เท้าแบน (Flat Feet)

เท้าแบน เป็นภาวะที่เกิดจากโครงสร้างผิดปกติของเท้า ผู้ที่มีภาวะนี้จะรู้สึกเมื่อยเท้าง่าย เดินนานๆ ไม่ค่อยได้ และอาจปวดเข่า ปวดหลังร่วมด้วย
เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เท้าแบน (Flat Feet)

บทความนี้เขียนโดย นายแพทย์เชิดพงศ์ หังสสูต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเท้า วันที่ 04/06/2562

เท้าแบน เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้าและโครงสร้างเส้นเอ็นที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย ผู้ที่มีภาวะเท้าแบนรุนแรง อาจพบปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น ไม่สามารถยืนได้นาน ๆ ปวดขา ปวดเข่า หรือปวดหลัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การตรวจสอบว่าตนเองมีภาวะเท้าแบนหรือไม่ ทำได้โดยการยืนตัวตรง หลังตรง แล้วให้คนในครอบครัว หรือเพื่อนถ่ายรูปด้านหลังเท้าโดยการวางกล้องชิดไว้กับพื้น หากสังเกตได้ว่าฝ่าเท้านั้นราบไปกับพื้นหมด ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเลย ก็อาจหมายได้ว่าคุณเป็นผู้ที่มีภาวะเท้าแบน และหากมีอาการเหล่านี้ร่วมอยู่ด้วย ก็จะยิ่งทำให้ข้อสันนิษฐานชัดเจนมากยิ่งขึ้น

  • รู้สึกเมื่อยเท้าง่าย เนื่องจากมีการรับน้ำหนักตัวของเท้าผิดปกติ
  • ปวดหรือเจ็บที่เท้า โดยเฉพาะบริเวณอุ้งเท้าและส้นเท้า หรือทั้งฝ่าเท้าเลย
  • มีอาการเท้าบวม โดยเฉพาะฝ่าเท้าบนด้านใน
  • ยืนหรือเดินนานๆ ไม่สะดวก
  • ปวดหลังหรือปวดขาจากการเดินและยืนง่าย

สาเหตุของเท้าแบน

โรคเท้าแบน มักเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • ความผิดปกติแต่กำเนิด
  • เส้นเอ็นยืดหรือฉีกขาด
  • กระดูกหักหรือเคลื่อน
  • ปัญหาด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กับข้อ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid  Arthritis)
  • ปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาท
  • ปัญหาอื่นๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน อายุมาก ตั้งครรภ์

การรักษาและบรรเทาอาการเท้าแบน

แพทย์มักใช้วิธีดังต่อไปนี้ในการรักษาผู้ที่มีภาวะเท้าแบน

  • ใส่อุปกรณ์เสริมที่เท้า เช่น แผ่นรองเท้าเฉพาะบุคคล (Insoles) หรือรองเท้าที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า (Arch support) เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บเท้าและหนุนเท้า
  • การใช้อุปกรณ์พยุงส้นเท้าและฝ่าเท้าชนิดหล่อพิเศษเฉพาะราย (Therapeutic Custom made Total Contact Foot Orthosis) : เนื่องจากอักเสบของเอ็นฝ่าเท้า มักเกิดจากการใช้เท้า การสะสมของแรงกระทำที่เท้า ซึ่งเรียกว่าชีวกลศาสตร์ที่ก่อให้เกิดโรค (Patomechanics) การตรวจในด้านนี้ เช่น ตรวจหาแรงกดที่ฝ่าเท้า (Pedobarogram) การตรวจการเคลื่อนไหว (Gait Motion Analysis) จะช่วยบ่งชี้ต้นตอของโรคได้ ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่เจาะจง ด้วยการสร้างกายอุปกรณ์โดยหล่อแบบเท้าเฉพาะจากคนไข้ในแต่ละข้าง โดยมีการ Off loading ในจุดลงน้ำหนักที่ก่อให้เกิดการอักเสบ รวมถึงการ support เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เท้าล้มเข้าด้านในมาก (Hyper Pronation)
  • การออกกำลังกาย : เพื่อลดน้ำหนักและลดแรงกระแทกที่เท้าจะต้องแบกรับไว้เมื่อทำกิจกรรมต่าง ผู้ที่ภาวะเท้าแบนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือกีฬาที่ก่อให้เกิดแรงกระแทกที่ฝ่าเท้า เช่น วิ่ง กระโดด เตะฟุตบอล
  • บริหารเท้า : โดยการยืดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่ยึดเชื่อมกันของขาส่วนล่าง เช่น
    • เอามือทั้งสองเกาะโต๊ะ ก้าวเท้าขวาไปด้านหลังประมาณ 1 ก้าว ให้ส้นเท้าขวาติดพื้น แล้วย่อเข่าซ้าย ให้ขาขวาตึงเพื่อยืดเอ็นร้อยหวาย ทำค้างไว้ประมาณ 1-2 นาที แล้วสลับข้าง
    • วางลูกเทนนิส หรือลูกบอลที่มีขนาดเล็กบริเวณพื้นที่ติดกับกำแพง ใช้เฉพาะบริเวณนิ้วเท้าเหยียบลูกบอล ส่วนอุ้งเท้าและส้นเท้าวางราบไปกับพื้น ทำค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง ควรทำอย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง
    • ยืนด้วยฝ่าเท้าส่วนบนที่ปลายขั้นบันได ยกส้นเท้าขึ้น ค้างไว้ 2 วินาที และวางส้นเท้าลง การฝืนไม่ให้ส้นเท้าแตะกับพื้นบันได เป็นการกระตุ้นการทำงานของส้นเท้าที่ดี ควรทำอย่างน้อยวันละ 10 ครั้งเช่นกัน
  • การรักษาด้วยยา : ผู้ที่มีภาวะเท้าแบนร่วมกับการอักเสบ บวม แดง สามารถรับประทานยาแก้อักเสบและใส่สนับข้อเท้าเพื่อลดอาการบวมได้

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป