคน แต่พบว่า การฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลอาจช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้ (ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ที่นี่)

ไข้หวัดนก (Avian influenza) เป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2547 ถึง 2 ครั้งด้วยกัน ส่งผลให้มีสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ห่าน นกกะทาล้มตายเป็นจำนวนมาก และบางส่วนก็จำเป็นต้องถูกกำจัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค 

มีรายงานว่า ครั้งนั้นประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกจำนวน 17 ราย และเสียชีวิตมากถึง 12 ราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หลังจากนั้นมาไข้หวัดนกก็เกิดการระบาดอีกหลายครั้ง และมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ดังนั้นบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักโรคไข้หวัดนกเพื่อทราบแนวทางในปฏิบัติที่ถูกต้อง  

รู้จักไข้หวัดนก

เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ อินฟลูเอนซ่า (influenza) ซึ่งพบมากในสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ แม้จะมีสายพันธุ์แยกย่อยหลายสายพันธุ์ เช่น H9N2, H7N7 ไวรัสไข้หวัดนกส่วนใหญ่ไม่ส่งผลกระทบต่อคน 

แต่พบว่า สายพันธ์ุ H5N1 และ H7N9  เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากที่สุด สามารถทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงและนำไปสู่การเสียชีวิตทั้งในสัตว์ปีกและคนได้ เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่จากสัตว์ปีกสู่สัตว์ปีก และแพร่จากสัตว์ปีกสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด รวมทั้งแพร่จากสัตว์ปีกสู่คนได้ 

การแพร่จากสัตว์ปีกสู่คนนั้นจะผ่านการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสเชื้อปริมาณมากๆ โดยตรง หรือโดยอ้อม เช่น การทำงานร่วมกับสัตว์ปีก (ในฟาร์ม) สัมผัสมูลสัตว์ป่วย หรือน้ำมูกสัตว์ป่วย แล้วเข้าสู่จมูก ตา ปาก รวมทั้งการบริโภคเนื้อไก่ เลือด และไข่ดิบ หรือที่ปรุงแบบกึ่งสุกกึ่งดิบ

อาการของโรคไข้หวัดนก

องค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ไวรัสไข้หวัดนก H5N1 และ H7N9 ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ใน 2-3 วัน และ 2-8 วันหลังจากมีการสัมผัสกับเชื้อ (บางกรณีอาจใช้เวลาเพียง 5 วัน) 

ในผู้ป่วยบางรายไวรัสนี้อาจทำให้เป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบ (ตาแดง) เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วจะทำให้มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • หนาวสั่น
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • ไอ
  • เจ็บคอ
  • อาเจียน
  • เจ็บหน้าอก
  • เลือดกำเดาไหล หรือมีเลือดออกตามไรฟัน
  • ปวดศีรษะ
  • ตาแดง
  • อ่อนเพลีย
  • หายใจลำบาก
  • หอบเหนื่อย
  • ปวดท้อง
  • อุจจาระร่วง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดนก

ในผู้ป่วยหลายๆ ราย ไวรัสไข้หวัดนกจะแพร่กระจายไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนล่างจนทำให้เกิดโรคปอดบวม มีอาการที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้

  • หายใจไม่สะดวก
  • เสียงแหบ
  • เสียงแตกขณะหายใจเข้า
  • ไอเป็นเลือด หรือมีเสมหะ

ไข้หวัดนกยังอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ด้วย เช่น

  • ภาวะขาดออกซิเจน หรือมีออกซิเจนในเลือดต่ำ
  • ภาวะการหายใจล้มเหลว
  • การทำหน้าที่ของอวัยวะหลายๆ อย่างผิดปกติและล้มเหลว
  • การติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราทุติยภูมิ โดยเฉพาะโรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย

หากภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้รับการแก้ไขไม่ทันการณ์ หรือผู้ป่วยมีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด อยู่แล้ว อาการอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

การรักษาโรคไข้หวัดนก

โดยปกติจะรักษาด้วยยาต้านไวรัสไม่กี่ชนิด ได้แก่ ยา Oseltamivir ยา Peramivir และยา Zanamivir ซึ่งมีฤทธิ์ในการลดความสามารถในการผลิตเชื้อซ้ำของไวรัสได้  

  • ยา Oseltamivir เป็นยาเม็ด (ต้องให้ในระยะแรกของโรค จึงได้ผลดี) 
  • ขณะที่ยา Peramivir เป็นยาที่ต้องฉีดเข้าเส้นเลือดดำ 
  • ยา Zanamivir เป็นผงแป้งที่ต้องสูดดม 

อย่างไรก็ตาม ไวรัส H5N1 และ H7N9 บางสายพันธ์ุก็ต่อต้านต่อยาต้านไวรัสเหล่านี้

เมื่อค.ศ.2007 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ได้รับรองว่า มีวัคซีนชนิดหนึ่งที่ใช้รักษาไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ได้ วัคซีนนี้ไม่มีขายทั่วไป แต่มีการกักตุนไว้เพื่อใช้ในกรณีเกิดภาวะไข้หวัดนกฉุกเฉินแห่งชาติ* 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

(*อ้างอิงจากวารสารไวรัสวิทยาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 ที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐแคนซัสประกาศถึงการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดนก H5N1 และ H7N9 ที่ใช้สำหรับสัตว์ปีก) 

การระบาดของโรคไข้หวัดนก

มนุษย์ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ครั้งแรกใน ค.ศ. 1997 ในช่วงที่มีการระบาดของโรคในสัตว์ปีกที่ประเทศจีน และเริ่มแพร่กระจายหนักขึ้นใน ค.ศ. 2003-2004 โดยทำให้เกิดการติดเชื้อมากกว่า 700 รายทั่วทั้ง 15 ประเทศ และมีอัตราการเสียชีวิตถึง 60% 

ทั้งนี้พบว่า อินโดนีเซีย เวียดนาม และอียิปต์ มีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส H5N1 มากที่สุด 

ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ไวรัสไข้หวัดนก H7N9 ติดเชื้อครั้งแรกในมนุษย์ 3 คนที่ประเทศจีนเมื่อ ค.ศ. 2013 จนถึงตอนนี้มีผู้ติดเชื้อ H5N1 ที่ได้รับการยืนยันจากห้องปฏิบัติการจำนวน 571 คน 

โดยผู้ติดเชื้อจำนวน 568 รายติดเชื้อในประเทศจีน อีกรายเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางไปมาเลเซีย และอีก 2 รายเป็นชาวแคนนาดาที่เพิ่งกลับจากประเทศจีน

การป้องกันโรคไข้หวัดนก 

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกโดยเฉพาะ แต่มีรายงานว่า กลุ่มเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนก เช่น เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ปีก ผู้มีอาชีพสัมผัสกับสัตว์ปีก ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก หรือต้องดูแลผู้ป่วยไข้หวัดนก  

คนในกลุ่มที่กล่าวมานี้สามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลซึ่งเป็นวัคซีนผสมระหว่างสายพันธุ์ H1N1 H3N2 และ B เพื่อป้องกันโรคได้ในระดับหนึ่ง หรือหากติดเชื้อไวรัสนี้ก็จะสามารถลดความรุนแรงของโรคไข้หวัดนกลงได้

นอกจากนี้การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมดังต่อไปนี้ ยังอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกได้

  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักสดและผลไม้สด ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
  • หากปรุงอาหารจากสัตว์ปีก รวมทั้งไข่สัตว์ปีก จำเป็นต้องปรุงให้สุกด้วยการต้ม ผัด นึ่ง ทอด ห้ามรับประทานแบบกึ่งดิบกึ่งสุก หรือดิบ เด็ดขาด  
  • เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ปีก ผู้มีอาชีพสัมผัสกับสัตว์ปีก ควรระมัดระวังการสัมผัสสัตว์ปีก สวมเครื่องป้องกัน เช่น ถุงมือ หน้ากากอนามัย และรักษาความสะอาดหลังการสัมผัสสัตว์ปีกทุกครั้ง 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่ตายด้วยมือเปล่า
  • ติดตามข่าวสารการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกเป็นประจำ
  • รักษาสุขอนามัยให้ดี เช่น หมั่นล้างมืออย่างถูกวิธีบ่อยๆ
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

แต่หากมีอาการไข้สูง หนาวสั่น เจ็บคอ หายใจลำบาก ไอหอบเหนื่อย ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และมีประวัติเคยเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนก มีการสัมผัสสัตว์ปีก หรือสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดนก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
U.S. Health and Human Services, Safe minimum cooking temperatures. U.S. (https://www.foodsafety.gov/keep/charts/mintemp.html), 6 January 2020.
NHS.UK, Bird flu (https://www.nhs.uk/conditions/bird-flu/), 5 January 2020.
Medlineplus, Bird Flu (https://medlineplus.gov/birdflu.html), 7 January 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้