กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ไวรัสเมอร์ส (MERS-CoV) กับ 8 เรื่องควรรู้ ทำไมจึงร้ายแรง

รู้จักโรคติดเชื้อไวรัสที่มีผลต่อทางเดินหายใจและทางเดินอาหารอย่างรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไวรัสเมอร์ส (MERS-CoV) กับ 8 เรื่องควรรู้ ทำไมจึงร้ายแรง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคติดเชื้อไวรัสเมอร์ส (MERS-CoV) หรือโรคเมอร์ส หรือกลุ่มโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (Coronavirus: CoV)
  • โรคติดเชื้อไวรัสเมอร์สพบการแพร่ระบาดครั้งแรกที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อ พ.ศ. 2555 จากนั้นจึงแพร่ไปยังประเทศใกล้เคียง สำหรับที่มาของเชื้อนี้แพร่มาจากค้างคาวแล้วติดไปที่อูฐ ก่อนแพร่ไปยังชายชาวซาอุฯ ที่ถือว่าเป็นผู้ป่วยรายแรก
  • อาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) ไอหอบ น้ำมูกไหล เจ็บคอ หายใจลำบาก อาการแสดงทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการท้องร่วง 
  • ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนรักษาจึงทำได้แค่รักษาตามอาการเท่านั้น แต่เราสามารถดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง รักษาสุขอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส รวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ประจำปีได้ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่   

หลังมีข่าวแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสเมอร์ส หรือโรคเมอร์ส  (MERS-CoV) ซึ่งคร่าชีวิตชาวเกาหลีใต้ไปหลายรายในช่วง พ.ศ.2548 ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยต่างหวาดวิตก เพราะเป็นโรคระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกับโรคซาร์ส (SARS-CoV) ที่เคยคร่าชีวิตคนไปจำนวนมาก 

ที่สำคัญโรคติดเชื้อไวรัสเมอร์ส หรือโรคเมอร์ส ยังเป็นโรคอุบัติใหม่ ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เพื่อความไม่ประมาทจึงควรทำความรู้จักกับเชื้อร้ายนี้ให้มากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ไวรัสเมอร์ส คืออะไร?

โรคติดเชื้อไวรัสเมอร์ส (MERS-CoV) หรือโรคเมอร์ส  หรือกลุ่มโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (Coronavirus: CoV) 

พบการแพร่ระบาดครั้งแรกที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อ พ.ศ. 2555 จากนั้นจึงแพร่ไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น จอร์แดน การ์ตา ตูนิเซีย ฝรั่งเศส อิตาลี 

สำหรับที่มาของเชื้อนี้แพร่มาจากค้างคาวแล้วติดไปที่อูฐ ก่อนแพร่ไปยังชายชาวซาอุฯ ที่ถือว่าเป็นผู้ป่วยรายแรก

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสเมอร์ส

สำหรับอาการที่พบมีหลากหลาย ที่สำคัญคือ อาการระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะเป็นไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) ไอ หอบ น้ำมูกไหล เจ็บคอ หายใจลำบาก 

อาการระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการท้องร่วง

ในรายที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการในระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอย่างรุนแรงคือ หอบเหนื่อยเพราะขาดออกซิเจน ปอดบวม ปอดอักเสบ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มีภาวะอวัยวะล้มเหลวโดยเฉพาะไตวาย หรืออาจมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ และเสียชีวิตอย่ารวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์ 

ที่สำคัญสําหรับผู้ที่มีโรคประจําตัว ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวาน มะเร็ง ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะหากมีอาการป่วยจะรุนแรงและอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

ไวรัสเมอร์ส เกิดที่ไหนบ้างแล้ว?

ขณะนี้มีรายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย การ์ตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จอร์แดน คูเวต โอมาน เยเมน อียิปต์ เลบานอน ตุรกี อิหร่าน 

อังกฤษ กรีซ อิตาลี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ตูนีเซีย ออสเตรีย แอลจีเรีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา จีน และไทย

ไวรัสเมอร์ส ติดต่อได้อย่างไร?

โรคนี้ไม่ติดต่อกันง่ายนัก ส่วนมากติดต่อได้จากการคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง การสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น ละอองจากการไอ จาม น้ำมูก เสมหะ ที่ติดอยู่ตามสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ แล้วมาป้ายตา จมูก หรือปาก

นอกจากนี้ยังรวมถึงการสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาะของโรค เช่น อูฐ การรับประทานเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เป็นพาหะ เช่น ดื่มนมอูฐ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

 ไวรัสเมอร์ส รักษาได้หรือไม่?

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนรักษาโรคนี้จึงทำได้แค่รักษาตามอาการเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีอัตราผู้ป่วยเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 30-40 
ส่วนมากผู้เสียชีวิตมักจะมีอายุมากกว่า 40 ปี และมีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด 

ประเทศไทยเสี่ยงต่อโรคไวรัสเมอร์สมากน้อยแค่ไหน?

สำหรับประเทศไทยนับว่ามีความเสี่ยงโรคเมอร์ส สูงเช่นกัน เพราะแต่ละปีมีชาวไทยจำนวนไม่น้อยเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย รวมถึงแรงงานที่ไปทำงานในแถบตะวันออกกลาง หรือเกาหลีใต้ 

ทั้งยังมีนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีการระบาดของโรคเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมากอีกด้วย

หากต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่มีไวรัสเมอร์สแพร่ระบาดควรทำอย่างไร?

  • ควรตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีนของตนเองว่า ครบถ้วนหรือไม่
  • ควรงดการสัมผัสกับอูฐ หรือดื่มนมอูฐดิบ
  • ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย
  • ควรหลีกเลี่ยงไปในสถานที่แออัด ที่มีคนรวมกลุ่มเป็นจำนวนมาก
  • ควรรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ล้างมือด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือบ่อยๆ 
  • ไม่ควรสัมผัส หรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือผู้ต้องสงสัยว่าป่วยด้วยโรคนี้
  • หากเดินทางกลับประเทศไทยภายใน 14 วัน แล้วมีอาการเป็นไข้ เป็นหวัด หอบ หรือหายใจลำบาก ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

ควรป้องกันไวรัสเมอร์สอย่างไร?

สำหรับวิธีป้องกันไวรัสเมอร์สก็ปฏิบัติเหมือนกับโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจนั่นเองคือ รักษาร่างกายให้แข็งแรง มีสุขอนามัยที่ดี เช่น หมั่นล้างมือฟอกสบู่บ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อโรค 

หลีกเลี่ยงเข้าไปในสถานที่ชุมชนแออัด หลีกเลี่ยงการคลุกคลี ใกล้ชิดผู้ป่วย 

การใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง 

นอกจากนี้หากต้องเดินทางไปในประเทศตะวันออกกลางก็อย่าไปสัมผัสอูฐ สัตว์พื้นเมือง หรือสัตว์ป่า 

เมื่อรับทราบข้อมูลแบบนี้แล้วก็อย่าได้ตื่นตระหนกมากจนเกินไป เพียงแต่รู้จักสังเกตตัวเอง หรือคนใกล้ชิด แล้วป้องกันคอยเฝ้าระวังโรค ติดตามข่าวสารการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ อย่างใกล้ชิดเพื่อปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ยังควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์, รู้จักโรค MERS-CoV โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (https://med.mahidol.ac.th/qsmc/th/news/announcement/07222015-1203-th), 28 เมษายน 2563.
อ.นพ.สุสัณห์ อาศนะเสน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, ระวัง! ไวรัสเมอร์ส (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1176), 28 เมษายน 2563.
World Health Organization (WHO), Coronavirus (https://www.who.int/health-topics/coronavirus), 28 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคไข้สมองอักเสบ
โรคไข้สมองอักเสบ

โรคติดเชื้อที่สมองสุดอันตราย รักษาไม่ทันอาจเสียชีวิต บางรายแม้รักษาหายแต่ก็มีโอกาสพิการสูง

อ่านเพิ่ม
การเบื่ออาหาร กับโรคไข้หวัด
การเบื่ออาหาร กับโรคไข้หวัด

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดมักเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย ทำให้ละเลยเรื่องสารอาหารที่ควรได้รับ ทั้งๆ ที่อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาโรค

อ่านเพิ่ม
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว
เตือนภัย 6 โรคยอดฮิต! ที่มากับหน้าหนาว

6 โรคพบบ่อยในหน้าหนาว ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด อุจจาระร่วง ไข้สุกใส พร้อมวิธีดูแลรักษาและป้องกัน

อ่านเพิ่ม