บอกลาอาการเสียวฟัน

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
บอกลาอาการเสียวฟัน

บางครั้งการทานไอศครีม หรือดื่มกาแฟร้อน ได้สร้างความเจ็บปวดให้คุณหรือไม่ การแปรงฟันหรือการขัดฟัน บางครั้งทำให้คุณสะดุ้งหรือไม่ ถ้าใช่คุณอาจมีอาการเสียวฟัน อาการเสียวฟันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ผลิตภัณฑ์ของคอลเกตได้ทำการวิจัย อย่างเข้มข้นเพื่อที่จะช่วยคุณต่อสู้กับอาการเสียวฟัน และช่วยป้องกันอาการเสียวฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อะไรคืออาการเสียวฟัน

อาการเสียวฟันเป็นปัญหาหลักของผู้คนนับล้าน ซึ่งเป็นชื่อของอาการของเนื้อฟันที่ไวต่อความรู้สึกหรือการเสียวรากฟัน หากน้ำร้อน,เย็น,หวาน หรืออาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรด หรือการหายใจในอากาศหนาวทำให้ฟันของคุณรู้สึกเสียวหรือปวด นั่นอาจจะแปลว่าคุณเป็นโรคเสียวฟัน ความรู้สึกปวดอาจจะรู้สึกแบบฉับพลัน เข้าไปที่เส้นประสาทของฟัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการเสียวฟันเกิดขึ้นได้อย่างไร

อาการเสียวฟันปกติแล้ว จะเกิดขึ้นโดยเนื้อฟันหรือบริเวณรากฟัน โผล่ออกจากเหงือกที่ร่น หรือโรคปริทันต์ อาการเหงือกร่นถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งอาจเกิดได้ถึง 4ใน5คน ที่มีอาการเหงือกร่นเมื่อพวกเขาอายุ 65 ปี

เมื่อรากฟันได้โผล่ขึ้นรากฟันจะไม่มีชั้นของเคลือบฟัน เหมือนส่วนของเนื้อฟัน ซึ่งรากฟันจะมีเนื้อเยื่อแบบอ่อนนุ่มปกคลุมอยู่ เรียกว่า เคลือบรากฟันซีเมนตัม ซึ่งถ้าสารนี้หายไป ก็จะเหลือเพียงเนื้อฟัน การแปรงฟันที่มากเกินไป หรือการใช้แปรงสีฟันที่แข็งก็อาจนำไปสู่การทำให้เคลือบฟันสึกกร่อน อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่นของดอง หรือโซดาป๊อบ ก็เป็นสาเหตุของการสึกกร่อนของฟัน และการละลายของพื้นผิวฟันทำให้เนื้อฟันโผล่ออกมา

เมื่อฟันเริ่มเกิดอาการเสียว อาจรู้สึกปวดได้เมื่อเราทำการแปรงฟัน และหากคุณแปรงฟันน้อยลงเนื่องมาจากความเจ็บปวดแล้ว ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของอาการฟันผุและโรคเหงือก ความเจ็บปวดที่เกิดหลังการทานหรือดื่มอาการร้อน,เย็น,หวาน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจเป็นอาการฟันผุหรือหลุมในฟันของคุณ หรือเป็นสัญญาณที่เตือนว่าฟันกำลังจะหลุด และนี่จะเป็นสาเหตุที่ทันตแพทย์จะทำการรักษาคุณด้วยการอุดฟัน หรือด้วยวิธีการต่างๆ

อะไรที่ทำให้เนื้อฟันที่เปิดออกรู้สึกเจ็บ

เนื้อฟันประกอบไปด้วย ช่องโพรงขนาดเล็กนับพันๆช่อง ซึ่งอาจมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น โพรงเหล่านี้จะเริ่มจากบริเวณพื้นผิว ผ่านตัวเนื้อฟันไปสู่ศูนย์กลางของประสาทฟัน ช่องโพรงเหล่านี้มีของเหลวอยู่ และหลังจากรับประทานอาหารร้อนหรือเย็น ของเหลวในโพรงเล็กๆนี้จะเคลื่อนที่และทำให้เส้นประสาทฟันระคายเคือง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวด

เราสามารถป้องกันอาการเสียวฟันได้หรือไม่

คุณสามารถลดโอกาสเกิดอาการเสียวฟัน ทำได้โดยรักษาความสะอาดของช่องปากให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ด้วยสุขอนามัยช่องปากที่ดี จะช่วยป้องกันโรคเหงือกร่น และโรคปริทันต์ การแปรงฟันหรือขัดฟันอย่างถูกวิธี จากการแนะนำโดยทันตแพทย์ และการใช้แปรงสีฟันขนอ่อน สามารถช่วยลดอาการเกิดการเสียวฟันได้ อาหารที่ไม่มีฤทธิ์เป็นกรดก็สามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ การเพิกเฉยต่ออาการเสียวฟันอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆทางช่องปากได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการเจ็บปวดทำให้คุณแปรงฟันน้อยลง จะยิ่งทำให้ฟันของคุณเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่ออาการฟันผุ และโรคเหงือก

ฉันจะทำอย่างไรเมื่อฉันมีอาการเสียวฟัน

เพื่อรักษาอาการเสียวฟันควรใช้แปรงสีฟันขนอ่อน ซึ่งทำเป็นพิเศษสำหรับโรคเสียวฟัน ยาสีฟันที่ลดอาการเสียวฟัน ยาสีฟันนี้จะทำให้อาการเสียวฟันน้อยลงเมื่อคุณทำการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ซึ่งมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ที่ใช้ในการป้องกันฟันผุ ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์มาก โดยเฉพาะสูตรลดอาการเสียวฟัน จะช่วยป้องกันโรคฟันผุได้ดีด้วย การรักษานี้สามารถทำได้เองที่บ้าน

การรักษาด้วยวิธีอื่น ทันตแพทย์อาจทำได้ที่คลินิกทันตกรรม มีวิธีการรักษาอย่างหลากหลายที่ทันตแพทย์สามารถใช้ทำการรักษาอาการเสียวฟัน  เช่น การใช้ฟลูออไรด์ขัดฟัน,การอุดฟันในบริเวณที่ฟันเสียไป หรือการเลเซอร์

อาการเสียวฟันมักพบได้บ่อยและถูกประมาณการว่าเกิดขึ้นได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากร ที่จะมีอาการเสียวฟัน การดูแลรักษาและการปฏิบัติตน ในการดูแลสุขอนามัยช่องปากจะช่วยป้องกันอาการเสียวฟัน อย่างไรก็ตาม คุณควรถามทันตแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ดีที่สุด เกี่ยวกับการรักษาอาการเสียวฟัน


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sensitive Teeth: Causes and Treatment. American Dental Association. (https://www.ada.org/~/media/ADA/Science%20and%20Research/Files/patient_33.pdf?la=en)
Home remedies for sensitive teeth plus causes and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324731)
Why Are My Teeth So Sensitive?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/sensitive-teeth)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) คืออะไร ?
โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) คืออะไร ?

เรียนรู้ว่าโรคเหงือกอักเสบคืออะไร และจะรักษาหรือป้องกันได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม
เมื่อเหงือกบวมเป็นปัญหา ควรรักษาอย่างไร?
เมื่อเหงือกบวมเป็นปัญหา ควรรักษาอย่างไร?

เหงือกบวม ปัญหาช่องปากที่สร้างความลำบากให้กับคุณ อ่านวิธีรักษาและสาเหตุของอาการเหงือบวม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น

อ่านเพิ่ม
ฟันเหลือง ทำอย่างไรดี?
ฟันเหลือง ทำอย่างไรดี?

รู้จัก 8 สาเหตุของฟันเหลือง ทั้งโดยธรรมชาติและจากพฤติกรรมที่คุณหลีกเลี่ยงได้ พร้อมแนะนำ 7 วิธีเพื่อให้ฟันกลับมาขาวสดใส

อ่านเพิ่ม