กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Cushing Syndrome (กลุ่มอาการคุชชิง)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

อาการของกลุ่มอาการคุชชิง

กลุ่มอาการคุชชิงจะแสดงออกผ่านทางระบบต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้

  1. อาการทางผิวหนัง ได้แก่ ผิวหนังแห้งมากและบางมากจนเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนัง ผิวหนังเกิดรอยช้ำหรือแผลเป็นได้ง่าย ตลอดจนอาจมีอาการผิวแตกลายหรือเป็นสิวทั้งบนใบหน้าและลำตัว
  2. อาการทางกล้ามเนื้อ ได้แก่ ต้นแขน-ต้นขาลีบลง กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง
  3. อาการทางกระดูก ได้แก่ มีภาวะกระดูกพรุน มวลกระดูกบางลงทำให้กระดูกแตกหักง่าย
  4. อาการทางหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ
  5. อาการทางต่อมไร้ท่อ ได้แก่ มีน้ำตาลในเลือดสูง เป็นเบาหวาน
  6. อาการทางสมองและจิตใจ เช่น มีอาการหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ไม่มีสมาธิในการเรียนหรือทำงาน ซึมเศร้า วิตกกังวล ฯลฯ
  7. อาการทางระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ร่างกายของผู้ป่วยจะสร้างภูมิคุ้มกันได้น้อยลง ส่งผลให้ติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายขึ้นและอาจมีอาการป่วยอย่างรุนแรงร่วมด้วย
  8. อาการทางอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ตรวจพบภาวะมีบุตรยาก มีประจำเดือนผิดปกติ มีความรู้สึกทางเพศลดลง (สำหรับผู้ป่วยเพศชาย) ฯลฯ

สาเหตุของกลุ่มอาการคุชชิง

กลุ่มอาการคุชชิ่งเกิดจากการที่ร่างกายได้รับฮอร์โมนกลูโคคอติคอยด์จากภายนอก เช่น การรับประทานยาสเตียรอยด์เป็นประจำ การรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน (Azathioprine) หรืออีกสาเหตุคือเกิดจากระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งจะพบในผู้ที่ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและมะเร็ง ได้แก่ โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง เนื้องอกต่อมหมวกไต มะเร็งต่อมหมวกไต ซึ่งทำให้ร่างกายหลั่งทั้งฮอร์โมนคอร์ติซอลและแอนโดรเจนออกมามากกว่าที่ควรเป็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แนวทางการรักษากลุ่มอาการคุชชิง

การรักษากลุ่มอาการคุชชิง จะใช้วิธีรักษาตามสาเหตุและตามลักษณะอาการ ดังนี้

  1. หากมีสาเหตุมาจากการกินยาสเตียรอยด์ แพทย์จะค่อยๆ ลดขนาดของยาลงจนน้อยที่สุด โดยให้กินยาเท่าที่จำเป็นต่อการรักษา
  2. หากมีสาเหตุมาจากเนื้องอกของต่อมใต้สมองหรือเนื้องอกของต่อมหมวกไต แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดก้อนเนื้องอกนั้นออก
  3. หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวด ควรบรรเทาอาการเจ็บปวดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น นวดเบาๆ อาบน้ำอุ่น ออกกำลังกายแบบแรงกระแทกน้อย
  4. กลุ่มอาการคุชชิงอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าได้ หากผู้ป่วยซึมเศร้า แพทย์จะแนะนำให้มีการรักษาตามสาเหตุและลักษณะอาการ รวมทั้งพบจิตแพทย์เพื่อบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจด้วย

การป้องกันกลุ่มอาการคุชชิง

สามารถทำได้ดังนี้

  1. ไม่ซื้อยาสเตียรอยด์มาใช้เอง หากจำเป็นจะต้องใช้ยาสเตียรอยด์จะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์
  2. ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ห้ามหยุดยาเองหรือใช้ยาเอง
  3. ดูแลสุขภาพพื้นฐานให้ดี กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างน้อย 2-5 วันต่อสัปดาห์
  4. เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์อาจมีผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามากกว่าปกติได้

22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medline, Cushing's Syndrome (https://medlineplus.gov/cushingssyndrome.html)
April Kahn and Jill Seladi-Schulman, Everything You Need to Know About Cushing’s Syndrome (https://www.healthline.com/health/cushings-syndrome), November 19, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไมมีรอบเดือนแล้วปวดหัวข้างเดียว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สวัสดีค่ะ อายุ 25ปี มีอาการปวดตามข้อต่างๆทั้งแขนและขา ข้อนิ้วมือและเท้า ข้อมือ ข้อพับ ข้อเข่า ข้อเท้า อาการปวดไม่รุนแรงแต่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันพอสมควร ไม่ทราบว่าตรงนี้สามารถซื้อยาบรรเทาอาการปวดข้อกระดูกมารับประทานเองได้ไหมคะ หรือควรไปพบแพทย์ไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สิวขึ้น เจ็บนม ปวดท้องน้อยหายๆปวดๆ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เวียนหัว ปวดท้ายทอย. ร้อนหน้าวูขวาบ. อายุ42 อยากไปตรวจร่างกาย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)