กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

TIA: Transient Ischemic Attack (เส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

40% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA) จะเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบในเวลาต่อมา โรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA) หรือที่เรียกว่า mini-stroke เกิดจากการที่สมองบางส่วนขาดเลือดชั่วคราว ทำให้มีอาการคล้ายกับโรคเส้นเลือดสมองตีบ แต่อาการจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที หรือประมาณ 1 นาทีโดยเฉลี่ย และมักจะไม่ทำให้เกิดอันตรายอย่างถาวร อย่างไรก็ตามโรคนี้ก็ยังเป็นโรคที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสมาคมโรคเส้นเลือดสมองตีบแห่งชาติ (National Stroke Association) ได้กล่าวว่า 40% ของผู้ที่เป็นโรคนี้จะกลายเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบในเวลาต่อมา และมีประมาณครึ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นไม่กี่วันหลังจากที่เป็นโรคนี้

สาเหตุของโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA)

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้มักเกิดจาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การมีเลือดไปเลี้ยงผ่านเส้นเลือดใหญ่ที่ไปสู่สมองที่มีการตีบแคบน้อย
  • ลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดบริเวณอื่นของร่างกาย (เช่นหัวใจ) มีการหลุดออกและไหลตามกระแสเลือดจนมาเกิดการอุดตันเส้นเลือดในสมอง
  • มีการสร้างสะสมขึ้นภายในผนังหลอดเลือดทำให้มีเลือดไหลเวียนในเส้นเลือดน้อยหรือทำให้เกิดการสร้างลิ่มเลือดขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA)

ปัจจัยต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA)

  • ประวัติครอบครัว  ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA) หรือเส้นเลือดในสมองตีบจะทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น
  • อายุ อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมากกว่า 55 ปีจะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • เพศ  เพศชายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูงกว่าเล็กน้อย แต่พบว่ามากกว่าครึ่งของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคนี้เป็นผู้หญิง
  • เชื้อชาติ  กลุ่มแอฟริกัน อเมริกันมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองตีบมากกว่า อาจเพราะว่าในประชากรกลุ่มนี้พบการเกิดโณคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมากกว่าเช่นกัน
  • ประวัติ  Mayo clinic ได้กล่าวว่าหากเคยเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA) ขึ้นแล้ว 1 ครั้ง หรือมากกว่าจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำเพิ่มขึ้น 10 เท่า
  • โรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์ (Sickle Cell anemia) โรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA) อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรค Sickle cell anemia ได้
  • ความดันโลหิตสูง  การที่ความดันโลหิตสูงโดยไม่สามารถควบคุมได้ จะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบมากขึ้น
  • ระดับ cholesterol-and-diet' target='_blank'>cholesterol-and-diet' target='_blank'>cholesterol สูง  การรับประทานอาหารที่มี cholesterol และไขมันอิ่มตัวแบบ trans มากจะทำให้เกิดการสะสมไขมันในเส้นเลือดแดง
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด  ภาวะหัวใจวาย หัวใจผิดปกติ การติดเชื้อที่หัวใจ หรือการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ จะเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ
  • โรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid artery disease) การเกิดโรคที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน
  • โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral artery disease – PAD) คือการที่เส้นเลือดซึ่งไปเลี้ยงแขนและขาเกิดการอุดตัน
  • เบาหวาน  เบาหวานจะทำให้เส้นเลือดตีบรุนแรงมากขึ้น
  • ระดับ homocysteine ที่สูง  ระดับ homocysteine ที่สูงขึ้นจะทำให้เส้นเลือดหนาตัวและกลายเป็นแผลเป็น
  • น้ำหนักเกิน  การที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 25 หรือรอบเอวมากกว่า 35 นิ้วในผู้หญิง หรือมากกว่า 40 นิ้วในผู้ชายจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA)
  • สูบบุหรี่  สูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้ความดันโลหิตสูง และทำให้มี cholesterol สะสมที่ผนังหลอดเลือดแดงมากขึ้น
  • การใช้ชีวิตแบบอยู่กับที่  ความเสี่ยงในการเกิดโรคจะลดลงหากมีการออกกำลังกายระดับปานกลางวันละ 30 นาที
  • ภาวะทุพโภชนาการ  การรับประทานอาหารที่มีไขมัน และเกลือมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA) และเส้นเลือดสมองตีบ
  • การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก  ผู้ชายไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกินว่าละ 2 แก้วและผู้หญิงไม่ควรเกินวันละ 1 แก้วเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ
  • การใช้ยา  ควรหลีกเลี่ยงการใช้โคเคน และยาเสพติดผิดกฎหมายอื่นๆ
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด  การรับประทานยาที่มีฮอร์โมนเหล่านี้จะมีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack – TIA) และเส้นเลือดในสมองตีบ

14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, Transient ischaemic attack (TIA) (https://www.nhs.uk/conditions/transient-ischaemic-attack-tia/)
webmd.com, What Is a TIA? (https://www.webmd.com/stroke/what-is-tia#1)
medlineplus, Transient Ischemic Attack (https://medlineplus.gov/transientischemicattack.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการ
อาการ
ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
โรคเส้นเลือดอักเสบเกิดจากอะไรแล้วทำไมถึงลามไประบบกรวยไตได้
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คนที่ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบต้องทำอย่างไรเส้นเลือดจึงจะขยายตัวได้เร็ว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
รู้สึกกดท้องแล้วมีหัวใจเต้น
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยู่ดีๆก็เกิดเป็นก้อนจากท้องวิ่งขึ้ยไปที่ด้านหลังมีอากสรปวดใากเหงื่ออกทั้งตัวหายใจติดขัดมันเก็ดจากอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)