โรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว จะมีอาการคล้ายๆกับโรคหลอดเลือดสมองตีบ แต่จะมีอาการเกิดขึ้นรวดเร็ว และอาการจะคงอยู่เพียงแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น
อาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราวมีดังนี้
- อ่อนแรง รู้สึกชา หรือสูญเสียการรับความรู้สึกในบริเวณใบหน้า แขน หรือขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
- พูดลำบาก พูดไม่ชัด ลิ้นแข็งหรือมีปัญหาในการทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
- มองจากตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างลำบาก หรือมีอาการเห็นภาพซ้อน
- เวียนหัวหรือสูญเสียการทรงตัวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ
- เดินลำบาก
- สับสนงุนงง
- ปวดหัวรุนแรง (พบไม่บ่อย)
ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราวหลายๆครั้งอาจมีอาการแต่ละครั้งเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณของสมองที่ได้รับผลกระทบ
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว
หากคุณมีอาการใดๆก็ตามจากอาการที่กล่าวไว้ข้างต้น คุณควรที่จะไปรับการตรวจรักษาโดยแพทย์ในทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราวมักจะหายไปอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยส่วนมากมักจะไม่มีอาการแล้วขณะที่มารับการตรวจ ดังนั้นแพทย์อาจจะวินิจฉัยโรคโดยอ้างอิงจากอาการที่คุณมี มากกว่าจากการตรวจร่างกายทั่วไปหรือการตรวจทางระบบประสาท แพทย์อาจจะทำการตรวจดังต่อไปนี้ เพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราวและประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบในอนาคต
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การตรวจร่างกาย: ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์จะทำการตรวจเช็คปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง, ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงโรคเบาหวาน และภาวะระดับกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีนสูง แพทย์จะใช้หูฟังสเตทโตสโคป เพื่อตรวจหาชั้นไขมันพอกเกาะเส้นเลือดแดงที่ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง แพทย์ยังสามารถทำการตรวจตา เพื่อหาความผิดปกติของเส้นเลือดบนจอประสาทตาหรือเศษชิ้นส่วนของคอเลสเตอรอลในจอประสาทตาได้
การทำอัลตราซาวด์หลอดเลือดแดงใหญ่แคโรติดช: เพื่อตรวจหาการตีบหรือลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงใหญ่แคโรติด ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมอง นักรังสีเทคนิคจะใช้อุปกรณ์(หน้าตาจะดูเหมือนไม้กายสิทธิ์) เป็นอุปกรณ์สร้างคลื่นเสียงความถี่สูงส่งเข้าในบริเวณคอ และจะเกิดภาพปรากฏบนจอ
การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์: ซึ่งจะสามารถสร้างภาพสมองในลักษณะ 3 มิติได้
การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดแดง: การทำCTAนั้นใช้รังสีเอ็กซ์ในลักษณะเดียวกับการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์(CT scan)ธรรมดา แต่จะมีการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดด้วย
การสร้างภาพโดยใช้เรโซแนนซ์แม่เหล็ก / การเข้าอุโมงค์สแกนเอ็มอาร์ไอ: จะใช้สนามแม่เหล็กในการสร้างภาพสามมิติของสมองขึ้นมา
การสร้างภาพหลอดเลือดแดงโดยใช้เรโซแนนซ์แม่เหล็ก / การทำเอ็มอาร์ไอหลอดเลือด: จะใช้สนามแม่เหล็กรุนแรงคล้ายการทำเอ็มอาร์ไอ การตรวจนี้ทำเพื่อประเมินหลอดเลือดแดงบริเวณคอและสมอง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง: หรือการทำเอ็คโค
การตรวจเอ็คโค่ผ่านทางช่องอก โดยนักรังสีเทคนิคจะใช้อุปกรณ์ทาบลงบนบริเวณหน้าอก และจะส่งผ่านคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะสะท้อนกลับเมื่อผ่านส่วนต่างๆภายในหัวใจ ทำให้เกิดเป็นภาพอัลตราซาวด์(ภาพจากคลื่นเสียงความถี่สูง)ขึ้นมา การตรวจเอ็คโค่อีกวิธีหนึ่งคือการทำผ่านหลอดอาหารจะทำโดยให้อุปกรณ์ผ่านลงไปในหลอดอาหารของคุณ เนื่องจากหลอดอาหารจะตั้งอยู่ด้านหลังของหัวใจ ทำให้การตรวจด้วยวิธีนี้สามารถเห็นภาพลิ่มเลือดได้ชัดเจนมากกว่าการตรวจผ่านทางช่องอก
การถ่ายภาพรังสีหลอดเลือดแดง: เป็นการทำเอ็กซเรย์ที่ใส่สายสวนขนาดเล็กผ่านทางรูเล็กๆ(มักทำที่บริเวณขาหนีบ) นักรังสีวิทยาจะสามารถมองเห็นภาพเส้นเลือดในสมองซึ่งจะไม่สามารถมองเห็นผ่านการทำเอ็กซเรย์ปกติได้