กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

เวียนศีรษะบ่อย เป็นสัญญาณของโรคอะไรบ้าง?

เวียนศีรษะมีหลายแบบและเกิดได้จากหลายสาเหตุ ควรสังเกตตนเอง หากมีอาการบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เวียนศีรษะบ่อย เป็นสัญญาณของโรคอะไรบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการเวียนศีรษะ แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ อาการเวียนศีรษะแท้และเวียนศีรษะเทียม ซึ่งจะแตกต่างกันตรงที่อาการเวียนศีรษะแท้ จะมีอาการเสียการทรงตัวเข้ามาร่วมด้วย
  • อาการเวียนศีรษะแท้ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูชั้นใน เช่น น้ำในหูไม่เท่ากัน ตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด ประสาทการทรงตัวอักเสบ อีกสาเหตุคือ ความผิดปกติของสมอง เช่น สมองขาดเลือด มีเนื้องอกในสมอง ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง
  • อาการเวียนศีรษะเทียม เป็นอาการเวียนหัวทั่วไป อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือเป็นลมร่วมด้วย แต่จะไม่มีอาการบ้านหมุน โดยสาเหตุการเวียนหัวเทียมอาจมาจากภาวะทางสุขภาพต่อไปนี้ เช่น ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ภาวะโลหิตจาง หัวใจขาดเลือด มีภาวะขาดน้ำ
  • นอกจากสาเหตุที่มาจากภาวะทางสุขภาพผู้ป่วยแล้ว พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมยังเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดศีรษะเทียมด้วย เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ การใช้ยาเสพติด การอดอาหาร
  • วิธีป้องกันอาการปวดศีรษะไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงใส่ใจสุขภาพและร่างกายด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และหมั่นไปตรวจสุขภาพทุกปี (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

อาการเวียนศีรษะ (Dizziness ) เป็นอาการที่ผู้คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นกันได้ สาเหตุที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ เมารถ เมาเรือ เป็นไข้ ไม่สบาย ได้รับสารเคมี อากาศร้อน ตากแดดนานเกินไป และสาเหตุอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก

แต่หากคุณมีอาการวิงเวียนศีรษะบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดอาการต่อเนื่องกันหลายวัน อาการเป็นรุนแรงจนมีอาการบ้านหมุน (vertigo) ก็อย่าได้ชะล่าใจ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่างก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการเวียนศีรษะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่ เวียนศีรษะแท้ และ เวียนศีรษะเทียม 

เวียนศีรษะแท้คืออะไร?

อาการเวียนศีรษะแท้ (True vertigo) คือ อาการวิงเวียนร่วมกับเสียการทรงตัว เช่น รู้สึกโครงเครง เดินเซ เหมือนบ้านหมุน แม้จะนั่งอยู่กับที่ก็ตาม บางครั้งอาจคลื่นไส้ อาเจียน มีเสียงดังอื้ออึงในหู และตากระตุกด้วย 

อาการเวียนศีรษะแท้เกิดได้จากสาเหตุดังนี้

  • มีความผิดปกติของหูส่วนใน เช่น น้ำในหูไม่เท่ากัน ตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด หรือเคลื่อนที่ หูชั้นในอักเสบ ประสาทการทรงตัวอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยกว่า 90% ของอาการเวียนศีรษะแท้ทั้งหมด
  • มีความผิดปกติของสมอง เช่น สมองขาดเลือด มีเนื้องอกในสมอง ได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ สาเหตุของอาการเวียนศีรษะแบบนี้จะพบได้น้อยกว่าแต่มีความรุนแรงสูง และมักพบร่วมกับอาการอื่นๆ ด้วย เช่น แขนขาอ่อนแรง ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ ระบบประสาทผิดปกติ 

เวียนศีรษะเทียมคืออะไร? 

อาการเวียนศีรษะเทียม (False vertigo) คือ อาการวิงเวียน ปวดศีรษะ หน้ามืดทั่วๆ ไป แต่ไม่มีความรู้สึกโคลงเคลงเหมือนบ้านหมุน บางครั้งอาจคลื่นไส้ อาเจียน และคล้ายจะเป็นลมได้เช่นกัน 

อาการเวียนศีรษะเทียมเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • มีภาวะโลหิตจาง ซึ่งอาจเกิดจากเป็นโรคธาลัสซีเมีย ขาดธาตุเหล็ก หรือสูญเสียเลือดมาก ทำให้ไม่มีเม็ดเลือดแดงที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ จึงเกิดอาการวิงเวียนศีรษะหน้ามืดได้ 
  • ความดันโลหิตต่ำ ซึ่งอาจเป็นโรคประจำตัว หรือเป็นผลข้างเคียงจากภาวะอื่นๆ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ แย่กว่าปกติ หรือเกิดจากการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด เช่น หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้การสูบฉีดเลือดผิดปกติ
  • มีไขมันอุดตันในเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนโลหิตถูกปิดกั้น และยังเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดในสมองแตกตามมาด้วย
  • ร่างกายขาดน้ำ จากภาวะผิดปกติต่างๆ เช่น ท้องเสีย เป็นไข้ อาเจียน หรือเสียเลือดมาก
  • มีความผิดปกติที่ระบบประสาท เช่น ศีรษะบาดเจ็บ เป็นโรคพาร์กินสัน โรคลมบ้าหมู 
  • มีน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) หรืออดอาหารเป็นเวลานาน
  • มีความเครียด ความวิตกกังวล 
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ บางครั้งการนอนที่ไม่มีคุณภาพอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัวได้ หากนอนแค่ไหนก็ยังเหมือนนอนไม่พอ 
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น อยู่ระหว่างมีประจำเดือน หรือมีอาการแพ้ท้องเนื่องจากตั้งครรภ์
  • เป็นผลจากยา และสารเสพติดบางชนิด

สาเหตุต่างๆ เหล่านี้อาจทราบได้จากโปรแกรมตรวจสุขภาพ ทั่วไป เพื่อให้สามารถทราบค่าเลือดต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเวียนศีรษะได้ จึงทำให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมได้

วิธีรักษาอาการปวดศีรษะ วิงเวียนง่ายๆ ที่สามารถทำได้ตนเอง

  • ดื่มน้ำมากๆ หรือดื่มน้ำหวาน เครื่องดื่มเย็นๆ ที่ทำให้ร่างกายสดชื่น ผ่อนคลาย
  • รับประทานขนม ผลไม้ ของหวานที่มีน้ำตาล 
  • ไม่ลุกนั่งอย่างรวดเร็ว และขยับตัวอย่างช้าๆ 
  • ไม่อยู่ที่ที่อากาศร้อนอบอ้าว หรือมีแดดจัด 
  • เปลี่ยนไปอยู่ในที่ที่อากาศปลอดโปร่ง ถ่ายเท 
  • งดดื่มกาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนชั่วคราว
  • นอนหมอนสูง หลีกเลี่ยงการนอนหมอนแบน หรือนอนราบไปกับพื้น 
  • งีบหลับซักพัก 
  • หลับตาเพื่อพักสายตาสักครู่
  • รับประทานยาแก้ปวด หรือยาแก้เวียนศีรษะ

วิธีป้องกัน

การดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นโทษ ดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ

หากคุณดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบประสาททำงานก็จะเป็นปกติ ช่วยป้องกันอาการปวดวิงเวียนศีรษะได้ และหากมีอาการเวียนศีรษะบ่อยๆ หรือเรื้อรัง ก็ควรรีบไปหาหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุ จะได้รีบรักษาได้ทันท่วงที

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ropper, AH (2005). Adams and Victor’s Principles of Neurology (eighth ed.). NY, Chicago, San Francisco. p. 1398.
Berkow R., ed. (1992). The Merck manual of diagnostics and therapy. Rahway: Merck & Co Inc. p. 2844.
MedicineNe, Vertigo Treatment, Causes, Symptoms & Remedies (https://www.medicinenet.com/vertigo_overview/article.htm), 5 February 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการเวียนหัว กับ 17 วิธีบรรเทาอาการ
อาการเวียนหัว กับ 17 วิธีบรรเทาอาการ

เวียนหัว อาการป่วยใกล้ตัวที่แก้ไขได้หลายวิธี

อ่านเพิ่ม