เทคนิคการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ

ข้อมูล คำแนะนำทีละขั้นตอน และข้อดีข้อเสีย
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เทคนิคการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ

การบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ เรียกอีกอย่างว่า manual expression เป็นเทคนิคที่คุณใช้มือในการบีบน้ำนมให้ไหลจากเต้าแทนการให้ลูกดูดโดยตรงหรือการใช้เครื่องปั๊มน้ำนม

ทำไมต้องเรียนรู้การบีบน้ำนมจากเต้าโดยใช้มือด้วย

คุณอาจจะสงสัยว่าทำไมใครๆก็อยากจะใช้มือตัวเองในการบีบน้ำนมให้ไหลจากเต้า ในเมื่อจะใช้เครื่องปั๊มน้ำนมก็ได้ แม้คุณแม่ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องปั๊มโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเธอต้องปั๊มน้ำนมอยู่บ่อยๆ การบีบน้ำนมโดยใช้มือก็เป็นทักษะที่ควรค่าแก่การฝึกยิ่งนัก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เทคนิคนี้เหมาะจะใช้เมื่อ

• เต้านมของคุณแน่น และรู้สึกไม่สบายใจเวลาอยู่ห่างจากลูก และคุณไม่มีเครื่องปั๊ม

• แหล่งกำเนิดไฟฟ้าของคุณขัดข้อง เครื่องปั๊มไม่ทำงาน หรือต้องการแบตเตอรี่ใหม่

• เต้านมคุณคั่งเป็นก้อน และแข็งเหมือนหินก่อนจะป้อนนมลูก คุณจึงอยากบีบน้ำนมออกสักเล็กน้อยเพื่อให้มีสัมผัสที่นุ่มขึ้น และช่วยให้ลูกน้อยของคุณดูดนมได้ง่ายขึ้น

• คุณกำลังเก็บสะสมน้ำนมเหลือง (Colostrum) ซึ่งเป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกัน และตัวประกอบการเจริญเติบโตของทารก) ให้กับทารกน้อยหรือทารกแรกเกิดของคุณ และเนื่องจากมันมีจำนวนไม่มากคุณจึงไม่อยากสูญเสียน้ำนมเหลืองนี้ไปแม้แต่หยดเดียวจากการใช้เครื่องหรือท่อปั๊ม

11 ขั้นตอนของการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ

การบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือถือเป็นทักษะ ก็เหมือนกับทักษะอื่นๆที่คุณต้องเรียนรู้ว่าจะทำอย่างไร ฝึกให้เกิดความชำนาญเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด คุณสามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้เพื่อให้บีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่

2. นั่งในตำแหน่งที่สะดวกสบาย และพยายามผ่อนคลายเข้าไว้ คุณจะวางผ้าขนหนูอุ่นๆไว้บนหน้าอกหรือนวดเบาๆที่หน้าอกก่อนสักสองสามนาทีก็ได้ เพื่อให้น้ำนมไหลง่ายๆ

3. ถ้าคุณมีภาพของลูกน้อยคุณ เสียงบันทึกของลูก หรือผ้าห่มที่มีกลิ่นลูกน้อยของคุณ สิ่งเหล่านั้นอาจช่วยกระตุ้นคุณได้ดี

4. วางมือคุณบนหน้าอกเป็นรูปตัว C โดยวางนิ้วโป้งที่ด้านบนสุดของเต้านมและนิ้วอื่นๆอยู่ใต้เต้านมซึ่งมือของคุณจะเป็นรูปตัว C พอดี นิ้วโป้ง และนิ้วอื่นๆจะต้องห่างจากหัวนมประมาณ 1-1.5 นิ้ว

5. ใช้มืออีกข้างถือถ้วยที่สะอาดหรือขวดนมโดยถือไว้ใต้เต้านมซึ่งหัวนมคุณจะอยู่ตรงด้านบนพอดี

6. เมื่อคุณพร้อมเเล้วก็ค่อยๆดันหน้าอกเข้าหาตัวคุณเบาๆด้วยนิ้วโป้งและนิ้วอื่นๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

7. จากนั้น ค่อยๆเคลื่อนนิ้วโป้ง และนิ้วที่เหลือเข้าหากันเบาๆ จากนั้นหมุนวนโดยให้มือของคุณเคลื่อนไปข้างหน้าเพื่อกลับไปยังท่าแรก การหมุนวนอย่างนุ่มนวลจะช่วยให้น้ำนมไหลออกจากท่อน้ำนม อย่าทำแรงนัก เนื้อเยื่อเต้านมของคุณมีความบอบบางอ่อนไหวง่าย และมันอาจช้ำหรือเสียหายได้ถ้าคุณบีบ ดึง ถู หรือสไลด์นิ้วบนเต้านม

8. ขยับไปข้างหน้าอีกเล็กน้อยเพื่อกักเก็บน้ำนมที่อาจหยดหรือพุ่งออกจากเต้านม คุณต้องระวังเป็นพิเศษเวลาเอาน้ำนมใส่ในอุปกรณ์เก็บน้ำนม โดยระวังอย่าให้น้ำนมโดนมือของคุณก่อน

9. ทำแบบขั้นตอนที่ 5 และ 6 อย่างสม่ำเสมอและให้เป็นจังหวะจนกว่าน้ำนมจะหยุดไหลจากเต้า

10. เปลี่ยนข้างเต้านมเมื่อน้ำนมเริ่มหยุดไหล เวลาเปลี่ยนข้าง หมุนมือของคุณไปยังตำแหน่งอื่นรอบๆหัวนม (ทำเป็นรูปตัว C U ตัว C กลับหลัง ตัว U กลับหัว) และเริ่มบีบอีกครั้ง ตำแหน่งที่ต่างกันนี้จะช่วยระบายน้ำนมออกจากทุกๆส่วนของเต้านม

11. การเอาน้ำนมออกจากเต้าด้วยมือนี้ควรใช้เวลาประมาณ 20 ถึง 30 นาที เมื่อบีบน้ำนมเสร็จแล้ว คุณสามารถให้นมลูกได้เลยหรือจะใส่น้ำนมในถุง หรืออุปกรณ์เก็บอื่นๆและเก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไปก็ได้

ข้อดีและข้อเสียของการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ

การเรียนรู้การบีบน้ำนมด้วยมือมีเหตุผลดีๆมากมาย

• เป็นวิธีธรรมชาติ

• ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

• นอกจากอุปกรณ์เก็บน้ำนมแล้ว ก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยอื่นๆเลย

• มีความเงียบสงบ

• ทำได้ตลอดเวลา

• ถ้าคุณบีบน้ำนมด้วยมือก่อนและหลังการใช้เครื่องช่วยปั๊มน้ำนม คุณจะได้น้ำนมที่มากกว่าการใช้เครื่องปั๊มเพียงอย่าางเดียว

• การเรียนรู้การใช้มือในการบีบน้ำนมจะช่วยให้คุณรู้สึกสบายเต้านมขึ้น และรับรู้ถึงสิ่งปกติ หรือไม่ปกติที่เกิดขึ้น รวมทั้งมันยังช่วยให้คุณได้สังเกตความเปลี่ยนแปลงของเต้านมคุณด้วย

อย่างไรก็ดี ถึงจะเป็นทักษะที่ดีแต่การใช้มือบีบน้ำนมก็ยังมีข้อเสียบางประการด้วย

• คุณต้องอาศัยเวลาในการฝึกเพื่อให้ชำนาญในการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ ดังนั้นคุณจึงต้องสละเวลาเล็กน้อยเพื่อศึกษาวิธีหรือเทคนิคเพื่อให้คุ้นเคยกับมัน

• การใช้เครื่องปั๊มน้ำนมอาจจะเร็วกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าสำหรับคุณ

• คุณแม่บางท่านก็มีปัญหากับการใช้มือบีบน้ำนม และไม่ได้น้ำนมเลยสักหยด

จะศึกษาการบีบน้ำนมจากเต้านมด้วยมือได้อีกที่ไหน

หลังจากที่คุณคลอดลูกที่โรงพยาบาลแล้ว ถามพยาบาลหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมให้ช่วยสอนคุณบีบน้ำนมจากเต้าโดยใช้มือ ถ้าคุณอยากศึกษาเทคนิคหรือคุณมีคำถามหลังออกจากโรงพยาบาลแล้ว คุณสามารถติดต่อกับหมอ ที่ปรึกษาด้านการให้นมบุตร หรือกลุ่มเลี้ยงลูกด้วยนมในท้องถิ่นก็ได้


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สายสวนวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter: IUPC)
สายสวนวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter: IUPC)

เมื่อกระบวนการคลอดใช้ระยะเวลานาน แพทย์อาจใช้สายสวนวัดความดันในมดลูกเพื่อใช้ติดตามการบีบตัวของมดลูกได้

อ่านเพิ่ม
เมื่อไรที่ห้ามให้นมบุตร: ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสำหรับคุณและลูก
เมื่อไรที่ห้ามให้นมบุตร: ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสำหรับคุณและลูก

จะบอกได้อย่างไรว่าเมื่อใดที่การให้นมบุตรไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด

อ่านเพิ่ม