กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เมื่อไรที่ห้ามให้นมบุตร: ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสำหรับคุณและลูก

จะบอกได้อย่างไรว่าเมื่อใดที่การให้นมบุตรไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เมื่อไรที่ห้ามให้นมบุตร: ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสำหรับคุณและลูก

การให้นมบุตรยังคงจัดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพของลูก และการรู้ว่าเมื่อไรที่ไม่ควรให้ก็เช่นกัน

แน่นอนว่านมแม่นั้นเป็นธรรมชาติ สร้างภูมิคุ้มกัน และผลิตเพื่อให้เหมาะกับลูกของคุณมากที่สุด และยังไม่ต้องเสียเงินอีกด้วย แต่ก็มีบางครั้งที่นมแม่ก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ โดยบ่อยครั้งที่สาเหตุเกิดจากแม่มีภาวะทางสุขภาพบางอย่างที่ถ่ายทอดผ่านทางน้ำนมได้  การกินยาบางชนิด โดยเฉพาะยาที่สามารถส่งผ่านทางน้ำนมไปยังลูกได้ ก็อาจทำให้ต้องงดให้นมบุตรเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เหตุผลที่ห้ามให้นมบุตร

อ้างอิงจากทาง CDC คุณควรปรึกษาแพทย์ และหยุดให้นมบุตร หากคุณ

  • ติดเชื้อ HIV
  • กินยาต้านไวรัส
  • เป็นวัณโรคในระยะแพร่เชื้อโดยยังไม่ได้รักษา
  • ติดเชื้อไวรัส human T cell lymphotropic ชนิดที่ 1 หรือ 2
  • ใช้หรือติดสารเสพติด
  • กำลังได้ยาเคมีบำบัด เช่น antimetabolite ซึ่งขัดขวางการเพิ่มจำนวนของ DNA และการแบ่งเซลล์
  • กำลังรับการรักษาทางรังสี อย่างไรก็ตาม การรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์จำเป็นต้องงดให้นมบุตรเพียงชั่วคราวเท่านั้น

ยาที่ไม่ผ่านทางน้ำนม

ยาบางชนิดสามารถผ่านออกมาทางน้ำนมและทำอันตรายต่อลูกได้

ก่อนจะรับยาชนิดใดก็ตาม ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังให้นมบุตรหรือวางแผนจะให้นมบุตร  นอกเหนือจากยาเสพติดทุกประเภทแล้ว ยาต่อไปนี้ก็เป็นยาที่ใช้กันโดยทั่วไปที่ต้องหลีกเลี่ยงเช่นกัน

  • ยาคลายกังวล
  • ยาคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจน
  • ยาต้านไวรัส (สำหรับการรักษาเอดส์หรือการติดเชื้อ HIV)
  • ยาเคมีบำบัด
  • การบำบัดรักษาทางรังสี (การรักษาบางอย่างต้องงดให้นมบุตรเป็นการชั่วคราวเท่านั้น)
  • ยาไมเกรน (ergot alkaloids)
  • ยาควบคุมอารมณ์ให้คงที่ (lithium และ lamotrigine)
  • ยานอนหลับ

ภาวะทางสุขภาพที่อาจขัดขวางการให้นมบุตร

หากคุณหรือลูกของคุณเพิ่งได้รับการวินิจฉัยด้วยภาวะโรคใด ๆ ดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนที่จะให้นมบุตร

  • เบาหวาน เนื่องจากแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมมักต้องการอาหารที่จัดเตรียมเป็นพิเศษเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงขณะที่กำลังให้นม
  • ภาวะไทรอยด์หรือโรคทางลำไส้บางอย่างที่ทำให้คุณมีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน ภาวะดังกล่าวอาจทำให้ผู้หญิงต้องรับพลังงานให้มากขึ้นกว่าเดิมในแต่ละวันเพื่อให้ร่างกายของตนยังคงมีสุขภาพดีอยู่ในช่วงระหว่างให้นมบุตร
  • การผ่าตัดเสริมเต้านม การผ่าตัดเต้านมในอดีตมีความสัมพันธ์กับความยากลำบากในการให้นมบุตร
  • ผู้หญิงที่ติดสารเสพติดหรือมีประวัติเคยติดสารเสพติด มักได้รับคำแนะนำว่าไม่ควรให้นมบุตร
  • ทารกที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยภาวะ galactosemia ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญอาหาร (metabolic disorder) ที่พบได้น้อยมาก ซึ่งโรคนี้จะทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลกาแลคโตส (galactose) ได้ เด็กกลุ่มนี้จึงไม่ควรได้รับนมแม่

ระลึกไว้ว่าเพียงเพราะคุณต้องหยุดให้นมในตอนนี้ ไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องหยุดไปตลอด หากภาวะของคุณเป็นเพียงชั่วคราว คุณก็สามารถปั๊มเอานมของคุณออกเพื่อให้ยังคงมีการสร้างน้ำนมอยู่หากคุณสามารถทำได้  หากภาวะของคุณเป็นภาวะถาวร และการให้นมบุตรเป็นประเด็นที่อ่อนไหวสำหรับคุณ อาจลองพิจารณาขอนมจากธนาคารนมแม่ได้


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Breastfeeding and hepatitis. BabyCenter. (https://www.babycenter.com/0_breastfeeding-and-hepatitis_8684.bc)
Can Hepatitis Be Passed Through Breast Milk?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/breastfeeding-and-viral-hepatitis-1759984)
Hepatitis B or C Infections | Breastfeeding. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/breastfeeding/breastfeeding-special-circumstances/maternal-or-infant-illnesses/hepatitis.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป