กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สายสวนวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter: IUPC)

เมื่อกระบวนการคลอดใช้ระยะเวลานาน แพทย์อาจใช้สายสวนวัดความดันในมดลูกเพื่อใช้ติดตามการบีบตัวของมดลูกได้
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สายสวนวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter: IUPC)

หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากอาจใช้ระยะเวลานานในกระบวนการคลอด แพทย์อาจใช้สายวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter: IUPC) เพื่อติดตามการบีบตัวของมดลูก ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงในการคลอดลูกได้อย่างแม่นยำ

สายวัดความดันในมดลูกคืออะไร

สายสวนวัดความดันในมดลูก เป็นท่อที่ยืดหยุ่นได้ มีขนาดเล็ก สามารถใส่เข้าไปในมดลูกได้ โดยแพทย์จะใส่สายสวนวัดความดันในมดลูกให้อยู่ระหว่างทารกและผนังมดลูกเพื่อใช้ติดตามการบีบตัวของมดลูก ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้สามารถวัดการบีบตัวของมดลูกได้อย่างแม่นยำมากกว่าการใช้เครื่องติดตามจากภายนอก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หน้าที่ของสายสวนวัดความดันในมดลูก

สายสวนวัดความดันในมดลูกจะถูกใช้เมื่อกระบวนการคลอดเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หรือเพื่อประเมินว่าการบีบตัวของมดลูกแรงเพียงพอ หรือมากเกินไปหรือไม่ ซึ่งดูได้จากค่าความดันที่เกิดขึ้นในมดลูกนั่นเอง

การที่จะใส่สายสวนวัดความดันในมดลูกได้นั้น มารดาจะต้องเข้าสู่ช่วงถุงน้ำคร่ำแตก แต่หากยังไม่แตก แพทย์หรือผดุงครรภ์จะเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตกก่อน โดยมักใช้ร่วมกับพิโทซิน (Pitocin) เป็นชื่อทางการค้าของอ็อกซีโทซิน (Oxytocin) ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีบทบาทเกี่ยวกับการคลอดและการให้นมทารก ซึ่งแพทย์จะต้องใส่สายสวนเพื่อวัดระดับความดันในมดลูก เพื่อให้มั่นใจว่าระดับพิโทซินที่ให้นั้นไม่มากเกินไป

หรืออาจใช้ร่วมกับเครื่องฟีทัลสเคปอิเล็กตรอด (Fetal Scalp Electrode: FSE) เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกจากภายใน อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องฟีทัลสเคปอิเล็กตรอดเพียงอย่างเดียว จะมีอัตราการคลอดทางช่องคลอดมากกว่าเมื่อใช้ร่วมกับสายวัดความดันในมดลูก

เมื่อเริ่มใช้สายวัดความดันในมดลูกแล้ว มักจะต้องคาสายนี้ไว้ตลอดกระบวนการคลอด โดยแพทย์จะนำสายติดกับที่ขาเพื่อไม่ให้เลื่อนหลุด

ประโยชน์ของสายวัดความดันในมดลูก

การที่แพทย์สามารถวัดระดับความดันภายในมดลูกได้แม่นยำ จะทำให้สามารถคาดการณ์ช่วงเวลาที่ต้องเข้าไปแก้ไขในกระบวนการคลอดได้ (เมื่อกระบวนการคลอดผิดปกติ)

สายวัดความดันในมดลูกนั้นมักใช้ในกระบวนการคลอดที่ใช้ระยะเวลานาน เช่น มีอายุครรภ์มากกว่าปกติ มารดามีอายุมาก แต่ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลของมารดา หรือทารก ในแง่ของจำนวนที่ต้องผ่าคลอด การคลอดที่ต้องใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วย หรือการใช้คีมเพื่อช่วยคลอด

ข้อเสียของสายวัดความดันในมดลูก

การใช้สายวัดความดันในมดลูกในกระบวนการคลอดอาจทำให้มารดามีไข้สูงขึ้นได้ ซึ่งการที่มารดาเป็นไข้ในระหว่างการคลอดนั้น มักหมายถึงการที่แพทย์จะเริ่มต้นเข้าไปแก้ไขกระบวนการคลอด และอาจนำไปสู่การตรวจเพิ่มเติมสำหรับลูก การแยกลูก และการให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งอาจส่งผลต่อการสร้างความผูกพัน การให้นมบุตร และการฟื้นตัวของร่างกายได้

ดังนั้น ก่อนการใช้สายวัดความดันในมดลูกจะต้องประเมินผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ให้รอบคอบเสียก่อน ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกอื่นที่สามารถใช้แทนที่เครื่องมือนี้ และสอบถามข้อมูลที่ควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือนี้จากแพทย์ประจำตัว


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih.gov, Intrauterine Pressure Catheter: IUPC (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11798454)
emedicine.medscape.com, Intrauterine Pressure Catheter: IUPC (https://emedicine.medscape.com/article/1998044-overview)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป